Thursday, June 13, 2013

ยานล้อหุ้มเกราะ Tarantula ที่อินโดนีเซียซื้อจากเกาหลีใต้

.Doosan ได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 2009 และเริ่มผลิตในเดือนพฤศจิกายนปี 2010 โดยรถต้นแบบคันแรกได้สร้างเสร็จในช่วงต้นปี 2012 และได้นำส่งให้กองทัพอินโดนีเซียทดสอบประสิทธิภาพ ซึ่งก็เพิ่งเสร็จสิ้นการทดสอบทั้งการยิง และในภาคสนาม เมื่อต้นเดือนที่แล้ว(พฤษภาคม 2013)
Panzer Tarantula 6x6 ติดป้อมปืน CSE 90 ของเบลเยี่ยม

ข่าวแบบนี้ก็สามารถพบเห็นกันไว้ทั่วๆไปในอินเตอร์เน็ท แต่บล็อคของ monsoon จะนำเสนอท่านในอีกรูปแบบหนึ่งคือ เจาะ(แต่ไม่ลึกมากนัก)ลงไปในประเด็นตัวยานล้อหุ้มเกราะ Tarantula กันเลย

อินโดนีเซียได้สั่งซื้อยานล้อหุ้มเกราะ Black Fox จากบ. Doosan ประเทศเกาหลีใต้ จำนวน 22 คัน
โดยจะนำเข้าประจำการในกองทัพอินโดนีเซียภายใต้ชื่อเรียกขาน Panzer Tarantula เพื่อใช้ในภารกิจยิงสนับสนุน ทั้งนี้ในสัญญาสั่งซื้อ Tarantula นั้น อินโดนีเซียจะทำการประกอบเองภายในประเทศจำนวน 11 คัน (semi-knocked-down)

ทั้งนี้สำหรับประเทศอินโดนีเซียเอง ก็สามารถผลิตยานล้อหุ้มเกราะแบบ 6x6 ได้เอง นั่นคือ Pindad Anoa (APS-3 Angkut Personel Sedang ความหมายก็คือ Medium Personnel Carrier) ที่ผลิตมาตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งในการประมุลครั้งนี้ทางบ. PT. Pindad ก็ได้ส่งยานล้อหุ้มเกราะ Pindad Panser รุ่นติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 90 ..เข้าร่วมแข่งขัน แต่พ่ายแพ้ให้แก่เจ้า Black Fox จากเกาหลีใต้ เพราะไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบหลายอย่าง

อีกทั้งในปี 2011 อินโดนีเซียจะทำข้อตกลงร่วมกันกับประเทศตุรกีในการพัฒนายานล้อหุ้มเกราะ FNSS Pars 6X6 ดูท่าข้อตกลงนี้ก็คงจะถูกฝังเก็บเข้ากรุแน่ เหตุผลก็คือทั้งตุรกีและเกาหลีใต้ ต่างก็ซื้อลิขสิทธิ์คนอื่นเขามาพัฒนาต่อกันทั้งนั้น ลองพิจารณาจากภาพกันก่อนแล้วจะเฉลยตอนหลังว่าซื้อลิขสิทธิ์จากใคร

Black Fox ของ บ.Doosan ประเทศเกาหลีใต้
Black Fox ของบ.Doosan
FNSS Pars 6X6 ของ FNSS Defence Company ประเทศตุรกี

Pars ของบ. FNSS
จะเห็นว่ารูปทรงของทั้งสองบริษัทหน้าตาก็จะละม้ายคล้ายๆ กัน ทั้งนี้เพราะทั้งสองบริษัทพัฒนายานล้อหุ้มเกราะของตนโดยใช้พื้นฐานแบบของบ. GPV - General Purpose Vehicles

.GPV นี้เป็นบริษัทในเครือของ บ.The CMI-Schneible Group ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Holly ในมลรัฐ Michigan เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2000 โดยในวันที่ 24 ..ปี 2007 บริษัทได้ประกาศว่าซื้อสินทรัพย์ของรถอเนกประสงค์ (GPV) ที่ตั้งอยู่ในเมือง New Haven มลรัฐมิชิแกน และองค์กรใหม่จะถูกตั้งชื่อเป็น GPV, Inc

ผลิตภัณฑ์ของ GPV ประเภทยานล้อหุ้มเกราะมีหลากหลายคือ
  • GPV Sergent 4x4
  • GPV Commander 6x6
  • GPV Marshal 6x6 พัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทน GPV Commander 6x6
  • GPV Captain 8x8 (short)
  • GPV Colonel 8x8 (long)
  • GPV General 10x10
  • FNSS Pars ยานล้อหุ้มกราะตระกูลนี้เป็นการร่วมกันพัฒนาระหว่างบ. Turkish FNSS กับบ. GPV
    ยานล้อหุ้มเกราะของ FNSS นี้ยังสามารถขายส่งออกให้กับประเทศมาเลเซียได้อีกด้วย
ในอเมริกาหน่วยตำรวจของรัฐต่างๆ ก็จัดหายานล้อหุ้มเกราะของ GPV มาใช้งานกัน

ยานล้อหุ้มเกราะของนายอำเภอไมเคิล


ส่วน บ.Doosan (เกาหลีใต้) ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาพัฒนาต่อด้วยเทคโนโลยี่ของตนเอง ซึ่งว่ากันว่าทำให้ค่าบำรุงรักษาของยานล้อหุ้มเกราะ Black Fox ต่ำ เนื่องจากใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่มีจำหน่ายอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วไป และด้วยเหตุผลนี้กระมั่งที่ทำให้ชนะการประมูลในครั้งนี้
Black Fox โชว์ความสามารถของระบบ Hydromatic
คุณลักษณะของยาน Panzer Tarantula
  • พลประจำรถ 3 นาย
  • น้ำหนัก 18 ตัน
  • ความเร็วสูงสุด 95 ../..
  • ความเร็วในน้ำ 8 ../..
  • ป้อมปืนขนาด 90 ..ของ CMI Defence ประเทศเบลเยี่ยม (CSE 90)
  • ปืนกลขนาด 7.62 ..
พ่วงข่าวไทยๆ กันนิดหนึ่งตบท้าย บ.ชัยเสรี ผู้ผลิตรถหุ้มเกราะ First Win ที่กองทัพบกได้ซื้อเข้าไปใช้ในกองทัพจำนวนหนึ่ง ก็เคยมีการออกข่าวว่าจะผลิตยานล้อหุ้มเกราะแบบ 8x8 ด้วยเหมือนกัน และได้โพสรูปลงในเฟสบุ๊ค คิดว่าก็คงจะเป็นการซื้อลิขสิทธิ์มาพัฒนาสร้างขึ้นเองภายในประเทศเช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้โครงการ 8x8 ของบ.ชัยเสรีก็หายเงียบไป คิดว่ากองทัพคงยังไม่ได้ให้ความสนใจ
ยานล้อหุ้มเกราะ 8x8 ที่บ.ชัยเสรีโพสในเฟสบุ๊ค


No comments:

Post a Comment