Sunday, April 24, 2011

Statement of the Ministry of Foreign Affairs

ขอโพสคำแถลงอย่างเป็นทางการของกระทรวงต่างประเทศต่อกรณีเขมรโจมตีประเทศไทยด้านปราสาทตาเมือนธมและปราสาทตาควาย


English Version

Statement of the Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand regarding the unprovoked armed attacks by Cambodian troops at the Thai-Cambodia border on 22April 2011
April 22, 2011


           With regard to the unprovoked armed attacks on 22 April 2011 by Cambodian troops on Thai soldiers and civilians, the Ministry of Foreign Affairs of Thailand wishes to state the following facts:


           1. From 06.30-07.00 hours of 22 April 2011, Cambodian troops opened fire and launched heavy weapons, including mortars and artillery, without any provocation, into the area of Ta Kwai Temple and along the Thai-Cambodian border towards Ta Muen Temples, situated in Surin Province, Thailand.  The Cambodian troops launched these attacks after a Thai Military Patrol Unit encountered armed Cambodian soldiers constructing bunkers in the area of Ta Kwai temple in Thai territory and informed the Cambodian side that such acts clearly violate Thai sovereignty.

          2. At 08.00 hours, a discussion was held by the commanders of both local forces during which a ceasefire was agreed. However, at 08.30 hours, the Cambodian side restarted the firing of mortars and artillery into Thai territory, constituting a breach of the aforementioned agreement. The said exchange of fire lasted until 09.35 hours.

          3. These unprovoked armed attacks by Cambodian troops caused at least the death of three Thai soldiers, the injury of many soldiers, as well as the destruction of many civilian buildings and evacuation of nearly 10,000 civilians.

          4. The Thai side has never opened fire first and has always exercised maximum restraint. However in light of Cambodia’s actions, Thailand was left with no choice but to defend its sovereignty and territorial integrity by using proportionate means under international law.

          5. Thailand protest in the strongest terms the unprovoked armed attacks of Cambodia on both Thai military and civilians, and the construction of the bunkers which is a clear violation of international law, the Charter of the United Nations, as well as the 2000 Memorandum of Understanding between the Government of Thailand and the Government of Cambodia on the Survey and Demarcation of Land Boundary. Thailand has exercised its inherent right of self-defence on the basis of necessity, proportionality and strictly directed at military targets from where the attacks were launched by Cambodian troops.

          6. Thailand reaffirms its commitment to resolve any pending boundary issues peacefully and calls on Cambodia to resolve the dispute through the existing bilateral mechanisms including the General Border Committee (known as GBC), Regional Border Committee (sub-committee under the GBC), known as RBC,  and the Thai Cambodian Joint Commission on Demarcation for Land Boundary (known as JBC).  As a matter of fact, Thailand discussed with Cambodia on the work in relation to survey and demarcation in the area around the Ta Kwai temple during the Meeting of the JBC at Bogor City, Indonesia, on 7-8 April 2011.  The Record of Discussion of the said Meeting, which states that Thailand expressed its desire and readiness to commence survey work in Sector 5 (the area where Ta Kwai temple is located), demonstrates sincerity of the Thai side to solve the boundary issues through peaceful means under the JBC mechanism. In this regard, the Ministry of Defence of Thailand is in the process of consultation with the Cambodian counterpart with a view to convening the GBC and RBC meetings soonest.

ภาคภาษาไทย

เกี่ยวกับการโจมตีด้วยอาวุธโดยปราศจากการยั่วยุโดยทหารกัมพูชาต่อทหารและพลเรือนไทย เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ กระทรวงการต่างประเทศไทยขอเรียนข้อเท็จจริงต่าง ๆ ดังนี้
April 22, 2011


เกี่ยวกับการโจมตีด้วยอาวุธโดยปราศจากการยั่วยุโดยทหารกัมพูชาต่อทหารและพลเรือนไทย เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ กระทรวงการต่างประเทศไทยขอเรียนข้อเท็จจริงต่าง ๆ ดังนี้

๑. เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ ระหว่างเวลา ๐๖.๓๐ – ๐๗.๐๐ น. ทหารกัมพูชาได้เปิดฉากยิงและใช้อาวุธหนัก ซึ่งรวมถึงปืนครกและปืนใหญ่ โดยปราศจากการยั่วยุเข้าไปในบริเวณปราสาทตาควาย และตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชามุ่งไปทางปราสาทตาเมือนซึ่งตั้งอยู่จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย ทหารกัมพูชาทำการโจมตีดังกล่าวภายหลังจากที่ชุดลาดตระเวนของไทยพบทหารกัมพูชาที่ติดอาวุธซึ่งได้ก่อสร้างที่มั่นในบริเวณปราสาทตาควายในดินแดนไทย และแจ้งให้ฝ่ายกัมพูชาทราบว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทยอย่างชัดเจน

๒. เมื่อเวลา ๐๘.๐๐ น. มีการหารือระหว่างผู้บัญชาการกองกำลังในพื้นที่ของทั้งสองฝ่ายซึ่งได้ตกลงที่จะหยุดยิง อย่างไรก็ดี เมื่อเวลา ๐๘.๓๐ น. ฝ่ายกัมพูชาเริ่มยิงปืนครกและปืนใหญ่เข้ามาในดินแดนไทยอีก ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงข้างต้น การยิงโต้ตอบดังกล่าวมีถึงเวลา ๐๙.๓๕ น.
๓. การโจมตีด้วยอาวุธโดยปราศจากการยั่วยุโดยทหารกัมพูชาได้ส่งผลให้ทหารไทยเสียชีวิตอย่างน้อย ๓ นาย ทหารหลายนายได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนของพลเรือนจำนวนมาก รวมทั้งต้องอพยพพลเรือนเกือบ ๑๐,๐๐๐ คนออกจากพื้นที่

๔. ฝ่ายไทยไม่เคยเป็นฝ่ายเริ่มโจมตีก่อนและได้ใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างที่สุดมาโดยตลอด อย่างไรก็ดี เมื่อคำนึงถึงการกระทำของฝ่ายกัมพูชา ประเทศไทยจึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนโดยใช้วิธีการที่สมน้ำสมเนื้อภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

๕. ประเทศไทยขอประท้วงอย่างรุนแรงต่อการใช้กำลังทหารของฝ่ายกัมพูชาต่อทหารและพลเรือนไทยโดยปราศจากการยั่วยุ และการสร้างที่กำบังซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ กฎบัตรสหประชาชาติ รวมถึงบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน พ.ศ. ๒๕๔๓ อย่างชัดเจน ประเทศไทยได้ใช้สิทธิในการป้องกันตัวเองบนพื้นฐานของความจำเป็น สมน้ำสมเนื้อ และมุ่งไปยังเป้าหมายทางทหารซึ่งกองกำลังกัมพูชาใช้โจมตีไทยอย่างเคร่งครัดเท่านั้น

๖. ประเทศไทยยืนยันความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขประเด็นเขตแดนที่ยังคั่งค้างโดยสันติวิธีและเรียกร้องให้ประเทศกัมพูชาแก้ไขข้อขัดแย้งดังกล่าวโดยอาศัยกลไกทวิภาคีที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึง คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (หรือ GBC) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (หรือ RBC) ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการชายแดนทั่วไป และคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (หรือ JBC) ในความเป็นจริงแล้ว ฝ่ายไทยได้หารือกับฝ่ายกัมพูชาเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่บริเวณปราสาทตาควายระหว่างการประชุม JBC ที่เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๗-๘ เมษายน ๒๕๕๔ ทั้งนี้ บันทึกผลการหารือของการประชุมดังกล่าวซึ่งระบุว่าไทยได้แสดงความประสงค์และความพร้อมที่จะเริ่มการสำรวจหลักเขตแดนในพื้นที่ส่วนที่ ๕ อันเป็นบริเวณที่ปราสาทตาควายตั้งอยู่ เป็นการแสดงความจริงใจของฝ่ายไทยที่จะแก้ไขปัญหาเขตแดนโดยสันติวิธีภายใต้กลไกของ JBC นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมของไทยอยู่ในระหว่างการปรึกษาหารือกับฝ่ายกัมพูชาเพื่อให้มีการประชุม GBC และ RBC ในโอกาสแรก  










No comments:

Post a Comment