เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Saturday, June 25, 2016

Buk-M3 ระบบต่อต้านอากาศยานรุ่นใหม่ของรัสเซีย

เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ..2559 ผู้ผลิตระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซีย Almaz-Antey ประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบใหม่ Buk-M3 โดยการทดสอบมีขึ้นที่สนาม Kapustin Yar ใกล้เมือง Astrakhan ซึ่งอยู่ทางใต้ของรัสเซีย ซึ่งในการทดสอบได้ใช้เป้าจรวด Pensne(Pince-nez) เป็นเป้าหมาย
เป้าจรวด Pensne(Pince-nez)
ระบบ 9K317M “Buk-M3” เป็นระบบจรวดต่อต้านอากาศยานระยะกลางรุ่นใหม่ล่าสุดของรัสเซียที่พัฒนาโดย บ. Almaz Antey คาดว่าจะเข้าประจำการในในปีนี้ (..2559)

9K317M "Buk-M3"
ระบบต่อต้านอากาศยาน Buk-M3 เป็นการปรับปรุงระบบฮาร์ดแวร์ใหม่ทั้งหมด ระบบอิเลคโทรนิคที่ก้าวหน้ามากขึ้น บรรทุกลูกจรวดรุ่นใหม่มากขึ้นเป็น 6 ลูก เพิ่มขีดความสามารถต่อต้านอากาศยานและจรวด รวมไปถึงเป้าหมายภาคพื้นทั้งบนบกและในน้ำ นอกจากนี้ยังมีระบบต่อต้านการก่อกวนทางอิเลคโทรนิค

เรด้าห์รุ่นใหม่ของ Buk-M3 สามารถตรวจจับอากาศยานที่บินต่ำได้ถึงระดับความสูง 5 เมตร เพิ่มระยะยิงไกลสุดเป็น 70 กิโลเมตร

ระบบตรวจจับเป้าหมายด้วยความร้อนทำให้ Buk-M3 สามารถปฏิบัติการได้ในทุกสภาพกาลและอากาศ สามารถต่อตีเป้าหมายได้ถึง 36 เป้า

การจัดหน่วยยิง Buk-M3 ประกอบไปด้วยรถยิงจรวดติดเรด้าห์ TELAR (Transporter Erector LAuncher and Radar) 9A317M จำนวน 2 คันและรถยิงไม่มีเรด้าห์ TEL (Transporter Erector Launcher) 9A316M จำนวน 1 คัน

รถ TELAR 9A317M เป็นยานสายพานรุ่น GM-569 ใช้เครื่องยนต์ดีเซล V-46 ให้กำลัง 710 แรงม้าที่รอบสูงสุด 2,000 รอบต่อนาที ทำความเร็วได้สูงสุด 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะปฏิบัติการ 500 กิโลเมตร

บรรทุกลูกจรวดหกลูกบนฐานที่หมุนได้รอบ 360 องศา โดยมีเรด้าห์ควบคุมการยิงที่ติดตั้งอยู่ด้านหน้าบนป้อมของฐานยิง

รถ TEL 9A316M เป็นยานสายพานรุ่นเดียวกัน แต่ติดตั้งฐานบรรทุกลูกจรวดแบบหกลูกจำนวนสองฐาน โดยใช้ข้อมูลการยิงจากรถ TELAR 9A317M
9A316M
ลูกจรวดรุ่นใหม่ 9R31M รุ่นใหม่ (กระทัดรัดกว่าลูกจรวด 9M38 ที่ใช้ใน Buk-M1 และ Buk-M2) ทำให้บรรจุได้มากกว่า และมีระยะยิงไกลกว่าคือ 2.5 – 70 ..(จากเดิมที่มีระยะยิงไกลสุดแค่ 35 กิโลเมตร)
มีความเร็ว 
3,000 เมตรต่อวินาที เพดานยิง 15 เมตร – 35 กิโลเมตร ติดตั้งหัวรบระเบิดแรงสูงแบบดาวกระจาย


ในส่วนของลูกจรวดของ Buk-M3 ที่ว่าเป็น 9R31M นั้น ลองสืบค้นในอินเตอร์เน็ทแล้วไม่สามารถหารายละเอียดได้เลย แต่กลับมีคลิ๊ปในยูทูปปีพ..2558 ชื่อ Buk-M3 ยิงจรวด 9M317ME TPK MS-487

จรวด 9M317ME
ลองมาดูกันว่าจรวดที่ติดตั้งใน Buk ต่างๆ มีรุ่นใดบ้าง จากตารางข้างล่างกันก่อน
คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยายใหญ่
จะเห็นว่า จรวด 9M38, 9M38M1, 9M38M2 รวมทั้ง 9M317 นั้นมีติดตั้งอยู่ใน Buk รุ่นต่างๆ ก่อนหน้านี้แล้ว ส่วน 9M317ME ก็ติดตั้งใน Shtil-1ซึ่งเป็นระบบที่อยู่บนเรือ จรวด 9M317ME ออกมาให้เห็นกันตั้งแต่ปีพ..2547 แถมระยะยิงไกลสุดก็แค่ 50 กิโลเมตร ความเร็วเฉลี่ยก็แค่ 1,543.5 เมตรต่อวินาที

คุณสมบัติต่างๆ ของจรวด 9M317ME นั้นต่ำกว่าและไม่ได้ตามสเปคของจรวดที่ติดตั้งบน Buk-M3 เลย ส่วนในเว็ปไซด์ของ military today ให้ข้อมูลว่าลูกจรวดเป็นรุ่น 9M317M 

เทียบลูกจรวดรุ่นต่างๆ
ในวิกิฯ ก็ให้ข้อมูลว่ามีจรวดสองรุ่นกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาคือ
  • 9M317M / 9M317ME
  • 9M317A / 9M317MAE (รุ่นนี้เป็นจรวดแบบ ARH – active radar homing)
จรวดที่กำลังพัฒนาทั้งสองรุ่นนั้น คาดว่าแต่ละรุ่นจะแบ่งเป็นรุ่นพื้นบก และรุ่นพื้นน้ำ เพราะจรวด 9M317ME ได้พัฒนาเสร็จสิ้นไปแล้วและนำไปใช้เป็นระบบ Shtil-1 ด้วยเหตุนี้จรวดรุ่น 9M317M ก็อาจจะเป็นรุนที่ใช้บนพื้นบก และการที่ Buk-M3 ทดสอบยิงโดยใช้จรวด 9M317ME ในปีพ..2558 อาจเป็นเพราะจรวด 9M317M ยังพัฒนาไม่แล้วเสร็จก็เป็นได้
Shtil-1
อย่างไรก็ตาม ไมว่าลูกจรวดที่ใช้ในระบบ Buk-M3 จะเป็น 9R31M หรือ 9M317M หากมีข้อมูลและรูปภาพปล่อยออกมาเพิ่มเติมในอนาคต ก็จะนำมาอัพเดทเพิ่มเติมในภายหลังให้อีก

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่าน….monsoon

No comments:

Post a Comment