Wednesday, April 3, 2013

การวิจัยพัฒนารถหุ้มเกราะของกองทัพบกในอดีต 3

วันนี้มาต่อกันที่รถหุ้มเกราะของกองทัพบกคันที่ 3

รถเกราะล้อยางขนาด 7 ตัน


รถเกราะล้อยางขนาด 7 ตัน
(Armoured Wheeled Vehicle)

ความเป็นมาของโครงการ : ตามที่ ผบ.ทบ. ได้อนุมัติหลักการให้ ศอว. ดำเนินการตามโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างรถเกราะขนาดเล็ก แบบคอมมานโดสเก้าท์ จำนวน 1 คัน โดยใช้งบประมาณ ปี 23 ในวงเงิน 800,000.-บาท จากงบจัดหาผลิตของ รง.ตวพ. ที่ได้รับอนุมัติหลังการสั่งจ่ายไว้แล้ว และให้ สปช.ทบ. ให้การสนับสนุนต่อไปในปีงบประมาณ 24 ตามกำลังงบประมาณ จนกว่าจะแล้วเสร็จเป็นต้นแบบต่อไป จากความรู้ วิธีทำ ( Technical Know How ) ของโครงการ ดังกล่าวในปี 27 ศอว. (โดย รง.ตวพ.) ได้เริ่มดำเนินการวิจัยและพัฒนารถเกราะล้อยางขนาด 7 ตัน จำนวน 1 คัน ใช้งบประมาณเป็นเงินรวมทังสิ้น 1,831,123.-บาท จนประสบความสำเร็จ และได้ทดสอบในขั้นตอนการวิจัย เรียบร้อยแล้ว ศอว. จึงได้รายงานขอส่งรถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน จำนวน 1 คัน ให้กับ ทบ. (ผ่าน สวพ.ทบ.) เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
สวพ.ทบ. ได้เขิญ กรม ฝสธ., หน่วยที่เกี่ยวข้องและหน่วยเจ้าของโครงการ ประชุมพิจารณาผลการวิจัย รถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน ของ ศอว. เมื่อ 7 ..31 ที่ประชุมได้พิจารณาโดยละเอียดและรอบคอบแล้ว มีความ เห็นว่า รถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน ของ ศอว. เป็นรถเกราะแบบลำเลียงพล มีลักษณะเฉพาะยังไม่ตรงตามที่ กำหนดไว้ในโครงการ คือ ตัวรถไม่ได้ใช้เหล็กเกราะ จึงไม่สามารถยอมรับได้ และปัจจุบันความต้องการด้าน ยุทธการมีน้อยมาก จึงเห็นสมควรปิดโครงการวิจัย ไว้ในชั้นนี้ก่อน และเพื่อให้ทราบข้อมูลไว้ศึกษาในผลงานการวิจัยรถเกราะล้อยางที่ ศอว. ได้ดำเนินการไว้ ควรทดสอบผลงานวิจัย นี้ด้วยโดยให้ ศม. เป็นหน่วยรับผิดชอบในการทดสอบทางเทคนิคและในสนาม เพื่อให้สามารถมีข้อมูลไว้ศึกษาในผลงาน และมีเจ้าหน้าที่ของ สพ.ทบ. และ ศอว. ร่วมดำเนินการด้วย
จากการทดสอบทั้งทางเทคนิคและในสนาม โดยคณะอนุกรรมการ จาก ศอว. และ กรซย. ศอ.สพ.ทบ. ร่วมกัน ศม. สรุปได้ว่า รถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน มีสมรรถนะโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ค่อนข้างดี ในโอกาสต่อไป หากกองทัพบกมีความจำเป็นทางด้านยุทธการ และจะให้มีการวิจัยพัฒนาเพิ่มเติมเพียงเฉพาะ เรื่องเหล็กเกราะที่ใช้ทำตัวรถให้สามารถป้องกันกระสุนปืนเล็กได้ก็จะเป็นเรื่องน่ายินดี ที่จะได้มีรถเกาะผลิตขึ้นเอง ในประเทศซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการทางทหาร ในสถานการณ์ลำเลียงผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย สมรรถนะไม่ได้ด้อยกว่ารถที่ผลิตจากต่างประเทศมากมายนัก
บทสรุป : การทดสอบ เนื่องจากมีระยะเวลาจำกัดดังได้กล่าวมาแล้ว ผลการทดสอบจึงไม่พบข้อบกพร่องที่สำคัญ มีเหตุขัดข้องเพื่อ 1 ครั้ง สายคันเร่งหลุดในขณะทำการไต่ลาด สาเหตุเนื่องจากคลัชท์ชำรุด ได้ดำเนินการแก้ไขใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ชม. กลับเป็นปกติ สามารถทำการทดสอบได้ต่อไปจนเสร็จสิ้นภารกิจ สำหรับระบบต่าง อันได้แก่ ระบบเครื่องกำเนิดกำลัง , ระบบขับเคลื่อน, ระบบระบายความร้อน , ระบบไฟฟ้า , ระบบโครงรถ , ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง , ระบบห้ามล้อ , ระบบติดต่อภายในรถ ตลอดจนระบบซ่อมบำรุง อยู่ในเกณฑ์ ที่เหมาะสมสำหรับทางทหาร ซึ่งได้ทำการเปรียบเทียบในบางระบบที่สำคัญ กับรถเกราะคอมมานโด วี - 150 ของ สหรัฐ ซึ่งมีประจำการอยู่ในกอบทัพไทย จากผลการทดสอบทั้งทางเทคนิคและในสนาม โดยคณะอนุกรรมการจาก ศอว. และ กรซย.ศอ. สพ.ทบ. ร่วมกับ ศม.สรุปได้ว่ารถเกราะล้อยาง ขนาด 7 ตัน มีสมรรถนะโดยทั่วไปเกณฑ์ปานกลางค่อนข้างดี ในโอกาสต่อไปหากกองทัพบก มีความจำเป็นทางด้านยุทธการ และหากมีการวิจัยพัฒนาเพิ่ม เติมเพียงเฉพาะเรื่องเหล็กเกราะที่ใช้ทำตัวรถให้สมารถป้องกันกระสุนปืนเล็กได้ ก็จะเป็นเรื่องน่ายินดี ที่จะได้มีรถเกราะผลิตขึ้นเองในประเทศ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการทางทหารในสถานการณ์ลำเลียงพล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย สมรรถนะไม่ได้ด้อยกว่ารถที่ผลิตจากต่างประเทศมากมายนัก
คุณลักษณะเฉพาะ
พลประจำรถ
3
นาย
น้ำหนักพร้อมรบ
7
ตัน
ความกว้าง
2,150
มม.
ความยาว
5,420
มม.
ความสูงตัวรถ
1,800
มม.
ความหนาเกราะ
6.4
มม.
อาวุธ


  • ปก.93 ขนาด 0.50 นิ้ว (12.7 มม.)
1
กระบอก
สมรรถนะ


  • ความเร็วสูงสุดบนท้องถนน
100
กม./ชม.
  • อัตราไต่ลาด
60
%
  • ความจุเชื้อเพลิง/ระยะปฏิบัติการ
150
ลิตร/450 กม.
เครื่องยนต์


  • ISUZU 6 สูบดีเซลแบบ 6BD1 160 แรงม้า ที่ 3,200 รอบ/นาที
  • เครื่องเปลี่ยนความเร็ว ISUZU MED 5S
  • ระบบไฟตรง 24 โวลท์


No comments:

Post a Comment