Saturday, July 11, 2015

Dhanush ปืนใหญ่ของอินเดีย

วันนี้มาคุยเรื่องปืนใหญ่ลากจูงของอินเดียขนาด 155 มม. "Dhanush" หรืออีกชื่อ "Desi Bofors" เพราะมันก็เป็นมหากาพย์บทเรื่องของอินเดีย ที่น่าติดตาม
Dhanush 155 mm 45 caliber


ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้นานแล้วในเว็บฯ แห่งหนึ่ง
India: Murky Competition for $2Billion Howitzer Order May End Soon… Or Not
January 23, 2009: India’s $2 billion purchase of about 400 new 155mm self-propelled howitzers is intended to supplement India’s dwindling artillery stocks, while out-ranging and out-shooting Pakistan’s self-propelled M109 155mm guns.
It seems simple enough, and BAE Systems Bofors has been competing against systems from Israel’s Soltam and Denel of South Africa. 
โครงการอภิอมตะนิรันดร์กาลของอินเดียนั้นก็คือโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 155 ม.ม.จำนวน 400 ชุดนี้เริ่มมาตั้งแต่ราวปี 2003(พ.ศ.2546) โดยมี 3 บ.ผู้แข่งขันคือ
1.Swedish SWS Defense AB FH77B05 L52
2.Israeli Soltam TIG 2002
3.South African Denel G5/2000 gun 
รอบแรกทุกบริษัทตกรอบหมด ต้องกลับไปปรับปรุงประสิทธิภาพกันใหม่
รอบสองปี 2004(พ.ศ.2547) อีสราเอลตกรอบสองก่อนเป็นรายแรก ตามมาด้วยแอฟริกาใต้ตกรอบในปี 2005(พ.ศ.2548) ปืนโบฟอสของสวีเดนทำท่าจะลอยลำเข้าวิน ก็ดันไปมีปัญหาด้านกฎระเบียบของอินเดียเข้าอีก 
ปี 2007 อินเดียเปิดประมูลใหม่ โดยปรับปรุงเพิ่มเงื่อนไขและความต้องการใหม่เข้าไปอีก จนป่านนี้ก็ยังไม่รู้ว่าใครจะเข้าวิน
เชื่อกันว่า ณ เดือนมกราคม 2009(พ.ศ.2552) อินเดียมีปืนใหญ่ 155/39 คาลิเบอร์ที่ปฏิบัติงานได้แค่ 200 กระบอก
ข้อมูลเพิ่มเติมจากข้อความที่เคยโพสข้างต้น
ครั้งสุดท้ายที่อินเดียซื้อปืนใหญ่ 155 มม.นี้มีขึ้นในปีพ.ศ.2530(1987) ซึ่งอินเดียสั่งซื้อปืนใหญ่สนามกระสุนวิถีโค้ง Haubits FH77 howitzer จำนวน 410 กระบอก จากบริษัทเอบี โบฟอร์ส ประเทศสวีเดน ซึ่งก็เป็นเรื่องราวลุกลามใหญ่โตเกี่ยวกับการคอรับชั่นในการจัดหาปืนครั้งนี้ จนถึงขนาดบ.โบฟอร์ส ถูกถึงขึ้นบัญชีดำ (ฺBlack list)
Haubits FH77
แต่บ.โบฟอร์สก็หลุดจากบัญชีดำ (ห้ามค้าขาย) ด้วยสงคราม Kargil ระหว่างอินเดียกับปากีสถานในปีพ.ศ.2542 (1999) เพราะปืนใหญ่ 155 มม.ของโบฟอร์สได้พิสูจน์ตัวเองในสนาม และอินเดียต้องการอะไหล่ปืนใหญ่

วันที่ 12 พ.ค.2555 - อินเดียทำข้อตกลงซื้อปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง M777 จำนวน 145 กระบอก จากบริษัท บีเออี ซิสเต็ม ของสหรัฐฯ ในราคา 560 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 17,400 ล้านบาท)
m777 ของสหรัฐฯ
จากภาพรวมของโครงการอภิอมตะนิรันดร์กาลของอินเดียข้างต้น วันนี้จะมาพูดคุยบทสรุปในการจัดหาปืนใหญ่วิถีโค้งขนาด 155 มม.ของอินเดีย นั่นคืออินเดียสรุปที่จะพัฒนาปืนใหญ่วิถีโค้งของตนเองขึ้น โดยปรับปรุงจากปืนใหญ่  FH77 ที่ซื้อจากบ.โบฟอร์ส ประเทศสวีเดน
การปรับปรุงในครั้งนี้คือเปลี่ยนลำกล้องปืนจาก 39 คาลิเบอร์มาเป็น 45 คาลิเบอร์ และรุ่นล่าสุดเป็นขนาด 52 คาลิเบอร์ โดยร่วมมือกับบ.โบฟอร์สในการพัฒนา
Dhanush 45 caliber
จากการปรับปรุงในขั้นแรกจากลำกล้อง 39 คาลิเบอร์เป็น 45 คาลิเบอร์ ทำให้อำนาจการยิงเพิ่มขึ้นคือจากระยะยิงซัลโว(ยิงต่อเนือง)ที่  27 กิโลเมตร เพิ่มเป็น 38 กิโลเมตร
สื่อ The Economic Times ให้ข้อมูลว่า โรงงานสรรพาวุธของอินเดีย(OFB = India’s state-owned Ordnance Factory Board) แถลงว่าประสิทธิภาพโดยรวมของปืนฯ เพิ่มขึ้น 20-25% ในระยะยิง, ความแม่นยำ, ความเชื่อถือ, มุมยิง และความสามารถในการยิง
สือ The Times of India รายงานว่ากองทัพอินเดียมีความต้องการปืนใหญ่ 52 คาลิเบอร์ถึง 414 กระบอก โดยแผนในปีพ.ศ.2542 (ช่วงสงคราม Kargil) กองทัพมีความต้องการปืนใหญ่ทุกขนาดลำกล้องถึง 2,000 -3,000 กระบอก

จากกรณีปืนใหญ่ 155 มม.ของอินเดียนี้ หากนำมาเปรียบเทียบกับกรณีของไทย ก็คงไม่พ้นปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางขนาด 155 มม. แต่ด้วยปัจจัยแห่งความต้องการต่างกันทำให้ไทยเราไม่จำเป็นต้องมีปืนใหญ่ 155 มม.เป็นจำนวนมากเหมือนอินเดีย ดังนั้นการนำปืนใหญ่ขนาด 155 มม.ที่มีใช้อยู่มาดัดแปลงฯ ก็เพียงพอต่อความต้องการของกองทัพ
เราจึงมุ่งความสำคัญไปที่ระบบควบคุมการยิง เมื่ออิสราเอลไม่ยอมขายเฉพาะระบบควบคุมการยิง ไทยเราก็เลยจ้างให้อิสราเอลพัฒนาทั้งตัวปืนและระบบควบคุมการยิงให้ตรงกับความต้องการใช้งาน แล้วซื้อมาทั้งระบบเพื่อพัฒนาต่อยอดต่อไป คล้ายกับวิถีที่อินเดียดำเนินการ
เครดิตภาพแก่ ท่านเศรษฐพงศ์ ดีศรี







No comments:

Post a Comment