Saturday, June 27, 2015

มหากาพย์การจัดหาเรือดำน้ำราชนาวีไทย

ข่าวร้อนวงการทหารช่วงนี้ คงไม่พ้นเรื่องเรือดำน้ำ S-26T ของจีนที่กองทัพเรือตัดสินใจเลือกซื้อ
เรื่องจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือนี้ สามารถเป็นมหากาพย์เรื่องหนึ่งได้เลย ยังไงก็ขอเริ่มต้นมหากาพย์ บทนี้ ตั้งแต่ในปี 2553 โครงการซื้อ “เรือดำน้ำ” มือสองจากเยอรมนีแบบ U-206A จำนวน 6 ลำ มูลค่า 7.6 พันล้าน ที่พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ(Big ติ๊ด) ผบ.ทร.ในยุคนั้นได้นำโครงการจัดหาเรือดำน้ำมาปัดฝุ่นอีกครั้ง  โดยรัฐบาลสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (20 ธ.ค.2551 - 9 ส.ค.2554) เปิดไฟเขียวให้กองทัพเรือจัดหาเรือดำน้ำได้ พอกองทัพเรือเสนอซื้อเรือดำน้ำ 2  ลำในวงเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท กลับถูกตีเรื่องกลับเนื่องจากใช้งบประมาณมากเกินไป
U-206A
แม้ว่าจะถูกตีโครงการฯ กลับ แต่กองทัพเรือก็ได้ข่าวดี เมื่อกองทัพเรือเยอรมนีเตรียมปลดระวางเรือดำน้ำแบบ U-206 A จำนวน 6 ลำ พอดี ทำให้สามารถขอซื้อเรือดำน้ำมือสองในราคาถูกได้ ซึ่งหลังการเจรจาทั้ง 2 ฝ่าย ได้ข้อตกลงที่ตัวเลข 7.6 พันล้านบาท พร้อมแพคเก็จเครื่องฝึกระบบปฏิบัติการจำลองแบบจริง ระบบอาวุธ อะไหล่อุปกรณ์ ตอร์ปิโดรุ่นใหม่ ทุ่นระเบิด และส่งกำลังพลไปฝึกที่เยอรมนี

แต่ทว่าการซื้อเรือดำน้ำมือสองเยอรมนี จะต้องซ่อมแซมปรับปรุงใหม่ทั้งลำ และเรือดำน้ำสามารถใช้ปฏิบัติภารกิจได้เพียงแค่ 4 ลำ รวมถึงการให้กำลังพลได้ศึกษา ส่วนอีก 2 ลำถูกนำมาใช้เป็นอะไหล่…

ทำให้ตลอดระยะเวลาการดำเนินการขออนุมัติการจัดซื้อจากรัฐบาล มีข่าวโจมตีออกเป็นระยะๆ ถึงความคุ้มค่า รวมถึงค่าคอมมิชั่นในโครงการฯ ดังกล่าว

ยิ่งช่วงสุดท้ายในตำแหน่ง “พล.อ.ประวิตร” ผู้เป็นพี่ใหญ่ของกองทัพที่น้องๆ ให้ความเคารพและมีอำนาจบารมีในตอนนั้น ก็ยังไม่มีการอนุมัติโครงการ พร้อมทั้งดอง “เรือดำน้ำ” เยอรมนีไว้ จนมีข่าวหนาหูว่า คนใกล้ชิดกับพ่อค้าอาวุธพยายามวิ่งเต้นเพื่อเปลี่ยนโครงการมาซื้อ “เรือดำน้ำ” ประเทศเกาหลีใต้แทน

ถึงแม้จะเปลี่ยนขั้วรัฐบาลจากพรรคประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาลเพื่อไทยของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีผู้หญิงคนแรกของไทยก็ตาม เก้าอี้ “รมว.กลาโหม” เปลี่ยนมือมาที่ “บิ๊กอ๊อด” พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา พร้อมทั้งกองทัพเรือเข้าสู่ยุค “บิ๊กหรุ่น” พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ แต่ทว่าเรือดำน้ำก็ยังถูกแช่ไว้เช่นเดิม

จนกระทั่ง “บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต นั่งเป็น “รมว.กลาโหม” ก็ได้ให้คำมั่นกองทัพเรือ เมื่อวันตรวจเยี่ยมกองทัพเรือว่า “พร้อมสนับสนุนโครงการเรือดำน้ำเยอรมนี ขอเวลา 1-2 วัน ก่อนนำเข้าคณะรัฐมนตรี อย่างช้าก็ไม่เกินสัปดาห์หน้า”

แต่ทว่า โครงการเรือดำน้ำฯ ดังกล่าว ก็ไม่เข้า ครม. เสียที ปล่อยให้กองทัพเรือรอแล้วรอเล่า จนกระทั่งเลยวันที่ 29 ก.พ. 2554 ตามกรอบเวลาที่ทางกองทัพเรือเยอรมนีกำหนด พร้อมทั้งข่าวสะพัดว่า “พล.อ.อ.สุกำพล” ล้มโครงการนี้ไปแล้ว

จนเมื่อ “พล.อ.อ.สุกำพล” ได้ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า ล้มโครงการเรือดำน้ำเยอรมนีเนื่องจากติดปัญหาเทคนิค และเลยกรอบเวลาที่เยอรมนีกำหนด แต่พร้อมสนับสนุนโครงการเรือดำน้ำรุ่นอื่น…!!!

ปิดฉากโครงการจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” มือสองแบบ U-206 A จากกองทัพเรือเยอรมนี จำนวน 6 ลำ งบประมาณ 7.6 พันล้านบาท อย่างเป็นทางการ…ที่มาพร้อมเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ยื้อโครงการจนเลยเวลา แต่ไม่มีคำตอบว่าเพราะสาเหตุใด (แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าจะคาดเดา)
(ที่มา : http://thaipublica.org/2012/03/the-navy-concluded-the-purchase-german-submarines/)

ครั้นมาถึงยุคนี้ พ.ศ.2558 ภายใต้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ จันทรโอชา ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (อีกแล้วครับท่าน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ตั้งแต่ 30 ส.ค.2557)
พิธีเปิดอาคารกองบัญชsaab าการกองเรือดำน้ำฯ
กองทัพเรือก็ดำเนินการและเตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากร สถานที่และองค์กร เพื่อรองรับกองเรือดำน้ำ ตามขั้นตอน(อันที่จริงเตรียมการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2554) ลองไปดูลำดับบริษัทต่างๆ ที่นำเสนอข้อมูลเรือดำน้ำของตนเองให้แก่ราชนาวีไทยกัน
  1. วันที่ 12 ..2558 . CSOC ประเทศจีน นำเสนอข้อมูลเรือดำน้า S-26T
  2. วันที่ 16 ..2558 บ.. Rosoboronexport ประเทศรัสเซีย นำเสนอข้อมูลเรือดำน้ำ Project 636 (เรือดำน้ำกิโล รุ่นปรับปรุง) และ Amur 1650
    Amur 1650
  3. วันที่ 29 ..2558 . ThyssenKrupp Marine Systems (TKMS) ประเทศเยอรมัน นำเสนอข้อมูลเรือดำน้ำ Type 209/1400mod กับ Type 210mod
  4. วันที่ 27 ..2558 . Hyundai Heavy Industries (HHI) ประเทศเกาหลีใต้ เสนอ HDS-500 RTN (ยังไม่มีการสร้างออกมา)
  5. วันที่ 2 เม..2558 .Saab ประเทศสวีเดน เสนอเรือดำน้ำ A-26
    Saab A-26
สำหรับเรือดำน้ำ Scorpene ของ บ. DCNS ประเทศฝรั่งเศส ไม่ได้มาให้ข้อมูลในปีนี้ ก็เพราะบริษัทเคยให้ข้อมูลแก่ สำนักงานกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ(สกด.กร.) ไว้แล้วเมื่อวันที่ 26 มี..2552
เหตุการณ์คั่นเวลาก็คือ 25 มีนาคม 2558 พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กห.มาออกข่าวให้สนับสนุนการจัดหาเรือดำน้ำ โดยจะเป็นการใช้งบประมาณปกติของ ทร. ในการจัดหา และคาดว่ามีโอกาสเป็นไปได้ที่จะได้รับอนุมัติในรัฐบาลชุดนี้ (http://www.bangkokpost.com/news/security/508086/submarine-plan-resurfaces-with-backing-from-prawit)
หลังจากนั้นก็มีรายการดราม่าออกมา โดยเฟสบุ้คของกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ ได้โพสบทความเกี่ยวกับอุบัติเหตุของเรือดำน้ำจีน (22 เม.ย.2557) ซึ่งต่อมาวันที่ 17 เม.ย.2558 แอดมินฯ ก็ได้แถลงการณ์ออกมาตามภาพข้างล่างนี้ ภายหลังโพสความคิดเห็นไม่ต้องการเรือดำน้ำจีน

อันเห็นลางบอกเหตุอย่างหนึ่งที่ผู้สนใจในแวดวงฯ ต่างก็ลุ้นระทึกกัน จนกระทั่งเมื่อนสพ.Bangkok Post ได้เผยแพร่ข่าวในวันที่ 26 มิ.ย.2558 ว่า ราชนาวีไทยเลือกเรือดำน้ำจีน จำนวน 3 ลำมูลค่า 12,000 ล้านบาท($355 million)
http://www.bangkokpost.com/news/security/604452/chinese-win-bid-to-supply-subs-to-navy
The navy has picked Chinese submarines costing 12 billion baht each to be commissioned in the force, a source on the procurement committee says. The majority of the 17-strong committee voted to buy threeChinese submarines, saying it was the "best value for money".  
The rest were split between submarines from Germany and South Korea. The navy also received offers from Russia, Sweden and France.
หากแปลต่างเนื้อข่าวแล้ว เสียงของคณะกรรมาธิการ 17 เสียงเลือกเรือดำน้า S-26T ส่วนเสียงที่เหลือก็เลือกเรือดำน้ำเยอรมัน และเกาหลีใต้ ซึ่งในเว็ป TFB กล่าวว่า มติออกมาเป็น 10-7 เสียง อย่างไรก็ดีส่วนตัวแล้วผมเชื่อถือในเนื้อข่าวจาก นสพ. Bangkok Post เพราะเสนอข่าวเชื่อถือได้และถูกต้อง
ส่วนข่าวที่ว่า ทางเกาหลีใต้เองก็อยากขายเรือดำน้ำให้ไทย ถึงขนาดเชิญตัวแทนจากกลาโหมให้ไปดูงานที่นั่น แหล่งข่าวระบุว่า กองทัพเรือไม่เห็นด้วย เพราะของเกาหลีนั้นราคาแพงเกินไป แล้วถ้าเล่นลูกผสมแบบซื้อเรือเปล่าจากเยอรมนี แล้วใช้อาวุธของเกาหลี ก็เกรงว่าจะเกิดปัญหาเหมือนกับรถหุ้มเกราะล้อยางจากยูเครนที่ต้องเปลี่ยน สเปกเครื่องยนต์ เนื่องจากเยอรมนีไม่ขายอะไหล่ให้ เรียกว่าซื้อจากเกาหลีมีปัญหาแน่

ชิ้นนี้เป็นข่าวของ Nation TV เมื่อวันที่ 1 ม.ค.2558
กองทัพเรือ ขอซื้อเรือดำน้ำ
เรื่องโดย Nation TV

วันที่ 1 มกราคม 2558 11:17 .
นายกรัฐมนตรี พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้กระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ ทำแผนการพัฒนาและ จัดหายุทโธปกรณ์ ตามแผนพัฒนากองทัพ ประจำปี 2559 มาเสนอให้รัฐบาลพิจารณา กลางเดือน ม..นี้


โดยกองทัพเรือ จะเสนอโครงการการจัดหาเรือดำน้ำมือหนึ่ง เข้าประจำการ 2-3 ลำ โดยกองทัพเรือ ได้พิจารณาคัดเลือกแบบเรือดำน้ำจาก เกาหลีใต้ จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส ซึ่งแต่ละประเทศมีราคาแตกต่างกันไป


โดยเรือดำน้ำชั้น u-209 ของเกาหลีใต้ มีราคาต่ำสุด ประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาทต่อลำ ทั้งนี้ พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกลาโหม ได้ระบุก่อนหน้านี้ว่าพร้อมให้การสนับสนุน แต่คงต้องดูเรื่องงบประมาณว่าจะพิจารณาจัดสรรได้หรือไม่
เรือดำน้ำที่เกาหลีใต้เสนอให้ไทยคือ HDS-500 RTN นั้นเป็นเรือดำน้ำที่พัฒนาจากเรือดำน้ำ U-209 ของเยอรมันเพื่อเสนอต่อกองทัพเรือไทย ไม่ใช่ U-206A อย่างที่บางเว็ปบล็อคมโนไปเอง

ถึงจุดนี้ เสียงทั่วไปจากคนไทยในวงการอาวุธสงคราม ออกมาอยู่ในทิศทางตรงข้ามกับการตัดสินใจของคณะกรรมาธิการคัดเลือกของกองทัพเรือ ถึงขนาดในเว็ป TAF มีบางท่านได้ตั้งประเด็นว่า "เรือดำน้ำจีน แลกตำแหน่งผบ.ทร" รึเปล่า อันนี้แค่นำมาประกอบบทความเท่านั้น ไม่มีความเห็นเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตามกองทัพเรือก็ได้ชี้แจ้งเหตุผลที่เลือกเรือดำน้ำของจีน ดังนี้
The official line from military sources is that the decision to go with Chinese-made submarines was based largely on value. In a separate report, The Bangkok Post cited various sources from the navy and the procurement committee as saying that China was chosen because its submarines were not only the cheapest, but of good quality as well contrary to concerns on this score. But a committee member also disclosed that Beijing had offered military technology transfer and training as part of the package, which other countries would otherwise charge more for. That member likened buying submarines to a car purchase. “If we are able to buy a Mercedes but have no money left for petrol, we should look at a top model Toyota instead, which would still leave some money for petrol,” the source said.
สรุปความคือ เรือดำน้ำจีนมิใช่แค่ราคาถูกอย่างเดียวแต่มีคุณภาพดีด้วย(น่าจะเป็น AIP) อีกทั้งเงื่อนไขที่จีนจะถ่ายทอดเทคโนโลยี่ และให้การฝึกอบรม ในขณะที่ประเทศอื่นคิดเงินเพิ่มในส่วนนี้

ส่วนตัวแล้วผมก็ยังติดอยู่กับภาพเรือดำน้ำชั้น Ming type 035 ของจีนที่ประสบอุบัติเหตุ ลูกเรือเสียชีวิตยกลำ เมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2546 แต่มันก็เป็นเรื่องราวนานมาแล้วในอดีต ซึ่งปัจจุบันจีนก็ย่อมนำความผิดพลาดในอดีตมาแก้ไขข้อบกพร่อง โดยหลังจากเรือดำน้ำชั้น Ming จีนก็ผลิดเรือดำน้ำออกมาอีกหลายรุ่นดังนี้
  • Type 035 Ming class (1990-2003)
    Type 035 Ming class
  • Kilo Class (1994-2005)
  • Type 039 Song class (1998-2006)
    Type 039 Song class
  • Type 039A Yuan class (2006-ปัจจุบัน)
    Type 039A Yuan class
สมรรถนะและความปลอดภัยก็ย่อมสูงขึ้นตามประสบการณ์ โดยความต้องการเรือดำน้ำของไทยนั้นมีข่าวว่าไทยต้องการเรือดำน้ำที่เล็กกว่าขนาดมาตรฐาน และมีระบบ AIP (air-independent power) 
เมื่อพิจารณาจากสมรรถนะความสามารถของเรือดำน้ำ Type 039 Song class ที่สร้างวีรกรรมไว้เมื่อเดือนตุลาคม ค..2006 โดยเรือดำน้ำชั้น Song ของ ทร.จีน ได้ปิดระยะเข้าใกล้หมวดเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Kitty Hawk ของ ทร.สหรัฐฯ ภายในระยะยิงตอร์ปิโดประมาณ 5 ไมล์ทะเล บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเรือรบสหรัฐฯ ในหมวดเรือบรรทุกเครื่องบินฯ ไม่สามารถตรวจจับเรือดำน้ำจีนได้ก่อน

จากวีรกรรมนี้ ประกอบกับเงื่อนไขการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ และให้การฝึกอบรม ผมคิดว่าก็ไม่ได้ขี้เหร่อะไรมากมาย ลองไปดูคุณสมบัติของเรือดำน้ำ S-20 ที่เป็นเรือดำน้ำรุ่นส่งออกซึ่งลดส่วนมาจาก type 039A/041 มีดังนี้

  • ความยาว 66 เมตร(ชั้น Yuan ยาว 73-75 เมตร)
  • กว้าง 8 เมตร
  • กินน้ำลึก 8.2 เมตร
  • ระวาง 1.850 – 2,300 ตัน
  • ความเร็วสูงสุด 18 น็อต
  • ความเร็วเดินทาง 16 น็อต
  • ระยะปฏิบัติการ 8,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็วเดินทาง
  • ปฏิบัติการนาน 60 วัน
  • ลูกเรือ 38 นาย
  • โครงสร้างลำตัว 2 ชั้น
  • ดำน้ำลึกสูงสุด 300 เมตร

เรือดำน้ำ S-26T ก็น่าจะมีคุณลักษณะใกล้เคียงกับ S-20 นี่แหละ โดยS-26T จะติดตั้ง AIP ด้วยเพราะ S20 ไม่ติดตั้ง

สุดท้ายนี้ก็หวังว่าการจัดซื้อฯ รวมไปถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี่เรือดำน้ำ S-26T นี้ จะทำให้การพัฒนาและวิวัฒนาการของเรือดำน้ำไทยเจริญก้าวหน้าต่อไป


อัพเดท ศุกร์ที่ 3 ก.ค.2558

เมื่อวานนี้(2 ก.ค.) นสพ.ไทยรัฐ ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับการจัดหาเรือดำน้ำจากจีนว่า
พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผบ.ทร. กล่าวว่า คณะกรรมการได้เดินทางไปดูเรือดำน้ำ 6 ประเทศ เป็นคนรุ่นใหม่ จำนวน 17 คน จากกองเรือดำน้ำกองเรือยุทธการ พร้อมให้คะแนน 14 คน เลือกเรือดำน้ำของจีน ประเทศเยอรมนี 2 คน และประเทศสวีเดน 1 คน ตนยืนยันว่า ไม่มีใครไปชักนำเขาเลือกด้วยตัวเองเพราะ เป็นเรือในอนาคต ทั้งนี้ ทางจีนได้สนับสนุนการฝึกอบรม พร้อมอะไหล่เรือดำน้ำถึง 8 ปี ดังนั้น ถือเป็นความฉลาดและคุ้มค่ามากที่สุด

“เรือดำน้ำทั้ง 3 ลำ เป็นเรือต่อใหม่หมดใช้เวลาต่อ 5-6 ปี และระหว่างต่อเรือเราจะส่งกำลังพลไปดูรายละเอียด 2 ปี ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สำคัญประเทศจีนเป็นประเทศเดียวที่ให้ระบบเอไอพี ที่เรือสามารถดำอยู่ใต้น้ำ นานถึง 21 วัน ขณะที่เรือประเทศเกาหลี และเยอรมนี ไม่มีระบบเอไอพี ดำอยู่ได้เพียง 5-6 วัน ก็ต้องโผล่ขึ้นมา ดาวเทียมก็จะจับได้ บางคนบอกว่า ซื้อของจีนแล้วถึงกับส่ายหัว ซึ่งความจริงคงไม่ใช่ เรื่องนี้ต้องรอให้ ครม.อนุมัติก่อน จึงสามารถพูดได้ เพราะผมไปดูด้วยตัวเอง” ผบ.ทร. กล่าว
แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/content/508963

1 comment:

  1. ข้อมูลสุดยอดครับ
    งานนี้ กองทัพเรือคงได้เรือดำน้ำมาใช้งาน แน่ครับ

    ReplyDelete