Saturday, January 29, 2022

สถานการณ์ยูเครนกับรัสเซีย พ.ศ.2565

วันนี้เป็นการต่อยอดจากเพจ การทูตและการทหาร Military & Diplomacy ที่แสดงความเห็นต่อฝ่ายรัสเซียไว้อย่างน่าสนใจ 

การวิเคราะห์ต่อยอดโพสนี้ ผมขอสงวนสิทธิ์ในการลบ comment ที่ไม่สร้างสรร ทั้งนี้เพื่อยกระดับการเล่นอินเตอร์เน็ทของคนไทย เนื่องจากปกติผมจะปล่อยให้วิพากษ์โดยอิสระไม่ไปแตะต้องปล่อยให้สาธารณชนเป็นผู้ตัดสินกันเองว่าคนวิพากษ์เป็นบุคคลเช่นไร

สรุปย่อจากเพจการทูตฯ คือ เป็นการแสดงแสนยานุภาพของรัสเซียป้องปรามไม่ให้กองทัพยูเครน ซึ่งได้รับการสนับสนุนอาวุธรุ่นใหม่จากสหรัฐฯและตุรกีใช้กำลังกับดอนบาส เพราะถ้าเกิดการสู้รบรอบใหม่ในดอนบาส ทางเลือกเดียวของรัสเซียที่จะปกป้องดอนบาสได้คือต้องใช้กองทัพรัสเซียเข้าแทรกแซงเต็มรูปแบบ ไม่สามารถทำสงครามลับเหมือนเมื่อปี ค.ศ.2014 – 2015 ได้แล้ว ดังนั้นการป้องปรามไม่ให้เกิดการสู้รบรอบใหม่ขึ้นตั้งแต่ต้น เพื่อให้ทุกฝ่ายกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจา

การวิเคราะห์ต่อยอดคือ ณ เวลานี้ยูเครนที่ไพ่สองใบอยู่ในมือนอกเหนือจากที่รถถัง อาวุธต่อต้านรถถัง และโดรนโจมตี ที่ทำให้ทั่วต้องจับตาดูในลำดับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปอย่างไม่ละสายตา นั่นคือ

  1. อำนาจอธิปไตย
  2. การสนับสนุนขององค์การนาโต้

มาดูกันที่ไพ่ใบแรกก่อนเลย อำนาจอธิปไตย ก็คือการที่รัฐจะแบ่งแยกไม่ได้ อันนี้คือข้ออ้างตั้งแต่สงครามรอบแรกในปีพ.ศ.2556-2557 สนใจรายละเอียดก็ลองเข้าไปอ่านใน FB เพจการทูตและการทหาร Military & Diplomacy กันดูว่าเกิดได้อย่างไร

แต่คราวนั้นยูเครนก็ปราชัยด้วยเหตุของความไม่พร้อมในกำลังพลและยุทโธปกรณ์

คราวนี้ยูเครนก็สามารถใช้ไพ่ใบนี้ได้อีกโดยที่ไม่มีประเทศใดสามารถโต้แย้งได้ เนื่องจากเป็นกิจการภายใน

ทางด้านรัสเซียก็แก้เกมส์ด้วยการอนุญาตให้ประชาชนในเขตแบ่งแยกดินแดน(ที่รัสเซียเข้าไปแทรกแซง)สามารถยื่นขอสัญชาติรัสเซีย
ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการใช้กำลังในการปกป้องชีวิตของประชาชนรัสเซีย

แต่การที่ยูเครนหาญกล้าจะรุกดอนบาสก็เพราะยูเครนมีไพ่ใบที่สำคัญใบที่สอง

ไพ่ใบที่สอง การสนับสนุนขององค์การนาโต้

การกล่าวถึงในหัวข้อนี้ จำเป็นต้องพูดถึงประเทศจอร์เจียร่วมไปด้วยเนื่องจากการเข้าเป็นพันธมิตร NATO ของประเทศใดประเทศหนึ่งจะเพิ่มช่องทางของนาโต้ตามแนวชายแดนของรัสเซีย

จึงเป็นเหตุให้รัสเซียขัดขวางทั้งสองประเทศในทุกวิถีทาง และเป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งของรัสเซียต่อกลุ่มประเทศ NATO ในวิกฤตครั้งนี้


ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนและองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) เริ่มต้นในปีพ.ศ.2537 เมื่อยูเครนกลายเป็นประเทศแรกของ CIS ที่จะเข้าสู่นาโต้
ต่อมาในปีพ.ศ. 2551 ที่การประชุมสุดยอด NATO ในเมืองบูคาเรสต์ ประเทศยูเครนและจอร์เจียได้ร่วมกันประกาศความตั้งใจที่จะเป็นสมาชิก NATO ด้วยการยื่นขอเริ่มแผนปฏิบัติการสมาชิก NATO (MAP)  

แต่ในครั้งนั้นนาโต้ปฏิเสธรับรองสถานะสมาชิกของทั้งสองประเทศ และรัสเซียก็ส่งทหารบุกจอร์เจียในอีกไม่กี่เดือนนับจากนั้น แล้วแยกดินแดนอับคาเซีย ทางตะวันตกของจอร์เจียออกเป็นรัฐอิสระ

ยูเครนให้ความช่วยเหลือจอร์เจียระหว่างสงครามในอับคาเซียตลอดจนการสนับสนุนในช่วงสงครามห้าวันกับรัสเซียในปี 2551 เนื่องจากเป็นช่วงเวลาแห่งสายสัมพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดระหว่างจอร์เจียและยูเครน ที่เกิดขึ้นหลังจากการปฏิวัติในระบอบประชาธิปไตย (ปีพ.ศ.2550 ในจอร์เจียและ 2551 ในยูเครน) ซึ่งทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางอุดมการณ์ระหว่างสองประเทศ

แผนการเป็นสมาชิก NATO ของยูเครนถูกยกเลิกหลังจากปีพ.ศ.2553 ภายหลังการเลือกตั้งที่ประธานาธิบดี Viktor Yanukovych ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ท่ามกลางความไม่สงบของ Euromaidan

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ปธน.Yanukovych หนีออกจากยูเครนท่ามกลางการจลาจลของ Euromaidan  

ผลมาจากการปฏิวัติครั้งนี้รัฐบาล Yatseniuk ชั่วคราวข้ามาสู่อำนาจ ในขั้นต้นโดยอ้างถึงสถานะที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของประเทศว่าไม่มีแผนที่จะเข้าร่วมกับนาโต้
อย่างไรก็ตามหลังจากการรุกรานของกองทัพรัสเซียในยูเครนและการเลือกตั้งรัฐสภาในเดือนตุลาคม 2557 รัฐบาลใหม่ได้ให้ความสำคัญกับการเข้าร่วม NATO

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แนวทางแพ็คเกจคู่ของการรวมจอร์เจียและยูเครนกับสหภาพยุโรปและ NATO ค่อยๆ สูญเสียการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ของจอร์เจีย เนื่องจากทบิลิซี(จอร์เจีย)อยู่เหนือ Kyiv(ยูเครน)ในแง่ของการปฏิรูป 

เพราะจอร์เจียหันไปมุ่งความสนใจด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ และใช้ความอดกลั้นเชิงกลยุทธ์ต่อดินแดนที่ถูกยึดครอง แต่ประเทศยูเครนยังคงพัฒนากองทัพควบคู่ไปกับการดำเนินความพยายามต่อดินแดนที่ถูกยึดครอง จึงเป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤตกับรัสเซียในปัจจุบัน


ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างยูเครนกับจอร์เจียแข็งแกร่งขึ้นในปี 2559 เนื่องจากความจำเป็นเร่งด่วนในการค้นหาทางเลือกอื่นสำหรับการส่งออกของยูเครนแทนการขนส่งของรัสเซีย 

เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559 รถไฟตู้คอนเทนเนอร์ได้รับการทดสอบโดยออกจาก Chornomorsk ไปตามเส้นทางยูเครน-จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน-คาซัคสถาน-จีน (ผ่านทะเลแคสเปียนและทะเลดำ) รถไฟมาถึงประเทศจีนเมื่อวันที่ 31 มกราคม เส้นทางนี้ใช้เวลา 16 วันแทนที่จะเป็นสองสัปดาห์ที่วางแผนไว้ เนื่องจากความล่าช้าในคาซัคสถาน
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2559 รถไฟบรรทุกสินค้าอีกขบวนมาถึงอาเซอร์ไบจานจากยูเครน


ในขณะที่จอร์เจียกำลังเป็นหน้าต่างสู่เอเชียกลางและจีนสำหรับยูเครน ยูเครนกำลังเชื่อมต่อจอร์เจียกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

ดังนั้นการเชื่อมต่อกับยูเครนจึงมีความสำคัญเชิงกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีความสำคัญสำหรับจอร์เจีย ทุกปีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจอร์เจียจากสหภาพยุโรปและยูเครน (โดยเฉพาะหลังจากการผนวกไครเมีย) เพิ่มขึ้น ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2559/2016 จอร์เจียต้อนรับนักท่องเที่ยวจำนวน 92,000 คนจากยูเครน โดยรวมแล้ว ยูเครนเป็นซัพพลายเออร์นักท่องเที่ยวรายใหญ่อันดับห้าของจอร์เจีย

ประเด็นข้อโต้แย้งหลักที่ต่อต้าน "ความอดกลั้นเชิงกลยุทธ์" ของจอร์เจียคือนโยบายนี้ไม่ได้นำมาซึ่งความคืบหน้าใดๆ และสถานการณ์ในดินแดนที่ถูกรัสเซียยึดครองยังคงตึงเครียด

ทำให้ยูเครนละเลยในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับจอร์เจียอีกต่อไป  โดยเน้นการเคารพซึ่งกันและกัน ความเข้าใจ และมิตรภาพแทน


ยูเครนและจอร์เจีย ทั้งสองประเทศได้รับความสนใจให้เข้าเป็นสมาชิก NATO จากการพิจารณาทางภูมิรัฐศาสตร์และความปรารถนาร่วมกันที่จะต่อต้านอิทธิพลของรัสเซียและบรรลุความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศในยุโรป

ดังนั้นการช่วยเหลือปกป้องยูเครนและจอร์เจียให้ธำรงคงอยู่นับเป็นแผนยุทธศาสตร์สำคัญของนาโต้ แต่การให้สถานะสมาชิกแก่ยูเครนนับว่ามีปัญหาใหญ่
เนื่องจากนโยบายของนาโต้คือการต่อต้านการคุกคามและแพร่ขยายอำนาจของรัสเซีย แต่ไม่ใช่การเผชิญหน้าอย่างก้าวร้าวโดยตรงอย่างไม่จำเป็น

ทำให้ประเทศสมาชิกนาโต้ ปัจจุบันก็มีความคิดแตกต่าง คือประเทศเยอรมันจะไม่ร่วมกับนาโต้ในกรณียูเครน แต่จะส่งยุทธภัณฑ์ทางการแพทย์สนับสนุนให้เท่านั้น
และประเทศโครเอเทียก็ประกาศไม่ร่วมรบหากยูเครนเกิดสงครามกับรัสเซีย

เยอรมันเป็นประเทศแรกที่มีท่าทีไม่สนับสนุนยูเครนโดยไม่อนุญาตให้เที่ยวบินของอังกฤษที่จัดส่งอาวุธต่อต้านรถถัง NLAW ให้กับยูเครนผ่านน่านฟ้า
แต่นี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่เยอรมันไม่สนับสนุนยูเครนเพราะในปีพ.ศ.2551 เยอรมันและฝรั่งเศสก็เป็นประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วนองค์การนาโต้ของยูเครนและจอร์เจีย

ครั้งนี้ทางการกรุงเบอร์ลินให้เหตุผลว่า การสนับสนุนให้ยูเครนซื้ออาวุธดังกล่าวอาจทำให้รัสเซียรู้สึกว่าเป็นการยั่วยุ และอาจทำให้ความตึงเครียดบริเวณพรมแดนยูเครน-รัสเซีย รุนแรงขึ้นได้ แต่เยอรมันก็มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ถึงต้องออกตัวไว้ก่อน

ผลประโยชน์ทับซ้อนที่ว่าก็คือ โครงการท่อส่งแก็ส Nord Stream2 

รัสเซียหันมาใช้ทรัพยากรเป็นเครื่องมือสร้างการต่อรอง

เดือนกันยายนปีที่แล้ว บริษัทพลังงาน Gazprom ของรัสเซียกล่าวว่า ได้เสร็จสิ้นการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติ Nord Stream 2 จากรัสเซียไปยังเยอรมนีแล้ว
การดำเนินการส่งผ่านรอดใต้ทะเลบอลติกจะเพิ่มการส่งออกก๊าซของมอสโกเป็นสองเท่าไปยังเยอรมนี และหลีกเลี่ยงยูเครนซึ่งต้องอาศัยท่อส่งที่มีอยู่เพื่อหารายได้ 

ระบบท่อส่งก๊าซยังคงต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานกำกับดูแลของเยอรมนี ซึ่งเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลานานถึงสี่เดือน(ปัจจุบันก็ยังไม่ได้เปิดดำเนินการ)
ด้านสหรัฐฯ เกรงว่าท่อส่งก๊าซดังกล่าวจะทำให้ยุโรปต้องพึ่งพารัสเซียมากขึ้น 


การสูญเสียค่าธรรมเนียมการขนส่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยูเครนอย่างหนัก ประธานาธิบดียูเครนต่อต้าน Nord Stream 2 ซึ่ง Volodymyr Zelensky อธิบายว่าเป็น "อาวุธทางการเมืองที่เป็นอันตราย" 

รัสเซียประกาศขู่ว่าจะปิดก๊าซท่อ Nord Stream(1) ที่ส่งมายังยุโรปหากเกิดสงครามยูเครน
ส่วนปธน.ไบเดนของสหรัฐฯ ก็กล่าวว่าจะไม่ให้ยุโรปต้องขาดแคลนพลังงาน ด้วยการหาแหล่งพลังงานจากที่อื่นๆ มาสนับสนุน

ทำให้ประเทศสมาชิกองค์การนาโต้กำลังถกเถียงกันว่าควรสนับสนุนด้านอาวุธแก่ยูเครนหรือไม่ รวมทั้งมาตรการลงโทษใดที่ควรนำมาใช้หากรัสเซียบุกรุกยูเครน

ยูเครนก็หมายจะบุกดอนบาสโดยคาดหวังการสนับสนุนจากมิตรประเทศอย่างสหรัฐฯ และพันธมิตรกลุ่มประเทศนาโต้ แต่ความแตกแยกของสมาชิกนาโต้ก็เป็นปัจจัยอันจะทำให้ยูเครนต้องยับยั้งชั่งใจในการโจมตีดอนบาส


บทวิเคราะห์ 

หากพิจารณาสาเหตุของวิกฤตระหว่างยูเครนและรัสเซียในครั้งนี้จริงๆ แล้ว ต้นเหตุเกิดจากระบบท่อส่งแก็ส Nord Stream2 ที่ทำให้ยูเครนขาดรายได้ค่าธรรมเนียมการขนส่งจากท่อส่งแก็สบนภาคพื้น

ดังนั้นยูเครนจึงสร้างกระแสบุกดอนบาสเพื่อต่อรองรัสเซีย ทางรัสเซียย่อมไม่ยอมอยู่แล้วจึงยกพลประชิดชายแดนเพื่อแสดงแสนยานุภาพ ยูเครนเลยต้องดึงสหรัฐฯ และนาโต้เข้ามาสนับสนุนคานกำลังรัสเซีย

แต่เหตุการณ์ของวิกฤตนี้อาจจะไม่รุนแรงอย่างที่โลกคาดคิดก็ได้เนื่องจากการกระทำของนายกเทศมนตรีเมืองเคียฟแสดงถึงนัยบางสิ่งบางอย่าง
ทั้งนี้เพราะนายกเทศมนตรีออกมาตำหนิสหรัฐฯ ที่สร้างความตื่นตระหนกด้วยการสั่งให้ครอบครัวของเจ้าหน้าที่การทูตในยูเครนอพยพกลับ ผลพลอยคือญี่ปุ่นประกาศพิจารณาก็อพยพเช่นเดียวกับสหรัฐฯ

สิ่งที่ตามมาคือ ผู้คนและบริษัทต่างๆ ถอนเงินออกจากธนาคาร ทำให้สถานการณ์ปั่นป่วน

นัยนี้แสดงให้เห็นถึงการขัดแย้งต่อภาพสถานการณ์ในสายตาคนในและภาพสถานการณ์ในสายตาโลก

แต่หากไม่มีสงครามเกิดขึ้น สิ่งที่ยูเครนได้ไปแล้วคืออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะไปตกอยู่ในตลาดมืดหรือไม่ต้องติดตามกันไป

(อ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่ J4a94nctguharuyfSpo 23s2 at 6:2ri8 e0P9M2 

4)


ป.ล. บทความนี้เริ่มเขียนเมื่อ 2-3 วันก่อน ตอนนี้ก็เลยไม่ต้องวิเคราะห์อะไรต่อไปอีกเพราะผลลัพธ์ออกมาแล้ว

วันนี้มีข่าวออกมาแล้วว่า "นายวลาดิมีร์ ซีเลียนสกี ผู้นำยูเครน ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศว่า บรรดาสื่อและผู้นำตะวันตกได้สร้างความเข้าใจอย่างผิดๆว่า ยูเครนกำลังจะเกิดสงครามในวันพรุ่งนี้ ซึ่งกระทบความมั่นคงต่อเศรษฐกิจของยูเครน ทำให้ยูเครนจำเป็นต้องใช้เงินมากถึง 4-5 พันล้านดอลลาร์ในการแก้ไข"

แต่ช่วงก่อนนี้ เขาเป็นคนสร้างกระแสเรียกร้องให้นาโต้ส่งอาวุธสนับสนุนให้ยูเครนอยู่เลย 


สรุปคือ มวยล้มต้มคนดู 😄😃😂

           แถมไปกระตุกหนวดหมี ชนิดทำให้ปูตินหมดความอดกลั่น ทำให้ยูเครนเปลี่ยนสถานะจากฝ่ายรุก(จะไปตีดอนบาส)กลับมาเป็นฝ่ายรับชนิดเรียกว่ายิ่งกว่าหลังชนกำแพงคือกำแพงพิงอยู่จะทะลุอยู่แล้ว

No comments:

Post a Comment