Thursday, March 21, 2019

M60E6 รุ่นใหม่ล่าสุดของปืนกล M60

วันนี้เอาเรื่องปืนมานำเสนอกัน และเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาจึงได้นำข้อมูลของเพจต่างๆ ที่มีความชำนาญในเรื่องปืนมาประกอบ

เริ่มกันด้วยประวัติความเป็นมาของปืนกล M60

ในช่วงศตวรรษที่ 20 หลังสงครามเกาหลี สหรัฐมีความต้องการอาวุธปืนกล สนับสนุนทหารราบ และ สามารถติดตั้งบนยานยนต์ต่างๆได้ ระดับหน่วยที่มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ การพัฒนาปืนกลเอนกประสงค์ สำหรับกระสุนขนาด 7.62x51mmNATO ภายใต้แนวคิด GPMG (General-purpose machine gun) การออกแบบ นั้นอยู่ระหว่างปืนกลแบบ belt-fed ปืนกลแบบ 1919 ที่ไม่ค่อยมีความคล่องตัว แต่ สามรถประทับบ่ายิงได้แบบ Browning Automatic Rifle (BAR) ต้นแบบที่ถูกนำมาพิจรนาคือ ปืนกล German MG42 จากอัตราการยิงที่น่ากลัวของ MG 42 (1200 นัดต่อนาที) เลยต้องออกแบบอาวุธใหม่นี้ให้มีอัตราการยิงลดลงมา

ในช่วงแรกนั้น อเมริกันนำ MG 42 มาถอดแบบ เป็น US T24 Machine gun ใช้กระสุน ขนาด.30-60 ของอเมริกัน
T24
ต่อมามีการส่งแบบเข้าแข่งขัน แบบของ Saco Defense(General Dynamics )ได้รับการคัดเลือกโดยใช้ชื่อว่า T 44 ซึ่งมีคุณลักษณะเหมือน FG 42 paratroop rifle 

  • โดยนำระบบลูกเลื่อนแบบ Rotating bolt มาใช้งาน โดยการใช้ก้านบังคับ Opereting rod เป็นตัวบังคับการ เปิด-ปิดกลอน และ การเดินเข็มแทงฉนวน
  • ป้อนกระสุนแบบ belt-fed แบบ MG 42 
  • และ ใช้ระบบแก๊สแบบ Short stroke pistol ระบบปิดแบบ M1 Carbine 
แต่ยังคงใช้กระสุนขนาด .30-60 อยู่ จนเมื่อมีการการบรรจุกระสุน 7.62X51mm NATO เข้าเป็นกระสุนมาตรฐานนาโต้

จากนั้นการพัฒนาเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในปี 1952 เมื่อพัฒนาเป็น T52 ใช้กระสุนขนาด 7.62×51 NATO โดยการบรรจุกระสุนจากทางด้านข้างและสามารถเปิดฝาครอบห้องลูกเลื่อนได้

การออกแบบและการพัฒนา มีอย่างต่อเนื่องเป็นรุ่น T52E1, E2 และ E3 จากนั้น ได้พัฒนามาเป็น T161 และการพัฒนาเริ่มเข้าสู่ความสมบูรณ์แบบ ในรุ่น T161E3
T161E3
จนกระทั้งในปี 1957 ปืนกล M60, หรือ United States Machine Gun, Caliber 7.62 mm, M60 ได้เข้าสู่สายการผลิต U.S. Ordnance เพื่อรับใช้ชาติ ในสงครามแรกของมันคือ สงครามเวียดนาม เป็นอาวุธสนับสนุน ให้แก่หน่วยปืนเล็ก ยานยนต์ หรือ อากาศยาน
M60 เป็นปืนกล แบบ พร้อมยิงขณะลูกเลื่อนเปิด open bolt บริหารระบบด้วยก๊าซ Gas-operated, ใช้ลูกสูบช่วงสั้น short-stroke gas piston โดยที่ชุดลูกสูบจะติดตั้งอยู่ใต้ลำกล้องเป็นชุดเดียวกับลำกล้อง (M60ก้านลูกเลื่อน Operating rod ยาวมากจนดูเหมือนเป็น Long-stroke ) หน้าลูกเลื่อนขัดกลอน แบบหมุนตัว rotating bolt และปลดกลอนแบบตามเข็มนาฬิกา บังคับด้วย Camming slot ที่ส่งแรงมาจาก Operating rod ที่ท้าย Operating rod จะมี Buffer คอยรับอยู่

การป้อนกระสุนจากทางด้านซ้ายของตัวปืนโดยสายกระสุน belt-fed มี ระบบการป้อนกระสุน จะทำงานด้วยBolt cam roller อยู่ท้าย ด้านบนของลูกเลื่อนวิ่งในรางของ Feed cam บังคับให้ Feed cam Lever เคลื่อนที่ในแนวขวาง ตัว Belt feed pawl ดึงป้อนสายกระสุนเข้ามา

อัตราการยิงอยู่ที่ 500–650 นัดต่อนาที ระยะหวังผล(รุ่นมาตรฐาน )1,100 เมตร มีขาทรายแบบ2ขา Bipod ติดตั้งมาพร้อม หรือใช้งานรวมกับขาตั้ง(ขาหยั่ง)แบบสามขา Tripod แบบ M122 Tripod,
ในหนึ่งหน่วยยิงจะมีลำกล้อง2ลำกล้องใช้สลับ กันเมื่อลำกล้องร้อน โดยการโยกคันปลดลำกล้องที่อยู่ด้านขวาเหนือโคนลำกล้องขึ้น


การถอดและประกอบปืนกล เอ็ม 60

การถอดและการประกอบจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือการถอดและประกอบแบบปกติและการถอดประกอบแบบพิเศษ โดยที่ปืนกล เอ็ม 60 สามารถถอดประกอบโดยไม่ต้องใช้กำลังเว้นแต่ชุดลำกล้องปืน อุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถถอดได้ด้วยปลายกระสุนหรือของปลายแหลมอื่นๆ ขณะถอดปืนควรวางบนพื้นที่เรียบสะอาดและวางตามลำดับการถอด ปืนกล เอ็ม 60 จะสามารถแบ่งชิ้นส่วนใหญ่ๆ เป็น 6 ส่วน คือ

  1. ชุดลำกล้อง 
  2. ชุดลูกเลื่อน 
  3. ชุดเครื่องรับแรงถอย 
  4. ชุดพานท้าย 
  5. ชุดเคลื่อนที่ 
  6. ชุดเครื่องลั่นไก

ปืนกลอเนกประสงค์ M60 คือหนึ่งในอาวุธที่เป็นไอคอนของสงครามเวียดนาม และยังคงถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้

ปืนกล M60 รุ่นแรกที่เริ่มใช้งานในปี 1957 ในเวลานั้นมันเต็มไปด้วยข้อบกพร่องหลายจุด เช่น ผู้ออกแบบ M60 นั้นลืมที่จะใส่ที่จับบริเวณลำกล้องปืน ทำให้การเปลี่ยนลำกล้องปืนที่ร้อนฉ่าระหว่างการรบนั้น ผู้เปลี่ยนต้องใส่ถุงมือหนาหนักราวกับกำลังไปอบขนม

นอกจากนั้นปืนยังมักที่จะขัดลำกล้องอีกด้วย เนื่องจากสายพานส่งกระสุนนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ในช่วงสงครามเวียดนามทหาร GI บางคนเกิดไอเดียที่จะแก้ปัญหานี้ โดยใช้เศษกระป๋องเปล่าวางรองใต้สายส่งกระสุนบริเวณด้านซ้ายของตัวปืน ช่วยให้สายกระสุนเคลื่อนที่ส่งกระสุนได้ราบลื่นขึ้นเนื่องจากส่วนโค้งของกระป๋องช่วยพยุงตัวสายกระสุนไว้

อีกข้อบกพร่องคือตัวปืนมักจะขาดการหล่อลื่น และน้ำมันหล่อลื่นที่ให้มาพร้อมกับปืนนั้นก็มีน้อยเกินไป และมักจะหมดอย่างรวดเร็วภายในหลังใช้งานไม่นาน เหล่าทหารจึงแก้ปัญหานี้โดยใช้เนยสดในการหล่อลื่นปืนแทนน้ำมัน พวกเขากล่าวว่าเนยช่วยให้ปืนทำงานได้อย่างไร้ที่ติ นอกจากนั้นยังมีกลิ่นหอมของเนยร้อนๆขณะยิงปืนอีกด้วย

แต่ทว่า M60 ก็เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ป่าดิบเขตร้อนในเขตเอเชียตะวันออก ไปจนถึงกลางทะเลทรายอันแห้งแล้งของตะวันออกกลาง
ด้วยจุดเด่นที่ออกแบบมาให้ยึดจับและใช้งานได้ง่าย นอกจากนั้นยังมีความแม่นยำสูงถึงแม้จะยิงจากระยะไกล

กองทัพสหรัฐฯได้ปรับปรุงปืน M60 ในช่วงยุค 1980 เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ และในช่วงยุค 1990 ทางกองทัพฯเริ่มลดการผลิตปืนดังกล่าวลง แต่ก็ยังคงมีการใช้งานอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ โดย M60 เป็นอาวุธยอดนิยมที่ถูกบรรจุไว้ในคลังอาวุธของเกือบทุกหน่วยงาน เช่น SEAL, ยามฝั่ง หรือแม้กระทั่งกองกำลังสำรอง

ปืนกลอเนกประสงค์ M60 ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก กว่า 45 ประเทศ โดยส่วนมากเป็นประเทศสมาชิก NATO และพันธมิตรในเอเชียตะวันออก (รวมทั้งประเทศไทย) มันยังคงเป็นขวัญใจของเหล่าทหารทุกเหล่าอย่างไม่เปลี่ยนแปลง


M60 มีการพัฒนาและมีรุ่นต่างๆดังนี้

M60E1: รุ่นนี้ไม่ได้เข้าสู่สายการผลิต.จุดที่แตกต่างจากรุ่นปกติคือหูหิ้วติดตั้งที่ลำกล้อง ระบบกำจัดก๊าซในชุดกระบอกสูบ และขาทราย
M60E2: ใช้บนยานพาหนะ รถถังหรือ ยานเกราะ แบบปืนกลร่วมแกน ควบคุมการยิงด้วยไฟฟ้า .

M60B: ใช้บนเฮลิคอปเตอร์ในช่วงยุค 1960ถึง1970 แบบไม่มีแท่นวางปืน มันถูกตัดลำกล้องให้สั้นลง ไม่มีขาทราย ไม่มีศูนย์เล็ง พานท้ายแบบตัด

M60C: ใช้งานบนอากาศยานติดตั้งบนแท่นยิง ช่วง 1960ถึง1970 the ควบคุ้มการยิงด้วยไฟฟ้า และ มีระบบช่วยยิงแบบไอดรอลิค


M60D: พัฒนามาจาก M60B; เป็นรุ่นใช้งานบนเฮลิคอปเตอร์ ติดตั้งบนแท่นยิงแบบเสามีการเปลี่ยนไปใช้ด้ามปืนแบบ Spade-grip pintle mount แบบสองมือ ไม่มีตัวครอบกันความร้อน

M60E3: เป็นรุ่นที่ปรับปรุงให้น้ำหนักเบาลง เปลี่ยนตำแหน่งขาทรายมาใว้กลางลำกล้อง เพิ่มมือจับใต้ลำกล้อง front pistol grip ใช้งานยุค1980 และรุ่นลำกล้องสั้น

M60E4 พัฒนาในยุค 1990 ลักษณะโยทั่วไปคล้าย E3,แต่มีการปรับปรุง มือจับด้านหน้าเป็นชิ้นเดียวกับรองลำกล้อง มีการออกแบบระบบก๊าซใหม่

Mk43 Mod 0/1:เป็นชื่อที่ กองทัพเรือสหรัฐกำหนดไว้ พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานในหน่วย U.S. Navy SEALเพื่อทดแทนรุ่น M60E3 มีการใช้ลำกล้องสั้นแบบ "assault barrels"โดยมาตรฐานมาจากรุ่น M60E4 เพียงแต่การใช้งาน นั้นเป็นการใช้งานแบบ การยิงสนับสนุน หรือ การยิงโดยตรง suppressive fire or direct fire. MK 43 Mod 1นั้นเพิ่มรางติดอุปกรณ์ ที่รองลำกล้องและฝาครอบลูกเลื่อน

M60E6: เป็นรุ่นที่เบาขึ้นอีกจากรุ่น M60E4. เพื่อใช้งานกับ Danish Army มาทดแทน M/62


จากที่เกริ่นนำประวัติความเป็นมาของปืนกล M60 นั้นก็เพื่อจะนำเสนอปืนกลรุ่นใหม่ล่าสุดของ M60 นั่นก็คือ M60E6
ชมคลิปบรรยายปืนกลรุ่นใหม่นี้กัน

คุณสมบัติของปืนกลรุ่นใหม่ M60E6 นี้ ประกอบด้วย

  • การบำรุงรักษาที่สะดวกและง่ายขึ้น
  • ศูนย์หน้า ปรับได้
  • หูหิ้วลำกล้อง เพื่อเลี่ยงความร้อนของลำกล้องขณะเปลี่ยนลำกล้อง
  • ขาทรายน้ำหนักเบา ใช้มือเดียวกางได้
  • ติดราง M1913 จำนวนสามอันสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ
  • การป้อนกระสุนดีขึ้น 30%
  • ด้ามปืนกระฉับมือรวมทั้งเป็นอุปกรณ์ และไกปืนก็ปรับปรุงให้ดีขึ้นเมื่อต้องสวมถุงมือ
  • น้ำหนักเบาขึ้น
  • ฯลฯ


จากประวัติความเป็นมาของปืนกล M60 จะเห็นได้ว่ากองทัพไทยก็เป็นกองทัพหนึ่งที่ประจำการด้วยปืนกล M60 จึงน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่จะนำปืนกล M60 มาปรับปรุงให้เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดคือ M60E6 โดยการปรับปรุงจะใช้เงินเพียงแค่ 60% ของการซื้อกระบอกใหม่ทั้งกระบอก

ทำไมราคาปรับปรุงถึงแพงขนาดนั้นก็เป็นเพราะชิ้นส่วนของปืนกล M60 รุ่นเดิมจะนำมาใช้ได้เพียงชิ้นเดียวคือ โครงปืน (receiver) แค่นั้นนอกนั้นเป็นชิ้นส่วนใหม่ทั้งหมด อาจเรียกได้ว่าปรับปรุงแล้วกลายเป็นปืนกลกระบอกใหม่เลยก็ได้

แม้ว่าปืนกล M60E6 ใหม่จะมีน้ำหนักเบาขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆ แต่ก็ไม่ใช้ปืนกลที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในโลกเพราะปืนกล FN minimi (Mk 48) มีน้ำหนักเบากว่าคือหนักเพียง 8.8 กิโลกกรัม  แต่น้ำหนัก 9.35 กิโลกรัมของปืน M60E3 ก็เบากว่าปืนกล M240 และ H&K MG5

ราคาของ M60E6 คือกุญแจสำคัญที่จะสามารถชนะคู่แข่งแบบอื่นๆ ได้อย่างสบาย ด้วยเหตุนี้ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินราชนาวีไทย ที่มีปืนกล M60 และ M60D ประจำการอยู่ จะทำการปรับปรุงปืนกล M60 ที่มีอยู่ทั้งหมดให้เป็น M60E6

โดยในส่วนของกองทััพเรือเท่าที่ขุดค้นข้อมูลได้มีการจัดหาปืนกล M60E6 เข้ามาปีละ 12 กระบอกทุกปืตั้งแต่ปีพ.ศ.2560

คราวนี้ก็มารอดูกันต่อไปว่ากองทัพชาติใดที่จะเป็นชาติที่สองต่อจากประเทศเดนมาร์คที่จะบรรจุประจำการปืนกล M60E6
รวมทั้งกองทัพบกและกองทัพอากาศของไทยจะทำการปรับปรุงปืนกล M60 ให้เป็นรุ่น M60E6 เช่นเดียวกับหน่วยนาวิกฯ ด้วยหรือไม่



ทั้งหมดก็คือบทความปืนกล M60E6 สำหรับวันนี้
ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ : ป.ปืน
                                           สมาคมคนชอบอาวุธสงคราม
                                           สมาคมนิยมอาวุธนาโต้ NATO military fanclub


1 comment:

  1. สุดยอดครับ M60 ขนาดโล่และเสื้อเกราะยังเอาไม่อยู่ ( จากเหตุคนร้ายยิงหน่วยหรินทราชที่โคราช )

    ReplyDelete