วันนี้ 19 มกราคม นับเป็นฤกษ์ดีที่จะนำเสนอบทความแรกของปีนี้ โดยเรื่องทีจะนำเสนอนี้ยังไม่เป็นที่กล่าวขานในการพูดคุยที่เมืองไทยกันมากนักเพราะยังไม่ใกล้เวลาเริ่มการแข่งขัน นั่นก็คือกลางปีนี้
แต่ก็อยากจะหยิบยกนำมาเสนอเรียกน้ำย่อยกันก่อน เนื่องจากเครื่องบินที่น่าจะมีโอกาสที่สุดของโครงการนี้ก็คือ ดาวรุ่งพุ่งแรงดวงใหม่ในวงการเครื่องบินขับไล่ F-35
สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-18 ของแคนาดามีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ(ทหาร)ว่า CF-188 แต่ในบทความนี้จะใช้คำว่า CF-18 แทนเพราะคำนี้เป็นที่คุ้นเคยกับคนไทยมากกว่า
-
เครื่องบิน EuroFighter ไต้ฝุ่น
-
เครื่องบิน Rafale ของบริษัท Dassault ประเทศฝรั่งเศส
-
เครื่องบินกริพเพน
JAS-39
ของบริษัทSaabประเทศสวีเดน
-
เครื่องบิน F-18
Super Hornet จากบริษัทโบอิ้งและ
-
เครื่องบินขับไล่รุ่นล่าสุด F-35 ของบริษัทล็อกฮีดมาร์ติน
แต่ไม่ทันไรเมื่อ วันที่ 8 เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว(พ.ศ.2561) รัฐบาลฝรั่งเศสได้ยืนยันอย่างเป็นทางการต่อประเทศแคนาดา ในการถอนตัวของเครื่องบินราฟาเอล จากการที่จะเข้าร่วมแข่งขันในโครงการนี้
เครื่องบินราฟาเอลของบริษัทDassault ประเทศฝรั่งเศส ราคาลำละ 106 ล้านเหรียญสหรัฐส่วนเหตุผลในการถอนตัวนั้นเท่าที่ขุดค้นได้ ก็คือ ร่างคำขอสำหรับข้อเสนอและข้อกำหนดของแคนาดาในการแบ่งปันข้อมูลและการทำงานร่วมกันกับหน่วยข่าวกรองของกองกำลังสหรัฐ ยากที่จะปฏิบัติได้
แม้ว่าข้ออ้างของบริษัท Dassault จะดูเหมาะสมกลมกลืน แต่ก็มีข้อสันนิษฐานอื่นอีกนั่นก็คือโอกาสที่จะมีชัยชนะเหนือเครื่องบิน F-35 มีน้อย สืบเนื่องมาจากผลประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมของแคนาดา
สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้เครื่องบินขับไล่แบบ F-35 ของสหรัฐชนะในโครงการนี้ก็คือ อุตสาหกรรมส่วนประกอบของเครื่องบิน F-35 ที่ประเทศแคนาดาสามารถหาผลประโยชน์ได้จากอุตสาหกรรมในเรื่องนี้
ภาคอุตสาหกรรมของประเทศแคนาดามีส่วนร่วมในโปรแกรมเครื่องบินขับไล่ F-35 มีมูลค่าถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐและมากกว่า 110 บริษัทของแคนาดาได้มีสัญญาเกี่ยวพันกับ โครงการเครื่องบิน F-35
สำหรับผลจะเป็นอย่างไร พวกเราก็คงต้องติดตามและรอลุ้นกันต่อไป
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย |
ย้อนกลับมานำเสนอกองทัพอากาศประเทศแคนาดากันบ้าง
กองทัพอากาศแคนาดามีเครื่องบินขับไล่อยู่แบบเดียวที่ประจำการอยู่ในกองทัพ นั่นก็คือเครื่องบิน CF-18 ซึ่งเคยมีจำนวนทั้งหมด 138 ลำ แต่ถูกจำหน่ายรวมทั้งถูกปลดประจำการไปปัจจุบันคงเหลืออยู่ทั้งสิ้น 76 ลำ(ข้อมูลจากวิกิฯ)
ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับประเทศไทยที่มีอาณาบริเวณพื้นที่ทั้งหมด 513,115 ตารางกิโลเมตร(198,117ตารางไมล์) ซึ่งเล็กกว่าประเทศแคนาดถึง 19 เท่าตัว
กองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินขับไล่ประจำการทั้งหมด 3 แบบรวมจำนวน 98 ลำ
เมื่อเทียบจำนวนดูแล้วจะเห็นว่ากองทัพอากาศแคนาดามีเครื่องบินขับไล่น้อยมาก และจำนวนเครื่องบิันขับไล่รุ่นใหม่ที่จะจัดหาก็แค่ 88 ลำ ทำไมถึงเป็นเช่นนี้
- เครื่องบิน JAS-39 จำนวน 11 ลำ
- เครื่องบิน F-16 จำนวน 53 ลำ
- เครื่องบิน F-5 จำนวน 34 ลำ
คำตอบก็คงเป็นเพราะแคนาดามีพื้นที่ต้องเฝ้าระวังเพียงแค่ด้านเดียวคือฝั่งตะวันออกของประเทศ ด้านมหาสมุทรแอตแลนติก
ส่วนฝั่งตะวันตกนั้นมีประเทศสหรัฐฯ เป็นกันชนคุ้มครองอยู่(รัฐอลาสก้า)
แต่ด้วยพื้นที่ที่กว้างใหญ่กองทัพอากาศแคนาดาจึงเสริมทัพด้วยเครื่องบินเติมน้ำมันเพื่อให้เครื่องบินขับไล่ CF-18 สามารถปฏิบัติการได้ครอบคลุมพื้นที่ โดยเครื่องบินเดิมเชื้อเพลิงของแคนาดามีรวมกันถึง17ลำ ประกอบด้วย
-
เครื่องบินเจ็ทลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ
Airbus
CC-150 & CC-150T Polarisจำนวน5ลำ
-
เครื่องบินใบพัดภารกิจค้นหาและกู้ภัยรวมทั้งเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ
Lockheed
CC-130 Herculesจำนวน12ลำ
เมื่อปลายปีที่แล้ว(พ.ศ.2561)จากการมีปัญหาทางด้านภาคอุตสาหกรรมระหว่างประเทศแคนาดาและสหรัฐเกี่ยวกับเครื่องบิน Bombard ของแคนาดา ทำให้ประเทศแคนาดาตัดสินใจสั่งซื้อเครื่องบินมือสอง F-18 จากประเทศออสเตรเลีย ทั้งสิ้นจำนวน 25 ลำโดยแบ่งเป็น 18 ลำมาใช้เพื่อขัดตาทัพระหว่างช่วงต่อของการเปลี่ยนแบบเครื่องบิน และอีก 5 ลำสำหรับเอาไว้เป็นอะไหล่
แต่ก็มีเรื่องที่น่าตกใจเกี่ยวกับนักบินของกองทัพอากาศแคนาดา ด้วยปีงบประมาณที่แล้ว(พ.ศ.2561) นักบินจำนวน 28 เปอร์เซ็นต์ของนักบินขับไล่กองทัพอากาศแคนาดามีชั่วโมงการบินต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่จะธำรงรักษาขีดความสามารถทักษะในการรบ และอีก 22 เปอร์เซ็นต์ของช่างเทคนิคสำหรับกองบิน CF-18 มีอัตราว่างเปล่า หรือไม่ก็ถูกบรรจุด้วยเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีประสบการณ์
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าระหว่างเดือนเมษายนปีพ.ศ.2560 และจนถึงเดือนมีนาคมปีพ.ศ.2561 กองทัพอากาศได้สูญเสียนักบินครูฝึกจำนวน 40 นายและผลิตนักบินใหม่ได้เพียง 30 นายตั้งแต่นักบิน 17 นายได้ลาออกหรือมีแผนที่จะลาออกจากกองทัพ
และในระหว่างนั้นแม้แคนาดาจะมีแผนในการใช้จ่ายจำนวน 3,000 ล้านเหรียญเพื่อที่จะบำรุงรักษาให้เครื่องบินสามารถใช้ต่อไปได้อีกราว 10 ปี แต่ก็มีเรื่องกังวลเกี่ยวกับเครื่องบิน CF-18 และเครื่องบินที่ซื้อมาจากประเทศออสเตรเลียจะมีความล้าสมัยมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้เพราะเครื่องบิน CF-18 ของแคนาดาเองก็ได้รับการปรับปรุงมาหลายครั้ง จนยืดอายุได้ถึงปีพ.ศ.2575
อย่างไรก็ตามในการปรับปรุงและยืดอายุเครื่องบินขับไล่ของแคนาดา ถูกจำกัดด้วยงบประมาณทำให้ขีดความสามารถของเครื่องบินแคนาดา ยังไม่สมบูรณ์เช่นในด้านของเรดาร์ aesa ที่จะช่วยในการจับเป้าหมายข้าศึกในระยะที่ไกลขึ้น รวมทั้งเรด้า RABR ของ Raytheon หรือเรดาร์ SABR ของ Northrop Grumman
คราวนี้ลองไปดูประสบการณ์ของประเทศอื่นที่ได้รับเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ของโลก F-35 ลำนี้ไปใช้กันแล้วบ้างว่าเป็นอย่างไร
ประเทศนอร์เวย์ได้รับเครื่องบินเครื่องบิน F-35 ไปประจำการแล้ว โดยกำหนดให้เข้าร่วมฝึก ซ้อมการรบในยุทธการ Trident Juncture 2018 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมปีที่แล้ว แต่ปรากฏว่าเครื่องบิน F-35 ของกองทัพอากาศนอร์เวย์ไม่มาปรากฏตัว
ผู้บังคับการฝูงบินที่ 332 ของ Royal norwegian Air Force พันโทStale Nymoen กล่าวว่า ครอสวินด์(crosswind) คือเหตุผลหลักที่ทำให้ต้องยกเลิกการบินออกไป
ขยายความเหตุผลในเรื่อง crosswind ก็คือกองทัพอากาศนอร์เวย์ได้รับเครื่องบิน F-35 จำนวน 2 ลำแรกในเดือนกันยายนปีพ.ศ.2558 และได้ประจำการอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Luke ในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา ที่ซึ่งนักบินกองทัพอากาศของนอร์เวย์และสหรัฐฯ รวมทั้งอิตาเลียนได้ฝึกร่วมกัน
จวบจนเดือนพฤศจิกายนปีพ.ศ.2560 เครื่องบินล่องหน F-35 จึงได้มาเข้าถึงประจำการในประเทศนอร์เวย์ที่ฐานทัพอากาศ Ørland
ในการให้สัมภาษณ์นี้ว่าสิ่งที่แตกต่างจากฐานทัพอากาศลุคที่ที่เราฝึกซ้อมกัน กับฐานทัพอากาศโอแลนด์ในประเทศนอร์เวย์สิ่งที่ต่างกันก็คือ อุณหภูมิ สภาพอากาศ น้ำแข็ง และความลื่นบนทางวิ่ง รวมทั้งกระแสลม
นัยในเรื่องนี้อาจตีความได้ว่า นักบินของนอร์เวย์ยังไม่ชำนาญในการบิน F-35 ขณะที่มีลมปะทะด้านข้าง หรือ เครื่องบิน F-35 มีปัญหาด้านสมรรถนะกับลมปะทะด้านข้าง
ทั้งหมดนี้ก็คือบทความต้อนรับปีใหม่ ปีหมูทอง ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุขตลอดปีพ.ศ.2562นี้ … สวัสดี
No comments:
Post a Comment