แต่จากการค้นหาข้อมูลของจรวดเนปจูนนั้นมีน้อยมาเพราะเพิ่งจะมีการพัฒนา ประกอบกับเนื้อหาของจรวดยูเรนัสมีรายละเอียดที่น่าสนใจอยู่มากมาย จึงเปลี่ยนมาเขียนเกี่ยวกับจรวดยูเรนัสของรัสเซียแทน โดยช่วงท้ายจะเพิ่มเติมข้อมูลจรวดเนปจูนของยูเครนให้เป็นการปิดท้าย
จรวดยูเรนัส Kh-35 ของรัสเซีย มีชื่อเรียกขานหลายหลากมาก คือ AS-20 Kayak / รหัสตามนาโต้ SS-N-25 'Switchblade' / GRAU 3M24 หรือ Bal ('Ball') / SSC-6 'Sennight' / GRAU 3K60
Kh-35 ได้ถูกแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2535(1992) และถูกเสนอสำหรับการส่งออก แม้ว่าในขณะนั้นจรวดจะยังไม่พร้อมสำหรับการผลิต ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตการพัฒนาล่าช้าออกไปอีกเนื่องจากปัญหาด้านเงินทุน อย่างไรก็ตามในปีพ.ศ.2537(1994) อินเดียสั่งซื้อจรวด Kh-35E รุ่นส่งอก การสั่งซื้อของอินเดียนี้ช่วยให้เสร็จสิ้นการพัฒนาและเริ่มผลิตจรวด Kh-35 (การส่งมอบให้กับกองทัพเรืออินเดียเริ่มขึ้นในปีพ.ศ.2539)
จรวด Kh-35 เข้าประจำการแค่กองทัพเรือรัสเซียในเดือนกรกฎาคมปีพ.ศ.2546(2003)
ในปีพ.ศ.2547(2004) กองทัพเรือรัสเซียได้นำระบบจรวดป้องกันชายฝั่งทะเล Bal มาใช้กับ Kh-35
ระบบจรวดป้องกันชายฝั่ง Bal |
เครื่องบิน MiG-29 กับจรวด Kh-35 |
จรวด Kh-35 มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับจรวดฮาร์พูนของบริษัทโบอิ้ง จรวดยูเรนัสมีสายพันธุ์ที่แตกต่างกันสามารถยิงได้จากหลากหลายแพลตฟอร์มรวมถึงเรือพื้นผิว ระบบป้องกันชายฝั่ง เฮลิคอปเตอร์และเครื่องบิน
เฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52 กับจรวด Kh-35 |
ระบบจปชฝ. Bal ประกอบด้วยยานยิงจรวด 4 คันแต่ละคันมีจรวด 8 ลูก รวมทั้งหมด 32 ลูกในการระดมยิงพร้อมการโหลดกระสุนอีกครั้ง
ระบบฯ สามารถยิงได้ไกลจากชายฝั่งลึกถึง 10 กม. และยิงเป้าหมายได้ไกลถึง 120 กม.(75 ไมล์; 65 ไมล์) ทดสอบที่ชายฝั่งทะเลบัลในฤดูใบไม้ร่วงปี 2547 แสดงผลการทดสอบที่ยอดเยี่ยมและเข้าประจำการในปี 2551
ปัจจุบันระบบจรวด Bal ติดตั้งรุ่นอัพเกรดของ Kh-35E เพิ่มระยะเป็น 300 กิโลเมตร (190 ไมล์; 160 nm)แล้ว
Bal-E |
ในงานที่ IMDS 2019 ระบบป้องกันชายฝั่งรัสเซีย Bal-E เวอร์ชั่นใหม่ได้ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรก สำหรับรุ่นส่งออกใช้ท่อยิง Rubezh-ME 4 โดยใช้รถ Kamaz 63501 8x8 ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า MZKT-7930 ของ Bal-E ดั้งเดิม
สำหรับประเทศเพื่อนบ้านของเราก็คือเวียดนามมีใช้จรวด Kh-35E จำนวน 198 ลูก และกองทัพเรือพม่าก็มีใช้ประจำการอยู่ไม่รู้รุ่น เชื่อกันว่ากองทัพอากาศของพม่านั้นมีขีปนาวุธ Kh-35 ที่ใช้ทางอากาศอยู่ด้วย
แม้ว่ารัสเซียจะไม่ได้ยอมรับยอดขายเหล่านี้ แต่มีความเป็นไปได้สูงที่จรวด Kh-35 ของพม่ามาจากมอสโก โดยมีโอกาสน้อยที่พม่าจัดหาจากประเทศอื่นที่นำเข้าจากรัสเซียอย่างเช่น อินเดียหรือเวียดนาม
(ในเรื่องนี้มีสมมุติฐานใหม่ใน ป.ล. ท้ายบทความ)
ในเดือนมิถูนายน พ.ศ.2557(2014) เป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของจรวด Kumsong-3(Venus 3) ในภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อที่ทางการเกาหลีเหนือปล่อยออกมา
การปรากฏตัวครั้งแรกของจรวดวีนัส 3 |
ผู้สังเกตการณ์ได้ตระหนักถึงความแตกต่างของจรวดร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำ Kh-35 เกาหลีเหนือที่ออกแบบโดยรัสเซีย (ASCM) ซึ่งได้รับการขนานนามว่า Kumsong-3 (แปล=วีนัส 3)
ในภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อจรวดที่ปรากฏอยู่บนเรือเกาหลีเหนือ มีระยะยิงไกลประมาณ 130 กิโลเมตร(ระยะยิงของจรวดยุเรนัส Kh-35 อยู่ระหว่าง 130-250 กิโลเมตรขึ้นอยู่กับรุ่น) ติดหัวรบหนักประมาณ 150 กิโลกรัม(หัวรบจรวดยูเรนัสหนัก 145 กิโลกรัม) เดินทางด้วยความเร็วประมาณ 300 m/s ที่สะดุดตาที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมุมมองของเกาหลีใต้เนื่องจาก "เครื่องวัดระยะสูงด้วยความแม่นยำสูง" ทำให้จรวดสามารถบินที่ระดับต่ำ 10-15 เมตรในขณะที่อยู่ระหว่างทางและต่ำสุดถึง 3-5 เมตรในระยะสุดท้าย
แม้ว่าความสามารถที่แน่นอนของจรวด Kumsong-3(วีนัส3) ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แหล่งข่าวบางแห่งกล่าวจรวดของเกาหลีเหนือน่าจะเป็นจรวดยูเรนัสรุ่นปรับปรุงแล้วคือ Kh-3U สื่อฯ เกาหลีใต้เรียกมันว่า Kh-35UV (อักษรวีมาจากเวียดนาม)
วิธีที่เกาหลีเหนือได้จรวด Kh-35 มานั้นยังไม่ชัดเจน โดยมีรายงานที่ขัดแย้งกันแนะนำว่าเกาหลีเหนืออาจได้รับมาจากพม่าหรือจากรัสเซียโดยตรง
ข้อมูลระบุว่าจรวด Kh-35 ยังไม่เสร็จสมบูรณ์จนกระทั่งหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต สิ่งนี้ทำให้พม่าเป็นแหล่งที่น่าจะเป็นที่สุดสำหรับขีปนาวุธต่อต้านเรือลำใหม่ของเกาหลีเหนือ
ถ้าเป็นเช่นนั้นระยะเวลาที่แน่นอนของการแลกเปลี่ยนจะมีความสำคัญเพราะแม้ว่าพม่าจะขายอาวุธเกาหลีเหนือมานานแล้ว แต่พม่าก็ยืนยันกับสหรัฐในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาว่าได้มีการตัดสายสัมพันธ์ทางทหารทั้งหมดกับเกาหลีเหนือ
มีหลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นว่าที่พม่ายืนยันไม่เป็นความจริงทั้งหมด ถึงกระนั้นการขาย Kh-35 ของเกาหลีเหนือหลังจากการยืนยันฯ นั้นจะเป็นการยั่วยุสหรัฐฯ อย่างยิ่ง
แต่การสร้างจรวดด้วยวิศวกรรมย้อนกลับของเกาหลีเหนือแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงทางเทคโนโลยีที่สำคัญในความสามารถของการป้องกันต่อต้านเรือผิวน้ำและชายฝั่งเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง
ภาพจาก tweeter เทียบจรวดวีนัส 3 กับจรวดยูเรนัส |
เพราะการที่เกาหลีเหนือมีจรวด Kumsong-3 ถือครองอยู่จะเป็นการเพิ่มมิติใหม่ของภัยคุกคามต่อกิจกรรมทางทะเล และทะเลในทะเลญี่ปุ่น เพราะเดิมเกาหลีเหนือมีจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำรุ่นเก่าเพียงรุ่นเดียวคือจรวด KN-01 ซึ่งมีพื้นฐานมาจากจรวด P-15 ของรัสเซีย และจรวด CSS-C-2 Silkworm ของจีน
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
ช่วงท้ายนี้มาต่อกันที่จรวดสายพันธุ์ Kh-35 อีกรุ่นหนึ่งนั่นคือ จรวดเนปจูนของประเทศยูเครน
จรวดเนปจูนของยูเครน มีพื้นฐานมาจากการออกแบบของจรวดต่อต้านเรือโซเวียต Kh-35 ที่ยูเครนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตั้งแต่แรกเริ่ม โดยยูเครนได้นำมันมาปรับปรุงระยะยิงของขีปนาวุธและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยความร่วมมือกับองค์กรผลิตอาวุธขีปนาวุธขั้นสูงอื่นๆ ของยูเครน
จรวดเนปจูนของยูเครน |
สองปีต่อมาในวันที่ 6 เมษายน 2562 จรวดเนปจูนก็ประสบความสำเร็จในการทดสอบ และพุ่งชนเป้าหมายในระหว่างการทดสอบใกล้โอเดสซา
ตามคำสั่งของประธานาธิบดีแปตรอ ปอรอแชนกอ(ปธน.คนก่อน) จรวดเนปจูนจะส่งมอบให้ทหารยูเครนในธันวาคม 2562คลิปทดสอบยิงจรวดเนปจูน(Нептун)ของยูเครน
ในอนาคตคงต้องดูกันว่าจรวดเนปจูนของยูเครนจะมีคุณภาพเหนือกว่าจรวดยูเรนัสของรัสเซียหรือไม่ และกองทัพเรือไทยสนใจจะจัดหามาประจำกันบ้างรึเปล่า
คลิปเปรียบเทียบระหว่างจรวด Kh-35 Uranus(Уран) ของรัสเซีย กับจรวด Neptun(Нептун) ของยูเครน เสียงพากษ์เป็นภาษารัสเซีย แต่ดูจากภาพก็เข้าใจได้
ป.ล. มีสิ่งที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับจรวด Kumsong 3 (วีนัส 3) อันมีรูปร่างเหมือนจรวดเนปจูน ที่ถูกพบในเกาหลีเหนือครั้งแรกปีพ.ศ.2557(2014) มันเป็นที่รู้จักในาม Kumsong 3 (วีนัส 3) ตอนแรกคิดว่าเกาหลีเหนือได้ซื้อจรวด Kh-35E หรือ Kh-35UE ของรัสเซีย
หัวฉีดท้ายบูสเตอร์ของจรวดวีนัส 3 ของเกาหลีเหนือที่เหมือนกับจรวดเนปจูนของยูเครน |
ตอนเปิดตัวการทดสอบครั้งแรกในปีพ.ศ.2558 และมีรายงานว่ามีระยะยิง 200 กิโลเมตร ต่อมาในปี 2560 ระหว่างการเปิดตัวการทดสอบอีกครั้งจรวด Kumsong 3 แสดงระยะยิงถึง 240 กม. มันไม่ชัดเจนว่าจรวดที่อยู่ภายใต้การพัฒนาในยูเครนนั้นถูกทดสอบในเกาหลีเหนือก่อนการทดสอบในยูเครนได้อย่างไร
อีกทั้งยังมีสิ่งเชื่อมโยงที่หายไปในเรื่องราวทั้งหมดนี้ว่าจรวดเกาหลีเหนือพัฒนาอย่างไร หนึ่งในคำอธิบายอาจเป็นได้ว่ายูเครนมีส่วนช่วยพัฒนาจรวดต่อต้านเรือของ Kumsong 3 ของเกาหลีเหนือ
ยูเครนเป็นประเทศที่ติดอันดับท็อป 10 ทหารของโลกและมีอุตสาหกรรมอาวุธที่พัฒนาแล้วมากกว่าเกาหลีเหนือ ยูเครนยังเคยจัดหาเครื่องยนต์ให้กับขีปนาวุธเกาหลีเหนือผ่านรัสเซียด้วย ความจริงเรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากองค์การอวกาศยูเครนและหน่วยข่าวกรองเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตามข้อสังเกตของผู้เขียนคาดว่ามีสองเรื่องในบทความนี้ที่ต้องเปลี่ยนสมมุติฐานไป คือ
- ประเทศพม่าน่าจะจัดหาจรวด Kh-35 จากประเทศยูเครน ไม่ใช่จากรัสเซีย
- ประเทศยูเครนน่าจะส่งความช่วยเหลือในการพัฒนาจรวดวีนัส 3 แก่เกาหลีเหนือผ่านทางประเทศพม่า
ทั้งนี้เพราะจรวดทั้งสามรุ่นต่างก็มีชื่อเรียกขานตามดาวเคราะห์ทั้งสิ้น คือ ยูเรนัส เนปจูน และวีนัส ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กัน
No comments:
Post a Comment