Monday, March 30, 2015

ยานรบทหารช่าง โดยกรมทหารช่างที่ 21

รถถังที่เราๆ ท่านๆ เห็นกันบ่อยๆ ส่วนมากจะเป็นรถถังประเภท "รถถังรบหลัก" (MBT - Main Battle Tank)
แต่ยังมีรถถังอีกประเภทหนึ่งซึ่งไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนัก นั่นคือ "รถถังช่วยรบ" (CST - Combat Support tank)
รถถังช่วยรบ IMR-3M ภาพปี 2012
รถถังสนับสนุนการรบ (Tank support combat vehicle) ได้แก่ รถถังที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในภารกิจพิเศษต่างๆ เช่น
  • รถถังบังคับการ (Command tank)
  • รถถังกู้ซ่อม (Armoured recovery vehicle - ARV)
  • รถถังวางสะพาน (Bridge layer tank)
  • รถถังกวาดทุ่นระเบิด (Mine sweeper tank)
  • รถถังพยาบาล (Ambulance tank)
  • รถถังที่ใช้ในภารกิจทหารช่าง (Engineer tank)
จากจดหมายข่าว ศวพท.วท.กห. ฉบับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2557 เนื้อข่าวว่า กรมการทหารช่างต้องการให้ ศวพท.วท.กห. สนับสนุนการวิจัยในการปรับปรุงดัดแปลงรถถังแบบ M41 ที่ปลดประจำการแล้วให้เป็นยานรบทหารช่าง
เพื่อประโยชน์ในการเคลื่อนที่ในภูมิประเทศที่มีอันตราย โดยมีแนวคิดที่ดัดแปลงคือเพิ่มใบมีดด้านหน้าเพื่อใช้ในการถากถางเส้นทาง และชุดแขนกลเพื่อใช้ขุดตัก

เฟซบุ้คของกรมการทหารช่างได้เผยแพร่ภาพยานรบทหารช่าง
จากราคาต่างประเทศ 200 กว่าล้าน ทหารช่างทำใช้งบแค่ 7 ล้านเศษฯ
https://www.facebook.com/257252271022553/photos/a.583348158412961.1073742053.257252271022553/828780273869747

ยานรบทหารช่างของไทย
ดัดแปลงด้วยภูมิปัญญาทหารช่างไทย
สามารถปฏิบัติงานได้ตามวัตถุประสงค์
ลองดูยานรบทหารช่างชาติอื่นที่ดัดแปลงมาจากรถถังกัน
CZ-10_25E Alacran ของสเปน
บ.Peugeot Talbot ได้พัฒนาให้กับกองทัพบกประเทศสเปน โดยดัดแปลงจากรถถัง M60A1 จากคลังอาวุธของสเปน
สเปนได้จัดหายานรบทหารช่าง CZ-10/25E Alacran จำนวน 38 คันในปี 1997

หน้าตาก็ใช้เคียงกับของเรา ต่างกันที่หัวเก๋ง 5..5...5

(ยานรบ)รถถังทหารช่าง (Engineer Tank) กับ รถถังกู้ซ่อม (Armoured recovery vehicle - ARV) ติดอุปกรณ์ที่คล้ายกันคือ ใบมีด แต่รถถังกู้ซ๋อมบางแบบก็ไม่มีใบมีด ส่วนอุปกรณ์อีกอย่างที่คิดว่าน่าจะเป็นตัวกำหนดแบ่งแยกประเภทระหว่างรถถังทหารช่างกับรถถังกู้ซ่อม ก็คือ ชุดแขนกล
โดยชุดแขนกลสำหรับใช้ชุดตัก จะเป็นรถถังทหารช่าง และชุดแขนกลสำหรับใช้ยก(เครน) จะเป็นรถถังกู้ซ่อม
แต่อย่างไรก็ดีรถกู้ซ๋อมบางแบบก็สามารถติดตั้งมือขุดตักลงบนหัวเครนได้ 

รถถังสนับสนุนการรบบางแบบก็วางชุดแขนกลไว้ด้านข้าง ไม่วางตรงกลาง
Bergepanzer 3 Buffel (BPz3)
Bergepanzer 3 Buffel (Buffalo) ของบ.Rheinmetall (เยอรมัน)ร่วมพัฒนากับประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้แคสซีของรถถัง Leopard 2 
โดยรุ่นก่อนหน้าคือ Bergepanzer 2 ใช้แคสซีของรถถัง Leopard 1 มีใช้ในกองทัพแคนาดา โดยให้ชื่อมันว่า Taurus ARV


Pionierpanzer 2 "badger"
Pionierpanzer 2 "badger" ของเยอรมัน(โดยบ.Rheinmetall) ใช้แคสซีของรถถัง Leopard 1
และ Pionierpanzer 3 "Kodiak" ใช้แคสซีของรถถัง Leopard 2
Pionierpanzer 3 "Kodiak"
"Kodiak" มือขุดตักกลับมาอยู่ตรงกลางอีก
ลองมาดูรถถังช่วยรบตัวล่าสุดของกองทัพอังกฤษที่นำมาทดแทน FV-180 CET นั่นคือ Terrier ที่พัฒนาโดยบ. BAE Systems ตามความต้องการทางคุณลักษณะของกองทัพอังกฤษ ขุดแขนกลก็วางข้าง
Terrier ของอังกฤษ
ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่ายานรบทหารช่างของกรมทหารช่างที่ 21 จะได้รับการสนับสนุน วิจัยและพัฒนาต่อยอดให้เป็นรถถังช่วยรบอย่างสมบูรณ์แบบ โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีมูลค่าเป็นร้อยล้านบาท ในขณะที่เราสามารถใช้ภูมิปัญญานักรบไทยสร้างได้ในงบประมาณเพียง 7 ล้านบาท




No comments:

Post a Comment