สืบเนื่องจากข่าวแรกที่มีออกมาว่ารัสเซียเลื่อนการผลิตเครื่องบินโครงการ
Su-57(PAK-FA)
ออกไป
และต่อมาก็เจอข่าวอิีกชิ้นคือ อินเดียจะถอนตัวจากโครงการ
PAK-FA
เพราะไม่พอใจในประสิทธิภาพของเครื่องบิน
ส่วนทางรัสเซียก็บอกว่าอินเดียไม่ชำระเงินร่วมลงทุนจำนวน
6.7
พันล้านดอลลาร์
PAK-FA / FGFA / T-50 / Su-57 |
อันดับแรกก็คงต้องปูพื้นฐานโครงการ
PAK-FA
ให้กับคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารในเรื่องนี้ได้มีความเข้าใจกันเสียก่อน
เพื่อจะได้ไม่สับสนในชื่อเรียกต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง คือ T-50,
Su-57 และ
FGFA
โครงการนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างรัสเซียและอินเดียในการพัฒนาเครื่องบินยุคที่ห้า
เกิดขึ้นหลังจากรัสเซียและอินเดียประสบความสำเร็จในการร่วมมือกันพัฒนาจรวด
BrahMos
ในต้นปีพ.ศ.2550(2007)
และในช่วงปลายปีเดียวกันบริษัท
Sukhoi
ของรัสเซียก็ประกาศว่าจะร่วมมือกับอินเดียพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้า
ในสัดส่วนห้าสิบต่อห้าสิบ
ซึ่งเครื่องบินของรัสเซียจะใช้ชื่อเรียกขานว่า
PAK-FA
และเครื่องบินของอินเดียจะมีชื่อเรียกขานว่า
FGFA
จรวด Brahmos ที่อินเดียร่วมมือกับรัสเซียพัฒนา |
ช่วงแรกทั้งสองประเทศตกลงจ่ายค่าออกแบบประเทศละ
$295
ล้านดอลลาร์
ต่อมาหลังจากรัสเซียสร้างเครื่องบินต้นแบบ
PAK-FA
ขึ้นมาแล้วก็เปลี่ยนขึ้นเครื่องบินเป็น
T-50
และหลังจากทดสอบบินจนเป็นที่พอใจ(T-50-11
เลขเครื่อง
511)ก็เปลี่ยนชือเครื่องบินอีกครั้งเป็น
Su-57
ซึ่งการเปลี่ยนชื่อเป็น
Su-57
นั้นก็หมายความว่าเครื่องบินทดสอบเสร็จสิ้นแล้วพร้อมจะเข้าสู่สายการผลิต
ณ
จุดนี้ทางฝ่ายรัสเซียก็ทวงถามอินเดียที่ไม่ยอมลงนามในสัญญาขั้นสุดท้ายและไม่ยอมชำระเงินร่วมลงทุนจำนวน6.7
พันล้านดอลาร์
(ถ้านับรวมค่าออกแบบ
$295
ล้านดอลลาร์ที่อินเดียจ่ายไปแล้ว
ก็จะรวมได้เป็นราวเจ็ดพันล้านดอลลาร์)
เหตุการณ์ไม่ยอมลงนามในสัญญาขั้นสุดท้ายกับรัสเซีย ทำให้ย้อนกลับไปคิดถึงกรณีเครื่องบิน Rafale ของฝรั่งเศส ในโครงการ MRCA – Medium Multi-Role Combat Aircraft ที่ป่านนี้ก็ยังไม่ลงนามเหมือนกัน
เครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้า
FGFA
ของอินเดียกำหนดเดิมคือจะเข้าประจำการในปีพ.ศ.2558(2015)
แต่ในปีพ.ศ.2555(2012)
รัฐมนตรีกลาโหมของอินเดียประกาศความล่าช้าของโครงการออกไปสองปีเป็นปีพ.ศ.2560(2017)
แต่รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาแรงงานได้แถลงต่อรัฐสภาว่าเครื่องบิน
PAK-FA
จะผ่านการรับรองฯ
และเข้าสู่สายการผลิตในปีพ.ศ.2562(2019)
เพราะเครื่องบินต้องปรับปรุงจากรุ่นของรัสเซียให้ตรงตามความต้องการของอินเดีย(ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาราวสองปี)
โดยเครื่องบิน
FGFA
ของอินเดียนั้นต้องแก้ไขเครื่องบิน
PAK-FA
จำนวนสี่สิบรายการ
รวมทั้งเครื่องยนต์
อัตราการบรรทุกอาวุธ และพิสัยบิน
ความจริงจะเป็นอย่างไร
เวลาจะเป็นคนเปิดเผยออกมาเอง
สำหรับเราคงจะมาพูดคุยกันต่อว่าหากอินเดียต้องการเครื่องบินยุคที่ห้าจริงๆ
จะทำอย่างไร
ถ้าอินเดียถอนตัวจากโครงการ
Su-57
และหากเกิดต้องการเครื่องบินยุคที่ห้า
เข้าประจำการจะหาเครื่องบินจากที่ไหน
J20 ของจีน |
แผนแรกคือมองหาตัวเลือกเครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้าที่เหลือ
ซึ่งก็มี
J-20
ของจีน
แต่อินเดียคงไม่เลือกซื้อแน่นอน
เพราะหากอินเดียรบกับจีน
จะเอาอะไหล่ที่ไหนมาซ่อมบำรุง
F-35 ของสหรัฐฯ |
ตัวเลือกสุดท้ายก็คงไม่พ้นเครื่องบิน
F-35
ของสหรัฐฯ
เพราะโครงการฯ
อื่นอย่างบ.
ATD-X ของญี่ปุน
บ.TFX
ของตุรกี
และบ.
KF-X ของเกาหลีใต้ต่างก็กำลังพัฒนากันอยู่
ATD-X ของญ๊่ปุ่น |
แต่อินเดียก็มีแผนสอง
สำรองไว้แล้วนั่นคือโครงการ
Advanced
Medium Combat Aircraft – AMCA ของอินเดียเอง
ที่มีกำหนดบินครั้งแรกของเครืองบินต้นแบบในราวปีพ.ศ.2568(2025)
และด้วยโครงการ
AMCA
ของอินเดียนี้เอง
ทำให้คาดเดากันว่าการที่อินเดียตกลงร่วมมือกับรัสเซียในโครงการ
PAK-FA
ก็เพือ่ต้องการเทคโนโลยีเอามาช่วยในการสร้าง
AMCA
เพราะเครื่องบินลำก่อนหน้านี้ที่อินเดียสร้างเอง
คือ Tejas
ใช้เวลาราวสามสิบปีในการพัฒนา
แถมกองทัพเรืออินเดียยกเลิกแผนจัดหาเข้าประจำการ
Tejas ต้นแบบของ AMCA |
ดังนั้นเงื่อนไขหนึ่งของอินเดียยื่นต่อรัสเซียในการลงนามในสัญญาขั้นสุดท้ายและชำระเงินร่วมลงทุนในโครงการ
PAK-FA
คือรัสเซียต้องให้
source
code รวมถืงการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบแก่อินเดีย
และช่วยพัฒนาเครื่องบิน
AMCA
ทั้งนี้เพราะขนาดเครื่องบินรบยุคที่สามอินเดียยังเวลาพัฒนาถึงสามสิบปี
แล้วเครื่องบินยุคที่ห้าจะใข้เวลากี่ปีในการพัฒนาหากปราศจากการถ่ายทอดเทคโนโลยี
แต่ในระหว่างอินเดียร่วมโครงการเครื่องบินยุคที่ห้า
PAK-FA
กับรััสเซีย
อินเดียก็ดำเนินโครงการ
AMCA
ควบคุมไปด้วย
ผลพ่วงที่ได้เทคโนโยลีจากโครงการ
PAK-FA
คือโครงการ
AMCA
คืบหน้าไปมากเร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้
ฝ่ายรัสเซียก็ได้ชี้ให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีจากรัสเซียไปใช้ในการพัฒนาเครื่องบิน
AMCA
ดั้งแต่การออกแบบจากครั้งแรกที่ใช้เครื่องบิน
Tejas
เป็นพื้นฐาน
ปีกทรงเกือบเดลต้า
เครื่องยนต์เดียว แพนหางดิ่งเดี่ยว
ไร้คุณสมบัติล่องหน
ไปเป็นปีกเล็กลง สองเครื่องยนต์
แพนหางดิ่งคู่ และเพิ่มความล่องหน
นอกจากนี้เทคโนโลยีของเครื่องยนต์เจ็ทที่มีในเครื่องบิน
Su-57
และ
Su-35
ก็ปรากฏในการออกแบบเครื่องยนต์ของ
AMCA
ดังนั้นโครงการ
AMCA
อาจจะไม่เป็นดังเช่นโครงการ
Tejas
เนื่องจากอินเดียได้ความรู้จากโครงการ
PAK-FA
ของรัสเซียรวมทั้งแสวงหาเทคโนโลยีจากแหล่งอื่นๆ
อาจทำให้กำหนดบินครั้งแรกของบ.
AMCA เร็วขึ้นกว่าแผนที่วางไว้
ข้อมูลด้านอื่นเพิ่มเติมของเครื่องบิน
AMCA
ในส่วนของเรด้าห์
เรด้าห์
AESA
ที่อินเดียใช้อยู่ในเครื่องบินเบา
Tejas
เป็นของอิสราเอล
แต่อินเดียก็ได้พัฒนาเรด้าห์
AESA
ของตนเองที่ใช้
GaN
– Gallium-Nitride
เป็นเซมิคอนดักเตอร์มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2555(2012)
ส่วนเครื่องยนต์ของเครื่องบิน
AMCA
จะใช้เครื่องยนต์ที่ผลิตเองภายในประเทศคือ
Kaveri
K9 หรืออาจจะเป็นรุ่น
K10
ซึ่งกำลังพัฒนากันอยู่โดยมีบริษัท
GE
ของอเมริกา
บริษัท
Rolls
Royce ของอังกฤษ
และบริษัท SNECMA
ของฝรั่งเศส
เสนอให้ช่วยเหลือ
Kaveri K9 engine |
เมือต้นปีนี้เดือนกุมภาพันธ์บริษัท
GE
ตกลงที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีของเครื่องยนต์
F-414
ครึ่งหนึ่งให้แก่อินเดีย
รวมถึงมีข่าวออกมาว่าพบเทคโนโลยี
three-dimensional
thrust vecotr engine ของรัสเซียที่มีเฉพาะในเครื่องยนต์ของ
Su-57
และ
Su-35
เท่านั้น
แต่ก็ไปอยู่ในการออกแบบเครื่องยนต์ของ
Kaveri
ด้วย
สุดท้ายเครื่องบิน
AMCA
ของอินเดียจะออกมเป็นอย่างไร
คงต้องจับตาดูกันตอ่ไป
เพราะเครื่องต้นแบบจะเริ่มลงมือกันในปีพ.ศ.2562(2019)
No comments:
Post a Comment