Thursday, February 11, 2016

VT-4(MBT3000) ของจีน และ T90MS ของรัสเซีย

จากข่าวคราวกองทัพบกกำลังมองหารถถังหลักแบบอื่นนอกเหนือไปจากรถถังแบบ T-84 Oplot ที่สั่งซื้อไปแล้ว 49 คันจากยูเครน

โดยคณะกรรมการฯ ไปเยี่ยมชมโรงงานของรัสเซียและจีน ก็นำมาซึ่งการคาดเดาในความเป็นไปได้สำหรับการจัดซื้อรถถัง T-90MS(รุ่นส่งออกของ T-90S) ของรัสเซีย และ MBT-3000 ของจีน
การที่กองทัพบกเริ่มมองหารถถังหลักแบบอื่นจะเป็นสาเหตุอื่นไปเสียไม่ได้นอกจากความล่าช้าของยูเครนในการส่งมอบรถถัง T-84 Oplot ของยูเครนนั่นเอง

ทั้งนี้สองปีที่ผ่านมาก็ส่งมอบ T-84 ให้ไทยได้แค่สิบคัน ซึ่งหากยูเครนรักษาอัตราคงที่นี้ไว้ก็ต้องใช้เวลาอีกถึงแปดปีที่จะส่งมอบรถถังให้ไทยได้ครบตามจำนวนที่สั่งซื้อไว้ อีกทั้งปีนี้(พ.ศ.2559) เห็นมีข่าวออกมาว่าจะส่งมอบให้แค่สองคัน ไม่ใช่ห้าคัน
https://www.facebook.com/monsoonpages/photos/pb.424853427670049.-2207520000.1453683002./551261548362569/?type=3&theater

การตัดสินใจของกองทัพบกในการหารถถังแบบอื่นทดแทน ก็น่าจะมาจากแผนการป้องกันประเทศ เพราะกองทัพบกต้องปลดประจำการรถถัง M-41A3 จำนวน 200 คัน และจัดหารถถังใหม่ทดแทน
หากพิจารณาจากตัวเลือกที่คณะกรรมการฯ ได้ไปเยี่ยมชมกิจการ พอจะสรุปหลักสำคัญในการพิจารณาได้คือ รถถังต้องติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 125 มม.ลำกล้องเรียบ(เพื่อสามารถยิงจรวดต่อต้านรถถัง ATGM) ติดตั้งระบบโหลดกระสุนอัตโนมัติ มีระบบช่วยและอำนวยการยิง มีระบบป้องกันตัวในระยะประชิด ซึ่งคาดว่ามาตรฐานที่กำหนดตั้งไว้น่าจะใช้คุณสมบัติของรถถัง T-84 Oplot เป็นเกณฑ์
เมื่อทราบหลักเกณฑ์ในการพิจารณากันแล้ว คราวนี้ลองมาพิจารณาคุณลักษณะของรถถัง T-90MS Tagil ของรัสเซียและรถถัง MBT-3000 (อีกชื่อหนึ่งคือ VT-4) ของจีนกัน

T-90MS เป็นรถถังที่พัฒนามาจากรถถัง T-72 ที่มีปัญหาในการระเบิดต่อเนื่องภายในหากถูกยิง เนื่องจากต้องเก็บกระสุนไว้อยู่ภายในป้อมปืน


ซึ่งจุดนี้ T-90MS ได้มีการปรับปรุงโดยติดตะแกรงสำหรับใส่กล่องเก็บกระสุนปืนไว้ที่ด้านหลังป้อมปืน

นอกจากนี้คุณสมบัติต่างๆ ของรถถัง T-90MS สามารถค้นหาอ่านได้เป็นที่ทั่วไปในอินเตอร์เน็ท เพราะ T-90MS Tagil เผยโฉมมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2554 และมีการเปิดสายผลิตเพื่อการส่งออกกันแล้ว ตัวอย่างเช่นคลิ้ปแสดงคุณลักษณะของรถถัง T-90MS (ภาษาอังกฤษ ยาว 38:08 นาที) ชิ้นนี้


สำหรับรายละเอียดอ้างอิงอื่นๆ สามารถเข้าไปอ่านกันได้ที่ http://www.armyrecognition.com/russia_russian_army_tank_heavy_armoured_vehicles_u/t-90ms_main_battle_tank_data_sheet_specifications_information_specifications_pictures.html
และที่ http://igorrgroup.blogspot.com/2011_09_01_archive.html

หรือ บทสรุปคุณลักษณะของ T-90MS ที่ http://uralvagonzavod.com/products/special_products/45/


***** แต่สำหรับรถถังของจีนนั้น ยังคงลึกลับอยู่เนื่องจากยังไม่มีการเปิดสายการผลิต ดังนั้นผมจึงจะลงในรายละเอียดเกี่ยวกันรถถัง VT-4 ของจีนมากกว่ารถถัง T-90MS ของรัสเซีย *****

รถถัง MBT-3000 ซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น VT-4 เป็นรถถังที่พัฒนาปรับปรุงมาจากรถถัง VT-1 (MBT-2000) โดยนำเทคโนโลยี่ของรถถัง Type 99A หรือ ZTZ-99A มาใช้ แต่มีการลดเกรดในเรื่องเครื่องยนต์ และระบบกล้องตรวจการณ์

รถถัง VT-4 (MBT-3000) เผยตัวสู่สายตาของประชาคมโลกครั้งแรกที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ช่วงวันที่ 11-15 มิถุนายน พ.ศ.2555 ในงาน International Defense Exhibition Eurosatory ซึ่งในช่วงเปิดตัวใหม่ๆ ราคายังไม่ถึงคันละสามล้านเหรียญ อาจเป็นเพราะยังไม่ได้ติดตั้งระบบต่างๆ เข้าไป

หลังจากนั้นในปีพ.ศ.2557 บ.Norinco ได้เปิดเผยข้อมูลการพัฒนาปรับปรุงส่วนต่างๆ ที่เพิ่มเข้าไปของ VT-4 เพื่อแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถที่ทัดเทียบกับรถถัง T-14 Armata ของรัสเซีย รายละเอียดอธิบายอยู่ในภาพข้างล่าง
ติดตั้งเกราะ ERA ด้านหน้าของตัวรถ
ติดตั้งระบบ RWS, ย้ายตำแหน่งระเบิดควันพรางตัวไปข้างหลัง, เพิ่มตะแกรงครอบ, เพิ่มมุมตรวจการของกล้องผบ.และพลปืน, ติดตั้งเกราะด้านข้างป้อมปืน
ด้านท้ายปรับปรุงใหม่ 1.เพิ่มกล่องจัดเก็บ 2.ท่อไอเสียเป็นจตุรัส(ของเดิมกลม) 3&4 ไฟท้ายติดตัวตะแกรงป้องกัน
แหล่งข้อมูลในจีนเผยว่ารถถัง VT-4 มีระบบป้องกันตัวแบบ Active Defence System ที่เรียกว่า GL5 แต่ไม่มีการยืนยันว่าเป็น Hard kill หรือ Soft kill
VT-4 ติดตั้ง RWS และเสริมเกราะข้างด้านหน้าป้อมปืน
ได้รับทราบคุณลักษณะของรถถังทั้งสองแบบกันไปแล้ว เราลองมาเปรียบเทียบกันดู ตารางทางซ้ายคือ T-90MS ของรัสเซีย และทางขวาคือ VT-4 ของจีน

จากตารางเปรียบเทียบข้างบน T-90MS ได้เปรียบที่น้ำหนักเบากว่าทำให้วิ่งได้เร็วกว่าและระยะไกลกว่า ส่วน VT-4 เปรียบที่อำนาจการยิงของอาวุธรอง

ต่อไปก็คงต้องอ้างถึงการคาดเดาที่รถถัง VT-4 ของจีน อาจจะได้รับการคัดเลือกเหนือ T-90MS ของรัสเซีย ติดตามอ่านกันได้ที่  https://www.facebook.com/monsoonpages/posts/580476165441107

ก็เลยนำเอาคุณลักษณะของรถถัง T-84 ของยูเครนมาเปรียบเทียบกับ VT-4 ของจีน กันดู

จากตารางเปรียบเทียบข้างบน T-84 ได้เปรียบที่น้ำหนักเบากว่า และจำนวนบรรทุกกระสุนของปืนใหญ่ 125 มม. รวมทั้งความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ ส่วน VT-4 ได้เปรียบที่ความเร็วสูงสุด และกำลังเครื่องยนต์

ถ้าหากเปรียบเทียบโดยภาพรวมของรถถังทั้งสามรุ่นกันแล้ว คุณลักษณะก็เทียบเคียงกันได้ทั้งสามรุ่น แล้วทำไมรถถังจีน VT-4 ถึงเหนือกว่ารถถังรัสเซีย T-90MS

เท่าที่ลองไปขุดค้นหาในอินเตอร์เน็ท พอจะหาเหตุผลมาสนับสนุนได้ดังนี้
ข่าวนี้เป็นการให้สัมภาษณ์ของนาย หลิว ซ่ง รองผู้จัดการทั่วไปของการวิจัยและพัฒนาของไชน่านอร์ทคอร์ปอุตสาหกรรม ประเด็นอยู่ตรงการสื่อสารเครือข่ายระหว่างหน่วย (inter-unit network) จุดนี้หากจะยกตัวอย่างให้เห็นง่ายนั้น ก็คงเหมือนกับที่เครื่องบิน Gripen ของทอ.สื่อสารระหว่างกันในการโจมตีเป้าหมาย คุณสมบัติข้อนี้น่าจะเป็นประโยชน์ และสอดคล้องกับระบบ network centric ของไทย

เรื่องเครื่องยนต์ รถถัง T-90MS ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเทอโบชาร์ตใหม่ V-92S2F ของรัสเซีย ส่วนรถถัง VT-4 ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเทอโบชาร์ต ที่ผลิตเองในประเทศจีน ซึ่งแหล่งข้อมูลแจ้งว่าเป็นเครื่องยนต์มาตรฐานเยอรมัน โดยอาจสร้างจากวิธีวิศวกรรมย้อนกลับ หรือลอกแบบเครื่องยนต์เยอรมันจากสิทธิบัตรที่ได้รับให้มาผลิตในประเทศ เช่น Detuz และ MTU

ประเด็นนี้นับเป็นจุดยืดหยุ่นของรถถังจีนที่กองทัพบกไทยสามารถนำเครื่องยนต์เยอรมันใช้แทนได้ในอนาคต หากมีปัญหาเรื่องอะไหล่เครื่องยนต์


เรื่องราคา รถถัง T-84 Oplot ที่ไทยเราซื้อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2554 จำนวน 49 คันเฉลี่ยตกคันละ $4.8 ล้านเหรียญ ดังนั้นการจัดหาครั้งใหม่นี้หากราคาสูงกว่าจากการจัดหาครั้งก่อนมากเกินไปโดยไม่สมเหตุสมผล ก็อาจเกินกระแสต่อต้านจากสังคม

เท่าที่ได้อ่านผ่านตามีคนกล่าวว่า T-90MS ที่ติดตั้งอุปกรณ์ครบตามความต้องการของกองทัพบกแล้วจะมีราคาสูงมาก สูงกว่าราคาของรถถัง VT-4

คำถามต่อไปก็คือราคาของรถถัง VT-4 จะเป็นเท่าไร เท่าที่ลองค้นหาในเว็บบล็อกต่างๆ ของไทย มีรายงานไว้ว่าราคาคันละ $4 ล้านเหรียญ เข้าใจว่านำราคามาจากรายงานของ news agency Bloomberg
ต้นตอของราคารถถัง VT-4 คันละ $4 ล้านเหรียญ
แต่ใน Asian Military Review เดือนธันวาคม พ.ศ.2558 รายงานราคารถถัง VT-4 ว่าคันละ $5.8 ล้านเหรียญ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าราคาใดคือราคาที่ถูกต้องของรถถัง VT-4

และจากการค้นหาคำตอบพบว่าราคาคันละ $4 ล้านเหรียญที่ news agency Bloomberg รายงานไว้นั้น น่าจะเป็นราคาของรถถัง MBT-2000 (VT-1) ที่จีนเสนอต่อประเทศเปรูในปีพ.ศ.2554 

โดยสมมุติฐานนี้น่าจะถูกต้องเพราะในปีถัดมา(พ.ศ.2555) ประเทศบังคลาเทศก็ซื้อรถถัง VT-1 จำนวน 44 คันพร้อมรถกู้ซ่อมจำนวน 3 คันในราคาตกคันละ $5 ล้านเหรียญ ซึ่งแพงกว่า T-90S ที่อัลจีเรียซื้อในปีพ.ศ.2554 ตกราคาคันละ $4.5 ล้านเหรียญ

ด้วยเหตุนี้ราคาของ MBT-3000(VT-4) จึงไม่น่าจะใช่ $4 ล้านเหรียญ เนื่องจากมันจะราคาถูกกว่ารถถัง MBT-2000 ที่ล้าสมัยกว่ามาก อีกทั้งยังถูกกว่า T-84 Oplot ที่ไทยเราซื้อมาเมื่อหกปีที่แล้วอีกด้วย

สำหรับความสับสนและผิดพลาดนั้นน่าจะเกิดมาจากการคัดลอกเนื้อความของข่าวตามลิ้งค์นี้ไปใช้
http://defence-blog.com/army/china-offers-100-vt4-main-battle-tanks-for-peru.html

ดังนั้นราคาของรถถังจีน VT-4 คันละ $5.8 ล้านเหรียญ น่าจะใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า
แต่สำหรับประเทศไทย ตามงบประมาณผูกพันปีพ.ศ.2559-61 มูลค่า $271 ล้านเหรียญที่กองทัพบกจะซื้อรถถังในจำนวน 51 คัน มาคำนวณก็จะได้ราคาเฉลี่ยรถถังคือ $5.31 ล้านเหรียญต่อคัน  

ทั้งหมดที่ยกมาข้างต้นก็คือเหตุผลที่หามาจากอินเตอร์เน็ทซึ่งคิดว่าเป็นปัจจัยที่จะทำให้กองทัพบกเลือกรถถังจากจีน เหนือรถถังของรัสเซีย


ปิดท้ายกันด้วยลิ้งค์คลิ้ปข่าว VT-4 (ภาษาจีน) ใครฟังออกก็ช่วยอธิบายกันด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=_WynITqgKLo


อัพเดท ศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559


เพิ่มเติมข้อมูลเรื่องราคาของรถถัง VT-4 และ T-90MS จากเฟสบุ้คบ.ก.สมพงษ์
VT-4 ราคาประมาณ$5.5 ล้าน ส่วน T-90MS ราคาประมาณ $7.5 ล้าน 

No comments:

Post a Comment