Tuesday, November 1, 2016

โครงการวิจัยพัฒนาที่ล้มเหลวของสหรัฐ

ผู้คนมักจะคิดว่าการวิจัยและพัฒนาของกองทัพไทยส่วนใหญ่จะเก็บถูกขึ้นหิ้ง ทั้งนี้เหตุผลอาจจะมาจากหลายสาเหตุ คือ วิจัยศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจ หรืออาจจะเป็นเพราะลำดับความสำคัญ

ทั้งนี้โครงการหนึ่งที่สามารถเป็นกรณีศึกษาและมีตัวอย่างเปรียบเทียบชัดเจนคือ โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการผลิตปืนเล็กยาวในประเทศไทย (พ.ศ.2551) ของกองวิชาวิศวกรรมสรรพาวุธ สกศ.รร.จปร. ซึ่งได้รับอนุมัติหลักการแต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปีพ.ศ.2553

โดยโครงการนี้ไม่ผ่านการประเมิน และปิดโครงการไปแล้ว เท่าที่จำได้(เพราะย้อนไปหาเอกสารไม่เจอ) คือไม่คุ้มค่าในการลงทุน

ซึ่งในตอนแรกก็รู้สึกไม่เห็นด้วยเนื่องจากการวิจัยพัฒนาสร้างผลิตเองย่อมต้องใช้งบประมาณในการลงทุนสูงอย่างแน่นอนเช่นเดียวกับโครงการเครื่องบิน F1 และ F2 ของญี่ปุ่นที่วิจัยและพัฒนาเอง ราคาต่อลำสูงกว่า F-4 Phantom และ F-16 Fighting Falcon หลายเท่าตัว

ต่อมาความคิดเห็นก็เปลี่ยนไปจากกรณีของฝรั่งเศสในบทความ HK 416 ปืนทดแทน FAMAS http://monsoonphotonews.blogspot.com/2016/09/hk-416-famas.html ที่จัดหาปืนที่มีอยู่ในท้องตลาดง่ายกว่าและคุ้มค่ากว่า

ลากยาวเรื่องประเทศไทยแล้วจะไปเกี่ยวกับหัวเรื่องของบทความนี้อย่างไร ประเด็นก็คือประเทศไทยมีงบประมาณการวิจัยและพัฒนาฯ น้อยไม่มีจะใช้ล้างผลาญเหมือนประเทศอเมริกา
ดังนั้นเราจึงต้องเลือกวิจัยและพัฒนาตามลำดับของควาามสำคัญ

ส่วนประเทศอเมริกาก็ใช่ว่าจะสามารถวิจัยและพัฒนาได้สำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายทุกครั้งไป ในช่วงยี่สิบปีนี้ มีรายงานออกมาว่า 23 โครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์
23 โครงการที่ล้มเหลวในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ลองมาดูโครงการที่ล้มเหลวไปแล้วจำนวน 23 โครงการกัน(แต่หารายละเอียดได้แค่ 22 โครงการ) โครงการที่ล้มเหลวนี้รวมมูลค่าเป็น 5.8 หมื่นล้านดอลล่าร์

โดยโครงการที่ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์สองอันดับแรกที่เปลืองงบประมาณมากที่สุดรวมแล้วเกินกว่าครึ่งจากงบที่เสียไปทั้งหมด คือ
  1. FCS - Future Combat Systems และ 
  2. RAH-66 Comanche Stealth Helicopter 
โครงการ FCS ระบบการรบแห่งอนาคต เป็นโครงการที่จะบูรณาการระบบทั้งหมดของกองทัพบกตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ ไม้จิ้มฟันยันนิวเคลียร์ เพื่อสร้างเป็นตัวอย่างกองพลน้อยเคลี่อนที่เร็วที่มีความยืดหยุ่นตัวสูงในการรบทุกแบบ โดยประกอบด้วยยานพาหนะแบบใหม่ทั้งแบบใช้คนขับและแบบไร้คนขับ รวมถึงยาน UAV ผนวกเข้ากับระบบเครือข่ายที่รวดเร็วและอ่อนตัวกับสนามรบชนิดที่เรียกกันว่าแบบที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน

อาจจะด้วยความที่มันเป็นโครงการ(บัฟเฟ่)ขนาดใหญ่เกี่ยวพันในหลายเรื่องแบบรวบงบประมาณเข้ามาเป็นก้อนเดียวโครงการเดียว ย่อมต้องมีความยุ่งยากในการติดต่อประสานงาน และแน่นอนรวมไปถึงการควบคุมงาน ควบคุมคุณภาพ จึงเป็นผลให้ต้องยกเลิกโครงการ 
แนวคิดยานพาหนะแบบใหม่ที่ใช้แพลตฟอร์มเดียวกัน
โดยตัดส่วนการวิจัยพัฒนายานพาหนะแบบใหม่ทิ้งไป แล้วโอนส่วนวิจัยพัฒนาอื่นๆ ไปเป็นโครงการใหม่ชื่อ Army Brigade Combat Team Modernization Program
ระบบการสื่อสารในส่วนต่างๆ
สำหรับโครงการเฮลิคอปเตอร์ล่องหน RAH-66 Comanche ถึงจุดนี้คนที่ยังไม่รู้ก็คงจะเป็นที่รู้เป็นที่เข้าใจตรงกันแล้วว่า ฮ.Comanche โดนยกเลิกไปแล้ว
ฮ. คอมแมนเช่ ของบ.โบอิ้ง
นอกจากถูกยกเลิกแล้ว ก็ยังเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณเกินงบ แต่ก็ไม่ใช่โครงการเดียวในรายงานที่งบปานปลาย ยังมีอีกเจ็ดโครงการที่ค่าใช้จ่ายงบประมาณบานปลาย
ตัวสีแดงคือโครงการที่งบประมาณบานปลาย
นอกเหนือจากนี้ในรายงานปี 2015(พ.ศ.2558) ยังกล่าวว่ามีอีกโครงการห้าสิบโครงการที่กำลังดำเนินการและผ่านการประเมินขั้นต่ำไปแล้ว ส่วนอีกยี่สิบห้าโครงการที่กำลังดำเนินการแต่ยังไม่ผ่านการประเมินขั้นต่ำ โดยมีหกสิบสามโครงการที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์

รวมทั้งหมดทุกโครงการในรายงานฯ หนึ่งร้อยหกสิบเอ็ดโครงการอาจจะมีมูลค่าสูงถึง 6.5 ล้านล้านดอลล่าร์

ทิ้งท้ายกันด้วยศัพท์ทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้ เผื่อใครจะไปขุดค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม มีสองคำ คือ
  • MDAP - Major Defense Acquisition Program และ
  • IOC - Initial operating capability หรือ Initial operational capability

No comments:

Post a Comment