Saturday, July 20, 2013

KASOTC Warrior Competition การแข่งขันของนักรบ

KASOTC เป็นชื่อค่ายฝึกรบพิเศษของจอร์แดน “King Abdullah II Special Operations Training Center” ที่ค่ายนี้มีจัดการแข่งขันประจำปีของหน่วยรบพิเศษ เรียกว่า “Warrior Competition” หรืออาจรู้จักกันในชื่อ “international special forces contest”


เจ้าภาพจัดงานนี้คือ กองทัพบกของจอร์แดน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประลองทักษะของทีมต่อต้านการก่อการร้ายและหน่วยกำลังพิเศษต่างๆ จากทั่วโลก โดยการแข่งขันออกแบบมุ่งเน้นให้แสดงความทรหดอดทน และความประสานความร่วมมือของทีม



การแข่งขันมีทั้งช่วงกลางวันและกลางคืนที่จะทดสอบทักษะต่างๆ เช่น การยิงปืนในระยะต่างๆ, การช่วยตัวประกัน, ปฏิบัติการต่อต้านการร้าย และการกวาดล้างอาคาร รวมถึงเครื่องบิน

ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องมีสมาชิก 5-7 คน โดยในทุกภารกิจการทดสอบจะต้องใช้กำลังพล 5 นาย ดังนั้นหากทีมใดสมัครโดยส่งรายชื่อสมาชิกของทีมเพียง 5 คนก็อาจะหมดโอกาสในการแข่งขันต่อ หากสมาชิกในทีมเกิดบาดเจ็บไม่สามารถร่วมทีมได้ในระหว่างที่แข่งขัน
หน่วย Snow Leopard ของตำรวจจีน
ปี 2013 นี้เป็นครั้งที่ 5 ของการจัดการแข่งขัน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 – 28 มีนาคม ที่ศูนย์ฝึก KASOTC ในเมือง Amman ประเทศจอร์แดน โดยในปีนี้ได้เพิ่มภารกิจใหม่อีก 12 ภารกิจ ซึ่งบางภารกิจคือการแข่งขันทักษะการขับรถ และการต่อสู้ภายในสภาวะที่ไม่ใช่ปกติ

การให้คะแนน จะคำนวณจากเวลาที่ใช้ในภารกิจ ความถูกต้องและผิดพลาด รวมถึงการละเมิดกฏ

กระสุนที่ใช้ในการแข่งขัน จำกัดให้ใช้ ขนาด5.56 หนัก 55 เกรน และขนาด 9 มม.ของนาโต้เท่านั้น ยกเว้นภารกิจซุ่มยิง ใช้กระสุนได้ไม่เกินขนาด .338
จีนต้องใช้ปืน CQ เข้าร่วมการแข่งขัน
ลองมาดูทีมทั้ง 35 ทีมจาก 18 ประเทศที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขันกันบ้าง
  1. Palestine (Special Police)
  2. Lebanon (Black Panthers- Team 1)
  3. Lebanon (Black Panthers – Team 2)
  4. Jordan (Gendarmerie)
  5. Canada (Canadian Special Operations Regiment)
  6. Iraq (CT)
  7. Kazakhstan (SF)
  8. Jordan (Public Security Directorate)
  9. Netherlands (Royal Netherlands Marine Corp)
  10. Russia (Global Body Guard Service - Redut Bezopasnost Global
  11. Palestine (Presidential Guards)
  12. Algeria (SF)
  13. Bahrain (Defense Force)
  14. Netherlands (104 SFCOY)
  15. USA (IDS-private company)
  16. USA (ARCENT - Team 1) → ARCENT = Army Central Command
  17. USA (ARCENT - Team 2)
  18. Lebanon (Information Department Special Forces)
  19. China (Snow Leopard)
  20. China (SF) → (SWAT)
  21. Switzerland (Skorpions)
  22. Saudi Arabia (SF Navy)
  23. Jordan (Royal Guards)
  24. Greece (SF)
  25. USA (1-22IN, 1st BDE, 4th IN DIV)
  26. Jordan (Special Ops)
  27. Malaysia (SF)
  28. Lebanon (Armed Forces – Team 1)
  29. Lebanon (Armed Forces - Team 2)
  30. France (CPA10)
  31. Jordan (GID)
  32. Palestine (National Security Forces – SF)
  33. Kuwait (SF)
  34. US (Marines – Team 1)
  35. Iraq (Federal Police)

ผลการแข่งขันเป็นดังนี้
อันดับ
ประเทศ
ทีม
1
จีน
Snow Leopard
2
จีน
Special Operation (Special Police Unit)
3
แคนาดา
Canadian Special Operations Regiment
4
ปาเลสไตน์
Presidential Guards / PGIG
5
เลบานอน
Directorate General of I.S.F (Internal Security Service)
6
จอร์แดน
Royal Guard
7
จอร์แดน
Special Ops.
8
สวิตเซอร์แลนด์
IE Skorpion
10
เนเธอร์แลนด์
Unit Interventie Mariniers
15
ฝรั่งเศส
CPA10 (พลร่มคอมมานโนที่ 10)
20
สหรัฐ
กรมทหารราบที่ 22 กองพลน้อยที่ 1 กองพลทหาราบที่ 4
24
อิรัค
Special Operation Forces - CT
26
มาเลเซีย
Special Ops.
32 (สุดท้าย)
อัลจิเรีย
MUE89
หน่วยคอมมานโด Snow Leopard รับรางวัลชนะเลิศ

มีข้อสังเกตจากทีมที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน ดังนี้
  • บางทีมเป็นบริษัทหน่วยงานเอกชน เช่น บ. IDS ของสหรัฐ และ Global Body Guard Service ของรัสเซีย
  • ทีมจากสหรัฐที่เข้าร่วมการประลองทั้งหมดไม่ใช่หน่วยรบพิเศษ
  • ทีมจากจีนทั้งสองทีมเป็นหน่วยจากตำรวจ
  • เกาหลีเหนือไม่ได้เข้าร่วมการประลอง
  • หน่วยรบพิเศษของ สหรัฐ( SEALS/DELTA), รัสเซีย(Spetsnaz), อังกฤษ(SAS) ไม่ได้เข้าร่วมในการประลอง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหน่วยลับเหล่านี้ไม่สามารถเปิดเผยตัวก็เป็นได้
  • เยอรมันแชมป์เก่าปีที่แล้ว GSG-9 (Border Police Group 9) ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อป้องกันตำแหน่ง
  • Presidential Guards / PGIG ของปาเลสไตน์ ที่ถูกฝึกโดย หน่วยรบพิเศษของทั้งรัสเซีย, สหรัฐ และจอร์แดน ได้อันดับที่ 4 ในปีนี้ จากที่ได้อันดับที่ 10 ในปีที่แล้ว
  • มาตรฐานของทหารสหรัฐอยู่ในระดับเดียวกัน กล่าวคือ อันดับที่ดีที่สุดของทีมสหรัฐคือ 20 ส่วนทีมอื่นๆของสหรัฐทั้งหมดเกาะกลุ่มอันดับกันอยู่ ดังนี้
21. Marines
22. . IDS
23. ARCENT - ทีม 1

29. ARCENT – ทีม 2
อย่างไรก็ตาม ผลการแข่งขัน ก็แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของหน่วยตำรวจพิเศษของจีน ที่สามารถกวาดตำแหน่งชนะเลิศและรองชนะเลิศมาได้

ส่วนทางด้านสื่อมวลชนของจีน ก็ประโคมข่าวว่าทีมของจีนมีชัยชนะเหนือทีมของสหรัฐ ซึ่งผลการแข่งขันก็ออกมาแล้วว่าทีมของสหรัฐ ไม่ได้ติดอยู่ในอันดับต้นๆ เลย กลับอยู่ในอันดับท้ายเสียด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ก็เพราะกำลังพลที่ใช้ในการแข่งขันมันห่างชั้นกันเกินไป

นั่นคือ สมาชิกทีม ARCENT ของสหรัฐนั้น ทำการคัดเลือกจากกำลังพลที่ประจำการอยู่ในกองทัพบกที่สาม (Third Army) ที่มีหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่เอเซียและตะวันออกกลาง รวม 20 ประเทศ เป็นกำลังพลทั่วไปที่ไม่ใช่กองกำลังพิเศษ (Special Forces)โดยตรง ซึ่งคลิ๊ปคัดเลือกสมาชิกทีมสำหรับการแข่งขันนั้น สามารถค้นหาดูได้ในอินเตอร์เน็ท โดยค้นคำว่า Best Warrior Competition เท่าที่เปิดดูทหารที่สมัครเข้ารับการคัดเลือกหลายๆนาย ยังถอดประกอบปืนประจำหน่วยได้ไม่คล่องเท่าทหารเกณฑ์บ้านเราด้วยซ้ำไป

เท่าที่สืบค้นดู ก็มีเพียงการแข่งขันครั้งที่ 2 ในปี 2010 ที่ทีม the Force Reconnaissance team ครองรางวัลชนะเลิศ และทีม the 24th MEU's Battalion Reconnaissance platoon ครองรางวัลอันดับ 3 โดยทั้ง 2 ทีมมาจาก the 24th Marine Expeditionary Unit ของสหรัฐ

โดยผลการแข่งขันตั้งแต่เริ่มมีการแข่งขันนี้ขึ้นมา มีดังนี้
  • การจัดครั้งแรกในปี 2009 ทีมที่ชนะเลิศคือ Jordan’s General Intelligence Directorate
  • ครั้งที่ 3 ปี 2011 ทีมที่ชนะเลิศคือ EKO Cobra ของประเทศออสเตรีย
  • ครั้งที่ 4 ปี 2012 ทีมที่ชนะเลิศคือ GSG9 ของเยอรมันโดยแชมป์เก่า Einsatzkommando Cobra ได้อันดับที่ 2







No comments:

Post a Comment