สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ช่วงหลังๆ นี้เว็บไซต์ monsoonphotonews แทบจะไม่มีการอัปเดตบทความใหม่ๆ อะไรเลย ทั้งนี้เนื่องจากไปนำเสนอหัวข้อข่าวการทหารและเทคโนโลยีทั่วโลกทาง Facebook เสียมากกว่า
ด้วยเหตุที่นำเสนอข่าวได้มากกว่า เพราะบทความที่จะนำเสนอทางเว็บไซต์แต่ละบทความต้องใช้ทรัพยากรและเวลาเป็นอย่างมาก กว่าจะได้หนึ่งบทความ แต่ในแง่ของสาระและความรู้แล้ว บทความในเว็บไซต์นั้นมีมากกว่าแน่นอน ดังนั้นหากมีหัวเรื่องดีๆ ผมก็นำมาเขียนเป็นบทความนำเสนอกันตามแต่ที่เวลาและโอกาสจะอำนวย
วันนี้ไปเจอหัวข้อข่าวจากสำนักข่าว TNN tech เรื่อง "10 อันดับประเทศที่มีรางรถไฟความเร็วสูงยาวมากที่สุดในโลก" เห็นว่าน่าสนใจดี และควรนำมาเสนอเป็นบทความในเว็บไซต์ ลองติดตามอ่านเนื้อหากัน
เรื่องความยาวของรางรถไฟความเร็วสูงนี้ สหรัฐฯ แพงจีนอย่างหลุดลุ้ย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นได้สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่แต่ไม่อยู่ในอันดับหนึ่งในสิบเลย ลองมาวิเคราะห์แยกแยะกันดูก่อนที่จะนำไปเป็นประเด็นเกทับบลัฟกันแบบสะบั้นหั่นแหลกของบรรดาสาวกติ่งต่างๆ ชนิดสะใจตามสไตล์ไทยแลนด์
หัวข้อแรกเลยที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อนก็คือประเภทของรถไฟ ซึ่งก็หมายถึง รถไฟความเร็วสูง กับ รถไฟปกติทั่วไป อันนี้ต้องระลึกกันให้ดีเพราะประเภทของรถไฟทั้งสองนี้จะไปเกี่ยวเนื่องกับบทความที่นำเสนออยู่นี้ต่อไป
หัวข้อที่สองที่จะมาแยกแยะต่อไปคือคำว่า "The World's Longest High-Speed Rail Networks" ขออนุญาตแปลเป็นภาษาอังกฤษเนื่องจากคำไทยตามหัวข่าวมีการจำกัดไม่ครอบคลุมนิยามทั้งหมด
คาดว่าแรงบันดาลของหัวข่าวน่าจะมาจากเรื่องนี้ในปี 2018
ประเด็นอยู่ที่ key word คำว่า Networks ซึ่งแปลว่า เครือข่าย คำๆ นี้ทำให้เกิดประเภทของเครือข่ายขึ้นมาสองประเภทคือ 1.เครือข่ายภายใน และ2. เครือข่าย(เชื่อมต่อ)ภายนอก
ตอนนี้คือค่อยๆ แยกแยะปูฐานเบื้องต้นในการสร้างความเข้าใจ เพราะจากนี้ไปจะเข้าเรื่องกันแล้ว
ทางรถไฟความเร็วสูงเครือข่ายภายในที่ยาวที่สุดในโลก อันนี้ก็ตามหัวข้อข่าวเลยคือ ประเทศจีน เป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ประเด็นที่จะมานำเสนอคือเหตุผลว่าทำไมสหรัฐอเมริกาจึงไม่ติดอยู่ในอันดับเลย
บางคนอาจคิดไปว่าประเทศสหรัฐอเมริกาอาจจะไม่ใส่ใจเรื่องรถไฟ เป็นเพราะประเทศเยอรมันเป็นต้นแบบทางรถไฟคือเยอรมนีได้สร้างทางเดินไม้เรียกว่า “ทางเกวียน” เป็นจุดเริ่มต้นของการขนส่งทางรถไฟสมัยใหม่ ทำให้เกวียนลากม้าหรือเกวียนเคลื่อนที่ไปตามถนนลูกรังได้ง่ายขึ้นในช่วงต้นปี ค.ศ. 1550
หรือชาวอังกฤษ ชื่อ ริชาร์ด เทรวิธิก (Richard Trevithick) เป็นผู้บุกเบิกในยุคแรกๆ ของการขนส่งทางถนนและทางรถไฟที่ใช้พลังไอน้ำ
แต่ความเข้าใจนั้นผิดอย่างสิ้นเชิงเพราะประเทศสหรัฐอเมริกามีเครือข่ายภายรถไฟ(ทั่วไป..ที่ไม่ใช่ความเร็วสูง) ที่ยาวที่สุดในโลก
คำอธิบายขยายความว่าทำไมถึงไม่ให้ความสำคัญเรื่องรถไฟความเร็วสูงในสหรัฐอเมริกา เพราะอเมริกาเน้นการขนส่งผู้คนด้วยเครื่องบินโดยสารเป็นหลัก ดังนั้นภารกิจหลักของการรถไฟคือขนส่งสินค้า และภารกิจขนส่งผู้คนป็นภารกิจรอง อีกทั้งยังมีระบบเครือข่ายรถบัสโดยสารระหว่างเมืองและรัฐต่างๆ รองรับอยู่ด้วย
แต่จีนติดที่ปัญหาไม่สามารถผลักดันธุรกิจการบินพานิชย์ให้เป็นหลักในการขนส่งผู้คนได้คือจีนไม่สามารถสร้างเครื่องยนต์เจ็ทได้อย่างแท้จริง
เครื่องเจ็ทตระกูล WS ทั้งหลายก็ออกข่าวกันยังไม่มีความเสถียรและความเชื่อถือได้ถึงขนาดที่จะนำไปติดตั้งให้กับเครื่องบินทั้งหมดของจีน ข้อยืนยันคือเครื่องบินขับไล่ของจีนปัจจุบันยังต้องพึ่งพาเครื่องเจ็ทของรัสเซียอยู่เลย
โดยความพยายามครั้งล่าสุดของจีนในการก้าวผ่านขีดจำกัดของการสร้างเครื่องเจ็ทก็คือการพยายามซื้อกิจการบริษัท Motor Sich ผู้ผลิตเครื่องยนต์เจ็ทของยูเครนด้วยมูลค่า 3.5 พันล้านดอลลาร์แต่ก็ถูกขัดขวางโดยสหรัฐฯ
ทั้งหมดนี้ทำให้จีนต้องมุ่งเน้นการขนส่งผู้คนโดยทางรถไฟที่ใช้ความเร็วสูงเพื่อร่นระยะเวลาในการเดินทางเพื่อทดแทนการเดินทางโดยเครื่องบินโดยสารและระบบรถบัสระหว่างเมือง
เพราะแม้แต่เครื่องบินโดยสาร Comac C919 ที่ออกแบบและผลิตในจีน ก็ยังต้องเครื่องยนต์ GE ของสหรัฐฯ ซึ่งทำให้ไม่สามารถต่อยอดการผลิตเครื่องบินโดยสารเชิงพานิชย์ของจีน ตราบใดที่จีนยังไม่สามารถสร้างเครื่องยนต์เจ็ทได้เอง
แต่จีนก็สามารถทำเรื่องรถไฟความเร็วสูง(เพื่อทดแทนเครื่องบินโดยสาร)ได้ดี ดูจากภาพเปรียบเทียบเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีนในแค่ระยะห้าปีสามารถขยับขยายเชื่อมต่อเส้นทางได้อย่างมากมายทั่วถึงครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจทั่วทั้งประเทศ
ออกนอกเรื่องมากไปแล้วย้อนกลับมาเข้าเรื่องกันต่อไม่งั้นเดี๋ยวจะมีทัวร์ลง
ปิดท้ายกันด้วยคำถามว่าเส้นทางรถไฟเครือข่ายภายนอกที่ยาวที่สุดในโลกคือเส้นทางใด
คำตอบคือ เส้นทางรถไฟที่ยาวที่สุดในโลกมีระยะทางมากกว่า 8,000 ไมล์ พาดผ่านแปดประเทศ
China-Europe Block Train เริ่มต้นที่เมือง Yiwu ทางตะวันออกของจีน และตัดผ่านคาซัคสถาน รัสเซีย เบลารุส โปแลนด์ เยอรมนี และฝรั่งเศส ก่อนจะถึงปลายทางในมาดริด เมืองหลวงของสเปนในอีก 21 วันต่อมา
(อย่าไปสับสนกับเส้นทางเครือข่ายภายในที่ขดไปขดมาวกวนอยู่ภายในประเทศ ซึ่งไม่ใช่เส้นตรง)
จบแล้วครับ เนื้อหาอาจจะไม่เจาะทะลุตรงประเด็นแบบไม่วอกแวก ทั้งนี้ก็เพราะต้องการให้สาระความรู้และเนื้อหาครอบคลุมทุกด้าน ดังนั้นอาจจะถูกใจและไม่ถูกใจผู้อ่านบ้าง อย่างไรก็ดีขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันจนจบ.... :)