Sunday, July 28, 2013

ประวัติรถถัง T-84 Oplot-M (478DU10)

อาจจะล่าช้ากันหน่อยสำหรับประวัติของ T-84 Oplot-M หรือ BM-Oplot ทั้งนี้เพราะมันเป็นรถถังที่จะเป็นตำนานคล้ายๆ กับรถถังเบา 32 หรือ Commando Stingray แต่ไม่เหมือนกันเลยทีเดียวนัก กล่าวคือ เจ้า Commando Stingray ประเทศไทยมีใช้เป็นประเทศแรกและประเทศเดียวในโลก แต่สำหรับเจ้า T-84 Oplot-M นั้นไทยจะเป็นประเทศแรกในโลกที่มีใช้ประจำการ ขนาดยูเครนประเทศผู้ผลิตแท้ๆ ยังจะมีใช้ภายหลังจากประเทศไทยเลย ด้วยเหตุที่ว่ามันยังไม่มีการผลิตอย่างแท้จริงออกมาเลย
T-84 Oplot (ตามที่ ทบ. เรียกขาน)

อันนี้ก็ต้องอธิบายให้เข้าใจไปในทางเดียวกันก่อน คือ T-84 Oplot-M ที่ยูเครนขายให้กับประเทศไทยนั้นรหัสในการพัฒนาก็คือ object “478DU10จดจำอันนี้ให้ดี ทั้งนี้เพราะรถถังคันต้นแบบของ T-84 Oplot-M นั้นเป็นการนำรถถัง T-84 Oplot ซึ่งรหัสในการพัฒนาคือ object “478DU9” มาทำการปรับปุรงเพิ่มเติมทำให้ได้รถถัง T-84 Oplot-M คันต้นแบบออกมา รหัสในการพัฒนาจึงเป็น478DU9-1ซึ่งหมายความว่ารถถังคันต้นแบบนี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาใหม่จริงๆ แต่นำรถถังรุ่นที่พัฒนาออกมาก่อนหน้านี้เอามาทำการปรับปรุงเพิ่มเติม

สรุปให้เห็นภาพง่ายๆ คือรถถัง T-84 Oplot-M (478DU10) ซึ่งตัวอักษร M ที่ตามหลังชื่อมาจากคำว่า Modernizedนั้น ตัวจริงยังไม่มีการผลิตออกมาเลย มีเพียงคันต้นแบบที่ปรับปรุงมาจากรถถัง T-84 Oplot (478DU9)

แต่อย่างไรก็ตาม ต้องชี้แจ้งไว้ก่อนว่า รถถัง T-84 Oplot-M (478DU10)นี้ไม่ใช่รถถังที่ไม่ดี ตามสเปคที่บริษัทแถลงออกมานั้น สามารถจัดเทียบชั้นอยู่ในระดับเดียวกับรถถังชั้นยอดของโลกในปัจจุบัน

ส่วนประวัติของรถถัง T-84 Oplot-M ก็มีบางคนแปลบทความจากภาษาอังกฤษมาเป็นไทยไว้แล้ว ทำให้คิดว่ามาเขียนไล่ประวัติจากโครงการพัฒนาของเขาเลยจะดูได้ตรงกับความถูกต้องมากที่สุด ไม่ใช่แปลตามที่ฝรั่งเขียนแล้วก็เชื่อหรือยึดถือตามนั้น ตัดพวกน้ำท่วมทุ่งออกไปเพื่อผักบุ้งจะได้ไม่โหล่งเหล่ง
*****************************

คราวนี้มาไล่ดูประวัติของรถถังที่ลึกลับที่สุดในโลกปัจจุบันกัน ที่เสนอเป็นรหัสก็เพื่อท่านจะได้จดจำรหัสการพัฒนาซึ่งจะทำให้เห็นภาพรวมในประวัติของรถถังคันนี้

Faciltty 478 การออกแบบเบื้องต้นในปี 1976 นั้นคือใช้แคสซีของรถถัง T-80 กับติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล 6TD หรือ 124N และติดตั้งปืนแบบเดียวกับที่ติดตั้งบน Object 476 (รถถังที่พัฒนาจากแคสซีของ T-64A ซึ่งภายหลังก็ออกมาเป็น T-64BM)

Object 478M คือ เป็นอีกรุ่นหนึ่งของการพัฒนา Object 478 โดยมีการเสริมเกราะป้องกัน, ติดตั้งระบบป้องกันตัวแบบ Active “Tent”, เครื่องยนต์ดีเซลแบบ 124CH ที่มีกำลัง 1500 แรงม้า และติดปืน 23 มม.

Facility 478B คือ T-80UD “Birch” ตัวD” ตัวท้ายสุดมาจากคำว่า Diese
ตามบันทึกของ Resolution of the Central Committe of the CPSU และ the USSR Council of Ministers เมื่อวันที่ 2 กันยายน 1985 กล่าวว่า T-80UD คือ Birch (object 478B) ได้รับการยอมรับในปี 1987 พัฒนาโดยใช้โครงสร้าง(แคชซี่)ของ T-64A แต่ติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น
  • เปลี่ยนเครื่องยนต์จาก gas turbine ไปใช้ turbocharged diesel 1000 แรงม้า 6TD-1
  • ระบบเกียร์อัตโนมัติใหม่ 5เกียร์เดินหน้า 1เกียร์ถอยหลัง
  • ระบบควบคุมของคนขับเป็นพวงมาลัย simple T-bar รวมทั้งคันเร่งและที่เหยียบเบรค
  • ถังเชื้อเพลิงที่ปิดผนึกด้วยตนเองและระบบอัตโนมัติถ่วงเวลาการระเบิดและไฟไหม้ เหมือนกับในห้องเครื่องยนต์
  • ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 8กิโลวัตต์
  • ปืนใหญ่ลำกล้องเรียบขนาด 125 มม. KBA-3
  • ติดตั้งระบบควบคุมการยิงอัตโนมัติ 1A45
  • ติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานที่มีระบบรีโมทคอนโทล(ควบคุมจากภายใน)
  • สามารถยิงจรวดนำวิถี  9M119 “Reflex” (AT-11 Sniper-B)
  • กล้องเรเซอร์วัดระยะทาง 1G46 “Irtysh”
  • กล้องอินฟาเรดตรวจการณ์กลางคืน TPN-4 “Buran PA”
  • ระบบคอมพิวเตอร์ 1V528-1
  • กล้องตรวจการณ์ของผบ.รถ PNK-4S

Facility 478BK คือ T-80UD รุ่นทดลอง ที่ติดต้งป้อมปืนแบบเชื่อม

Facility 478D คือ รถถัง T-80UD
  • เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น เครื่องยนต์ดีเซล 1200แรงม้า 6TD-2
  • ติดเครื่องวัดระยะBlind”

ต่อมาภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 โรงงานประสบกับปัญหาสภาพคล่อง เพราะไม่มีลูกค้า แต่สถานการณ์ก็ดีขึ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 1993 คณะรัฐมนตรีของยูเครนก็มีมติที่ 181-3 ให้ บ.KMDB พัฒนา T-80UD ต่อไปเพื่อตอบสนองความต้องการของกองทัพของยูเครน โดยให้การผลิตทั้งหมดทุกชิ้นส่วนต้องอยู่ภายในประเทศยูเครน เพราะเดิมบ. Kharkov ต้องใช้ชิ้นส่วนที่ส่งมาจากรัสเซียราวๆ 60% มาประกอบรถถัง เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จนได้เป็น T-84 theme “Kern”
T-84 รถถังต้นแบบของยูเครนใช้พื้นฐานของ Facility 478U และมีการดัดแปลงแคสซี่ (ระบบกันสะเทือน)

ในเดือนสิงหาคม 1993 ยูเครนได้ส่งรถถัง 2คันไปยังปากีสถานเพื่อรับการทดสอบ
Object 478DU คือ รถถังหนึ่งในสองคันที่ถูกส่งไปทดสอบที่ปากีสถาน โดยเป็น T-80UD ที่ใช้แคสซี่ล้อโลหะ และโช๊คกันสะเทือนภายในตามแบบฉบับรถถัง T-64
Object 478DU1 คือ รถถังอีกคันที่ถูกส่งไป พร้อมกั Object478du โดยObject 478DU1 นี้ เป็น T-80UD ที่เป็นแคสซี่ rollers และ แบริ่งยาง ตามแบบมาตรฐานดั้งเดิม
ตรงนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่งคือในปี 1996 หลังจากที่ชนะโครงการและส่งรถถัง T-80UD ให้ปากีสถานไปบางส่วน หลังจากนั้นยูเครนก็มีปัญหากับรัสเซียเรื่องป้อมปืนที่ติดตั้งบน T-80UD ทำให้ยูเครนต้องเปลี่ยนป้อมปืนใหม่เป็นแบบเชื่อม
  • โดยรถถังที่ใช้ป้อมปืนเก่าแบบหล่อ จะใช้รหัสว่า 478BE
  • ส่วนรถถังที่ติดตั้งป้อมปืนใหม่แบบเชื่อม จะใช้รหัสว่า 478BE-1
รหัสนี้มันจะไปพัวพันกับกรณีที่สหรัฐได้รับรถถัง T-84 จากยูเครนในปี 2003 ที่คนทั่วไปสงสัยว่ามันเป็นรุ่นอะไรกันแน่
  • รถถัง T-84 จำนวน 3 ใน 4 คันที่สหรัฐได้รับ คือ 478BEM-1 (คันที่มีระบบป้องกันตัว Drozd-1 และ APU อยู่ที่ด้านซ้ายหลังรถ
  • อีกคันหนึ่ง คือ 478BEM-2 (คันที่มีเครื่องปรับอากาศติดอยู่ในกล่องพิเศษหลังป้อมปืน)
Object 478DU2 (1995) คือ รถถัง T-84 เป็นรถถัง T-80UD ที่ปรับปรุงพัฒนาโดยใช้ประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้มาจากโครงการต่างๆ ก่อนหน้านี้ และได้ไปออกแสดงในงาน IDEX 95
T-84 (478DU2) นี้มีน้ำหนัก 48 ตัน ที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นมา 2 ตัน หนักกว่า T-84(Object 478DU1)
Object 478DU2
Object 478DU3 คือ รถถัง T-80UD ในอยู่โครงงานปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพของยูเครน แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ว่ามีการได้รับรองลิขสิทธิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการทำให้ไม่มีการพัฒนา

Object 478DU4 คือ รถถัง T-80UD ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว ติดตั้ง AutoLoader ที่ Kharkov พัฒนาขึ้นใหม่และเปลี่ยน Gearbox ใหม่ 7เกียร์เดินหน้า 3 เกียร์ถอยหลัง
Object 478DU4
Object 478DU5 คือ Object478du4 นำมาติดตั้งปืน 120 มม. รวมทั้งติดตั้งระบบปรับอากาศ (Air-conditioned) ในกล่องพิเศษติดบนป้อมปืนโดยมีช่องสำหรับใส่กระสุนด้วย ในโครงการนี้ได้มีการทดสอบระบบเกียร์อัตโนมัติ (Suat) ด้วย
Object 478DU5
Object 478N (T-84-120 หรือ Kern 2-120) (1997) คือ รถถัง T-84 รุ่นส่งออก(สำหรับโครงการ Ankara250 ของตุรกี) ซึ่งภายหลังต่อมาตุรกีได้ใช้ชื่อคือ "Scimitar" ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 120 มม.ลำกล้องเรียบ มาตรฐานนาโต้ เครื่องยนต์ 6TD-2 กำลัง 1200 แรงม้า ป้อมเชื่อมแบบใหม่ และเกราะระเบิดปฏิกิริยาNozh” (explosive reactive armorKnife”) Morozov ได้ตั้งชื่อให้สายการผลิตรถถังรุ่นนี้ว่า 478N1 ทั้งนี้เพราะยูเครนเสนอราคาต่ำที่สุด แถมเสนอเงื่อนไขที่พิเศษสุดๆ คือการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ในการผลิตภาคอุตสาหกรรม แต่เหตุการณ์ก็คล้ายๆ กับประเทศไทยคือสุดท้ายโครงการก็ล่มเพราะพิษเศรษฐกิจและการเมืองของตุรกี (ที่กรีซก็โดนคล้ายกันกับที่ตุรกี)
Object 478N
Object 478DU6คือ รถถัง T-80UD อีกโครงการหนึ่งที่ถูกระงับยังไม่พัฒนา

Object 478DU7 (2000)คือ รถถัง T-80UD ของยูเครนที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาแล้ว ซึ่งยูเครนได้ส่งไปเข้ารับการทดสอบที่ประเทศมาเลเซียเมื่อวันที่ 19 มิ..-21 .. 2000 แข่งขันกับ PT-91 “Tvardy” ของโปแลนด์, T-90 ของรัสเซีย และ CV-90 ของสวีเดน
Object 478DU7
นอกเรื่องนิดหนึ่ง มีเรื่องกันว่าในการทดสอบที่มาเลเซี ยูเครนได้ส่งยานกู้ซ่อม ARV-84 (พัฒนาจาก Object 478DU7) ไปด้วยหากเกิดกรณีรถถัง Object478DU7 เกิดขัดข้อง และครั้งหนึ่งของการทดสอบ T-90 ของรัสเซียเกิดขัดข้อง ทีม ARV-84 ของยูเครนได้เสนอเงื่อนไขขอเบียร์ 1 ลังแลกกับการกู้ T-90 แต่ด้วยความทรนงในศักดิ์ศรี รัสเซียยอมจ่ายเงิน $5,000 ให้กับรถเครน Kato ของญี่ปุ่นขนาด 50 ตันในการกู้ T-90
ARV-84
Object 478DU8 คือ ขยายสายพานเป็น 600 มม.ตามความต้องการของมาเลเซีย

Object 478DU9 คือ รถถัง T-84 Oplot ที่ปรับปรุงมาจากรถถัง T-84 (478DU2) โดยใช้ประสบการณ์ที่ได้จากโครงการต่างๆ ก่อนหน้านี้ มีการปรับปรุงการป้องกันในส่วนหน้าของตัวรถและป้อมปืน ฯลฯ น้ำหนักจะเพิ่มเป็น 51ตัน
และในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2000 โดยมติครม.ที่ 237-5 รถถัง T-84(Object478du9) ได้รับเข้าบรรจุในกองทัพบกยูเครน โดยมีชื่อว่า Oplot (ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Bulwark” ซึ่งหมายถึง “ป้อมปราการหรือที่มั่นสำหรับต่อสู้กับข้าศึก” แต่ในเว็บของคนรัสเซียอาจจะใช้คำว่า “Hold” ทั้งนี้เพราะใช้โปรแกรม translator) แต่เนื่องจากยูเครนประสบภาวะด้านเศรษฐกิจทำให้ในปี 2001 ก็ยังไม่มีการผลิตรถถังออกมาให้แก่กองทัพยูเครน
จากเท่าที่หาข้อมูลในอินเตอร์เน็ทแล้ว Object 478DU9 มีผลิตออกมาจำนวน 6 คัน


Object 478DU9-1 (2009) คือ รถถังต้นแบบ BM-Oplot ที่สร้างจาก T-84(478DU9)
(หมายเหตุ : อ่านในช่วงท้าย เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับ T-84U)
Object 478DU9-1
Object 478DU10 (2013?) คือ รถถัง BM-Oplot หรือ T-84 Oplot-M หรือ T-84 Oplot-M ที่ปรับปรุงมาจากรถถัง T-84(478DU9) โดยเพิ่มความปลอดภัยของอุปกรณ์ ระบบป้องกันใหม่ Knife2 เกราะป้องกันใหม่ Blade(RU: Nozh) 2 กล้องตรวจการณ์ใหม่ PKN-6 ระบบควบคุมการยิงแบบก้าวหน้า PCN-6 เครื่องกำเนิดไฟฟ้า APU 10kW ถ้าเป็น 478DU9 จะให้กำลังแค่ 8kW
***********************

ข้างต้นทั้งหมดนี้คือเรียบเรียงถอดความมาจากเว็บไซด์ของผ่ายตะวันออก(รัสเซียและยูเครน) แต่เนื่องจากเคยมีเซียนควอนตั้มเคยสบประมาท ดูถูกผมไว้ว่า “เป็นการนำเสนอข้อมูลแบบจับแพะมาชนแกะ” ดังนั้นสำหรับคนที่อยากรู้จักรถถังแบบใหม่ของไทยอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ขอแนะนำให้อ่านของเว็บไซด์กองพันทหารม้าที่ 16 http://tank16.bth.cc/webboard/topic-view-156842 ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีหัวข้อจะเป็น T-84 Oplot และภาพที่มีก็เป็น Object478DU9-1)

จากข้อมูลในช่วงการพัฒนาข้างต้น จะไม่พบเห็น T-84U (U มาจาก Upgraded) มีข้อมูลในบางเว็บไซด์กล่าวว่า T-84U นี้เปิดตัวเสนอขายในปี 2007 โดยสามารถซื้อเป็นรถถังทั้งคัน หรือซื้อแค่ชุดอัพเกรด (upgrade kit) ก็ได้
ชุดอัพเกรดนั้นเท่าที่ดู มันก็คืออุปกรณ์ต่างๆ ในobject 478DU9-1 นั่นเอง จึงทำให้คิดว่า object 478DU9-1 ก็คือรถถัง T-84U ที่ซื้อแบบประกอบทั้งคัน ทั้งนี้มันไปสอดคล้องกับในเว็บฯของปากีสถานที่มีคนกล่าวว่า BM-Oplot ก็คือ T-84U Oplot-M
คราวนี้ลองมาดูของกองทัพบกไทยกันบ้าง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน กองทัพบกไทยมีการออกข่าวหลายครั้งเกี่ยวกับรถถังรุ่นใหม่ที่จะนำเข้าประจำการในกองทัพ โดยเรียกมันว่า T-84 Oplot ไม่ได้เรียกว่า T-84 Oplot-M หรือ BM-Oplot เลยแม้แต่สักครั้งเดียว แม้ว่าภาพที่ปรากฏออกไปทั่วโลกจะเห็นรถถัง T-84 ที่ประกอบให้กับประเทศไทยจะติดตั้งอุปกรณ์เช่น เกราะปฏิกิริยา ERA Duplet (Nozh2) อันเป็นอุปกรณ์ของ Object 478DU10 ก็ตาม แต่มันก็เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งใน Object 478DU9-1 เช่นกัน ดังนั้นผมจึงใส่เครื่องหมายคำถาม(?)ไว้ช้างหลังปีค..ใน Object 478DU10 ด้วยเหตุตามที่ปรากฏในประวัติการพัฒนา T-84 ข้างต้นดังกล่าวมาแล้ว

สำหรับคุณลักษณะและคุณสมบัติของรถถัง T-80UD และ T-84 รุ่นต่างๆ ก็สามารถค้นหาได้ในอินเตอร์เน็ท ผมเลยไม่ยกมากล่าวให้บทความมันยาวเกินไปกว่านี้ จะกล่าวถึงแต่เพียงเท่าที่เห็นว่าสำคัญเป็นจุดเด่นๆ แค่นั้น

และเนื่องจากการที่ผมตั้งคำถามตั้งประเด็นเกี่ยวกับ T-84 Oplot ของกองทัพบกไทย ทำให้มีผู้คนตั้งตนเป็นปรปักษ์มากมาย ดังนั้นผมขอสงวนสิทธิ์ในบทความนี้ห้ามนำไปคัดลอกหรือนำเผยแพร่โดยไม่ได้รับความยินยอมตามพ...ลิขสิทธิ์ พ..2537
หากท่านใดต้องการคัดลอกหรือนำไปเผยแพร่โปรดติดต่อผ่านอีเมล์ monsoonphotonews@gmail.com

ป.ล. แถมท้ายให้อีกสักข้อมูล


No comments:

Post a Comment