เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Sunday, January 21, 2024

FrankenSAM ระบบป้องกันภัยทางอากาศลูกผสมแบบไฮบริด

ต้นปีเปิดศักราชใหม่ก็มีข่าวใหญ่ของสงครามยูเครน นั่นคือรัสเซียสูญเสียเครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้าและการควบคุมทางอากาศ A-50 และเครื่องบินสั่งการทางอากาศ IL-22M


ที่เป็นข่าวใหญ่ก็เพราะนอกเหนือจากการที่เครื่องบินทั้งสองแบบมีคุณค่าทางยุทธการสูงแล้ว เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้าและการควบคุมทางอากาศ A-50 ยังมีรา่คาแพงมาก อีกทั้งมีทั้งหมดแค่ 9 ลำ นับเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงของรัสเซีย (สื่อ The Forbes รายงานว่าเครื่องบิน A-50 ของรัสเซียอาจเหลือเครื่องบินปฏิบัติการได้เพียงสองลำเท่านั้น มีรายงานว่า A-50 อีกหกลำต้องการการอัพเกรดและยกเครื่องใหม่)


โดยในขณะนี้ก็ยังไม่มีการเปิดเผยความจริงว่าเครื่องบินทั้งสองลำถูกยิงด้วยระบบอาวุธใด ทางฝ่ายยูเครนเป็นฝ่ายออกแถลงการณ์ก่อนว่าได้ยิงเครื่องบินฯ ทั้งสองลำตก ช่วงแรกรัสเซียก็ยังไม่ได้ออกมายอมรับการสูญเสีย แต่ต่อมาก็แจ้งว่าเครื่องบินฯ ถูกยิงตกโดยฝ่ายรัสเซียเอง

นักวิเคราะห์ต่างก็คาดเดาว่าเป็นผลงานของระบบจรวด Patriot เพราะเชื่อว่ารัสเซียยอมที่จะออกตัวว่ายิงฝ่ายเดียวกันเองตก มากกว่าจะยอมรับว่ายูเครนยิงตก
มาถึงจุดนี้ผู้อ่านหลายท่านคงจะสงสัยว่าเครื่องบินเตือนภัย A-50 ไปเกี่ยวพันกับบทความระบบต่อต้านอากาศยานวันนี้อย่างไร คำตอบคือจากประเด็นว่าระบบอาวุธใดเป็นระบบที่สอยเครื่องบิน A-50 ตก เมื่อไปขุดค้นหาข้อมูลประเด็นนี้เพิ่มเติม ทำให้ไปพบกับ ระบบระบบป้องกันภัยทางอากาศลูกผสมแบบไฮบริด FrankenSAM และระบบนี้อาจคือระบบฯ ที่สอยบ. A-50 ของรัสเซีย

มาเข้าเรื่องกันเลย

ระบบป้องกันภัยทางอากาศแฟรงเกนแซมนี้ เป็นการผสมผสานระหว่างจรวดของตะวันตกเข้ากับเครื่องยิงหรือเรดาร์ยุคโซเวียตที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ซึ่งกองกำลังยูเครนมีอยู่ในมือ

คำว่า FrankenSAM เป็นการผสมคำระหว่าง "สัตว์ประหลาดของแฟรงเกนสไตน์" และ "ตัวย่อของระบบจรวดต่อต้านอากาศยานแบบพื้นสู่อากาศ" ได้รับการรายงานครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2023 ถึงการส่งมอบระบบอาวุธนี้ให้กับยูเครน

สื่อ Top War รายงานว่าในช่วงกลางเดือนกันยายน กลุ่มแฮ็กเกอร์ Beregini ในยูเครน เผยแพร่เอกสารที่น่าสนใจจาก NATO Contact Group ซึ่งเตรียมไว้สำหรับการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 18 กรกฎาคม จากเอกสารดังกล่าว การมีอยู่ของโปรแกรม FrankenSAM (“Frankenstein SAM”) ทำให้กลายเป็นที่รู้จักเป็นครั้งแรก

เป้าหมายคือการสร้างการดัดแปลงใหม่ของระบบป้องกันทางอากาศ Buk ให้สามารถใช้ร่วมกับจรวด RIM-7 Sea Sparrow การดำเนินการซึ่งต้องใช้เวลาตั้งแต่ 6 ถึง 30 เดือน โดยมีการกล่าวถึงว่าสหรัฐอเมริกากำลังพัฒนาอยู่ และเนเธอร์แลนด์จะเป็นผู้จัดหาจรวด

สื่อ Forbes รายงานเรื่องการพัฒนาสนธิจรวดตะวันตกกับระบบอาวุธรัสเซียว่า ย้อนกลับไปเมื่อปี 2012 บริษัทโปแลนด์แห่งหนึ่งกำลังเสนอสิ่งที่เทียบเท่ากับ Buk-Sea Sparrow ให้กับผู้ซื้อจากต่างประเทศ

บริษัท WZU ผู้ผลิตอาวุธของโปแลนด์จับคู่เครื่องยิง Kub ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของระบบ Buk กับจรวด Sea Sparrow รุ่นล่าสุด นั่นคือ Evolved Sea Sparrow Missile
แต่ไม่มีเหตุผลใดที่การปรับเปลี่ยนการควบคุมการยิงแบบเดียวกันนั้นจะไม่สามารถใช้ได้กับ Sea Sparrow รุ่นเก่าเช่นกัน

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น บริษัท Retia ของเช็กได้สร้าง Kub ซึ่งยิงขีปนาวุธ Aspide เพื่อการทดสอบกองทัพเช็ก The Aspide คือคำตอบของอิตาลีสำหรับ Sea Sparrow

ในบริบทของโปรแกรม FrankenSAM สิ่งแรกที่ถูกกล่าวถึงในแหล่งข้อมูลทั่วไปคือเป็น ระบบป้องกันทางอากาศ Buk ของโซเวียตและจรวด RIM-7 Sea Sparrow ของอเมริกา โครงการนี้เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมเครื่องยิงจรวดอัตตาจรด้วยอุปกรณ์ใหม่สำหรับติดตั้งตู้ขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์สามตู้พร้อมจรวดนำเข้า นอกจากนี้มีการติดตั้งวิทยุใหม่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์เพื่อให้แน่ใจว่าระบบสามารถทำงานร่วมกัน
ภาพตัดต่อ ระบบ Buk กับระบบ skyguard-Sparrow

มีรายงานการพัฒนา "ระบบป้องกันภัยทางอากาศแฟรงเกนแซม" อีกสองระบบด้วยจรวด AIM-9M Side Winder และจรวด MIM-23 HAWK แต่ยังไม่ทราบรูปลักษณ์ภายนอก บางทีในกรณีนี้ ฐานจากระบบป้องกันภัยทางอากาศ Buk แบบเก่าก็อาจถูกนำมาใช้เช่นกัน โดยได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยเพื่อรับและใช้จรวดจากต่างประเทศ

อีกโครงการหนึ่งนำเสนอแนวทางที่แตกต่างในการสร้างที่ซับซ้อน เรากำลังพูดถึงความทันสมัยของระบบป้องกันภัยทางอากาศ American Patriot มีการเสนอให้คงเครื่องยิงและขีปนาวุธมาตรฐานไว้ และแทนที่จะใช้เรดาร์เดิมของสหรัฐ ให้เปลี่ยนไปใช้เรดาร์ของยูเครน เช่น เรดาร์ 79K6 Pelican หรือเรดาร์อื่นๆ ที่มีความเหมาะสม โดยสื่อ The Warzone รายงานว่าระบบแฟรงเกนแซม Patriot อาจใช้กับเรดาร์ของระบบจรวด S-300

เห็นได้ชัดว่าการพัฒนาโครงการ FrankenSAM เริ่มต้นภายในเดือนแรกของปี 2566 จนถึงปัจจุบัน การออกแบบตัวอย่างดังกล่าวหลายรายการและแม้แต่นำไปทดสอบยังเป็นไปได้อีกด้วย

เป็นที่ทราบจากแหล่งข่าวของยูเครนว่าหน่วยป้องกันภัยทางอากาศได้รับระบบ Buk พร้อมจรวด AIM-9M Sidewinder แล้ว โดยรวมแล้วมีการวางแผนที่จะจัดหาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจำนวน 17 ระบบ การปรับปรุงอุปกรณ์ให้ทันสมัยดำเนินการโดยกองกำลังอเมริกัน ที่มีกำลังการผลิตสูงสุดห้าระบบต่อเดือน

M48Chaparral ติดตั้งจรวด AIM-9D Sidewinder 

ระบบปฏิบัติการที่คล้ายกันด้วยจรวด MIM-23 HAWK ก็เริ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แผนการผลิตและการใช้งานยังไม่ทราบแน่ชัด

ตามแหล่งข่าวต่างๆ “ระบบป้องกันภัยทางอากาศแฟรงเกนแซม” พร้อมจรวด AIM-9M Sidewinder กำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบเท่านั้น  ส่วนระบบจรวด Patriot เวอร์ชันดัดแปลงเพิ่งได้รับการทดสอบเช่นกัน ในเดือนตุลาคมการยิงจรวดครั้งแรกเกิดขึ้นต่อเป้าหมายไร้คนขับที่เรดาร์ของยูเครนตรวจพบ
เรื่องราวของระบบแฟรงเกนแซม Patriot มาถึงจุดที่ว่าในเดือนตุลาคมปีที่แล้วระบบมีการยิงโดรนตกเป็นครั้งแรก ซึ่งระบบอาจจะยังอยู่ในช่วงทดสอบ แต่ก็ประสบความสำเร็จแล้วสามารถทำแต้มได้ในการยิงครั้งแรก
ส่วนระบบแฟรงเกนแซม(อื่น)จำนวนห้าระบบก็ส่งถึงมือยูเครนแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคมเช่นกันตามรายงานของสื่อ The New York Times (โดยมีนักวิเคราะห์คาดการว่าเป็นระบบแฟรงเกนแซม RIM-7 Sea Sparrow)
ยาน Kub กับจรวด Aspide ของ Retia ปี 2012

ระบบก็พิสูจน์ตัวเรียบร้อยในการป้องกันยูเครนจากการถล่มด้วยจรวดและโดรนพิฆาตของรัสเซียในวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา โดยระบบมาสามารถสกัดโดรนพิฆาตชาเฮด Shahed-136 ของรัสเซียตกจากระยะ 9 กม.ตามรายงานของสื่อ EUROMAIDAN 

สำหรับเรื่องเครื่องบิน A-50 นั้นสื่อ The Forbes คาดการว่าเป็นฝีมือของระบบแฟรงเกนแซม Patriot อันไปสอดคล้องกับสื่อ The Warzone ที่คาดว่าระบบจรวดแพทริออตอาจใช้ร่วมกับเรดาร์ของระบบ S-300 ตามเรื่องราวที่จะนำเสนอต่อไป

ระบบแฟรงเกนแซม Patriot

The Forbes ได้นำเสนอแนวคิดของนักวิเคราะห์ ทอม คูเปอร์ (ผู้เขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับเครื่องบินรบโซเวียตและรัสเซีย และยังเรียบเรียงจดหมายข่าวยอดนิยมที่วิเคราะห์ความขัดแย้งของโลก) มีทฤษฎี(สมคบคิด)อันหนึ่ง คือ

ทีมเรดาร์และจรวดของยูเครนล่อให้รัสเซียติดกับดัก

หากทฤษฎีของคูเปอร์ถูกต้อง ยูเครนก็วางกับดักในวันเสาร์ เมื่อเครื่องบินไอพ่นของกองทัพอากาศยูเครน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดซูคอย ซู-24 ได้โจมตีฐานทัพอากาศของรัสเซียทั่วคาบสมุทรไครเมียที่รัสเซียยึดครอง “ทำลายเรดาร์จำนวนหนึ่ง”

การโจมตีเมื่อวันเสาร์ ถือเป็นปฏิบัติการครั้งล่าสุดในการบุกโจมตีแนวป้องกันของรัสเซียในไครเมียโดยยูเครน ระงับการครอบคลุมเรดาร์ภาคพื้นดินของรัสเซีย ส่งผลให้ระบบจรวดบางส่วนที่รอดหลงเหลืออยู่บนคาบสมุทรตาบอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตอนเหนือ ซึ่งภูมิประเทศสามารถบดบังเครื่องบิน โดรน และขีปนาวุธของยูเครนที่กำลังเข้ามาได้

ดังนั้นผู้บัญชาการรัสเซียจึงทำสิ่งที่ควรกระทำแต่โง่เขลา คือสั่งให้เครื่องบินเรดาร์ A-50U ที่เหลืออยู่ลำหนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะบินไกลไปทางทิศใต้เหนือทะเลอะซอฟ ให้เคลื่อนตัวออกไปทางเหนือเพื่อขยายขอบเขตเรดาร์ให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแหลมไครเมีย เรดาร์แบบหมุนของ A-50 สามารถมองเห็นเป้าหมายขนาดเครื่องบินที่อยู่ห่างออกไปเกือบ 200 ไมล์

เครื่องบินใบพัดสี่เครื่องยนต์บัญชาการทางอากาศอิลยูชิน IL-22M พร้อมลูกเรือประมาณ 10 คนบนเรือเป็นเครื่องรีเลย์สัญญาณวิทยุให้กับลูกเรือของเครื่องบิน A-50 โดยจัดการการสื่อสารและการถ่ายโอนข้อมูลที่ A-50 ขาดไป

ภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลเรดาร์ดูเหมือนจะวางตำแหน่ง A-50
เส้นทางบินเหนือสุดของเมือง Berdyansk ที่รัสเซียยึดครอง ห่างจากแนวหน้าเพียง 75 ไมล์ นั่นอยู่ภายในระยะของจรวด Patriot หนึ่งระบบจากสามระบบในคลังแสงที่กองทัพอากาศยูเครนได้ประจำการตามแนวรบด้านใต้
บริเวณที่คาดว่าบ. A-50 ตก
เคล็ดลับคือเพื่อให้ชาวยูเครนกำหนดเป้าหมาย A-50 และ IL-22M โดยไม่ให้ลูกเรือรัสเซียทราบล่วงหน้ามากเกินไปเกี่ยวกับการโจมตี—และโดยไม่เสียสละระบบ Patriot อันล้ำค่าของพวกเขา

“ทั้งหมดที่ยูเครนต้องทำคือการปรับใช้ระบบ SAM ที่เหมาะสมอย่างลับๆ เพื่อกำหนดเป้าหมายเครื่องบินสองลำจากระยะไกล” คูเปอร์เขียน “บางทีนี่อาจเป็นหนึ่งในระบบ S-300 SAM ของ [กองทัพอากาศ] บางทีหนึ่งในระบบ PAC-2/3 SAM ของ [กองทัพอากาศ]”

“เป็นไปได้เช่นกันที่ทางยูเครนได้ติดตั้งเครื่องยิงและเรดาร์ รวมถึงอุปกรณ์จ่ายไฟ
จากหนึ่งในสามระบบ PAC-2/3 ของพวกเขา ร่วมกับเรดาร์ S-300 หนึ่งในนั้น”

เพราะมีหลักฐานบางประการเกี่ยวกับการรวมทีมของ S-300-Patriot โดยมีรายงานว่าเครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิด Sukhoi Su-34 ของรัสเซียตรวจพบระบบ S-300 ของยูเครนที่ไม่รู้จักก่อนหน้านี้บนเรดาร์ของตนในช่วงไม่กี่นาทีก่อนที่ A-50 และ Il-22 จะถูกโจมตี

หากระบบ S-300 เปิดทำการครั้งแรก มันจะต้องถ่ายทอดเส้นทางของเป้าหมายไปยังระบบจรวดแพทริออตที่ซ่อนอยู่ในบริเวณใกล้เคียง “จรวดแพทริออตเพิ่มพลังเรดาร์เพียงไม่กี่วินาที ซึ่งนานพอที่จะได้รับข้อมูลการกำหนดเป้าหมายของตัวเอง แต่สั้นเกินไปสำหรับรัสเซียที่จะตรวจจับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน่าเชื่อถือและประเมินว่าเป็นภัยคุกคาม” คูเปอร์คาดการณ์ “จากนั้นยูเครนก็เริ่มยิงขีปนาวุธ”

นาทีต่อมา จรวดก็ระเบิดทำลาย A-50 และสร้างความเสียหายให้กับ Il-22 “เมื่อการยิงสิ้นสุดลงแล้ว” คูเปอร์เขียน “ลูกเรือ S-300 และ PAC-2/3 ของยูเครนปิดระบบทันที และเริ่มเก็บของพวกเขาเพื่อย้ายตัวออก และหลีกเลี่ยงการตอบโต้ของรัสเซียที่อาจเกิดขึ้นได้”
 
ดังนั้นเป็นไปได้ว่าระบบจรวดแพรทริออตจะไปร่วมกับเรดาร์ของระบบ S-300 ทั้งนี้เพราะจุดมุ่งหมายของโครงการ FrankenSAM ก็คือการใช้ลูกจรวดของฝ่ายตะวันตกร่วมกับระบบเรดาร์ที่ยูเครนมีอยู่ในคลัง 
อันจะทำให้การขาดแคลนลูกจรวดของยูเครนหมดไป อีกทั้งฝ่ายตะวันตกก็ขนส่งได้ง่ายและจำนวนมากขึ้นเพราะส่งให้แค่ลูกจรวด

และระบบแฟรงเกนแซม Patriot นี่แหละที่อาจเป็นอาวุธที่ยิงเครื่องบินเตือนภัย A-50 ตก


ปีใหม่นี้ ก็คงจบบทความแรกของปีพ.ศ.2567 ไว้แต่เพียงแค่นี้ ขอขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่าน และขอให้ทุกท่านประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์ตลอดปีใหม่นี้

No comments:

Post a Comment