Tuesday, May 14, 2013

จรวดขนาด 73 มม.


เนื่องจากมีคนถามถึงความเป็นมาของจรวด 73 มม.ซึ่งยุคหนึ่งกองทัพบกไทยได้มีการนำเข้าประจำการ 


เพื่อทดแทน คจตถ. M72
คจตถ.ขนาด 3.5" M72 ของสหรัฐ

โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดขนาด 73 มม.และเครื่องยิง


หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สพ.ทบ.

งบประมาณ : 83,254,103 บาท


ปีที่เริ่มโครงการ : พ.ศ.2523

ปีที่ยุติโครงการ : พ.ศ.2528

ความเป็นมา : เนื่องจาก พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งเป็น ผบ.ทบ. ในขณะนั้นมาตรวจเยี่ยม สพ.ทบ.และได้มาชมและตรวจเยี่ยมงานวิจัยและพัฒนาของ สพ.ทบ. ได้ให้ความคิดว่าจะทำอย่างไร จึงจะให้ทหารราบสามารถมีเครื่องยิงขนาด ๖๐ - ๗๐ มม. ที่สามารถนำไปในหมู่การรบได้ และยิงได้ไกลประมาณ ๔-๕ กม. จึงทำให้ พล.ต.ฐิต์พร สมบัติศิริ ซึ่งขณะนั้นยังดำรงยศ พ.อ. อยู่ คิดวิจัยและพัฒนาเครื่องยิงและลูกจรวจสังหาร ๗๓ มม. จึงเสนอโครงการวิจัยและพัฒนาต่อกองทัพบก เมื่อประมาณปลายปี ๒๕๒๗ และได้รับงบประมาณโครงการวิจัย ฯ ในปี ๒๕๓๐ เจ้าหน้าที่โครงการผู้รับผิดชอบได้ทำการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา โดยใช้วัสดุที่หาได้ภายในประเทศมาดำเนินการจนสำเร็จ จึงเสนอผลงานการวิจัยมาให้ ทบ

รายละเอียด : ความมุ่งหมาย
เพื่อใช้ทดแทน คจตถ. 3.5 นิ้ว ของสหรัฐ ฯ ซึ่งอยู่ใน อจย. ของ ทบ. ปัจจุบันเสื่อมสภาพไม่สามารถใช้ราชการได้
งบประมาณ

ใช้งบประมาณ กห. ปี 23 – 24 ขั้นที่ 1 จำนวน 22,265,613.52 บาท

ใช้งบประมาณ กห. ปี 25 – 28 ขั้นที่ 2 จำนวน 60,988,489.84 บาท 

หน่วยของโครงการ
คณะกรรมการบริหารและชุดทำงานในการผลิตจรวด 73 มม. ควบคุมอำนวยการ และกำกับดูแลโครงการ ฯ

ลักษณะ
1. ลูกจรวด
- ยาว 534 มม.
- น้ำหนัก 1.5 มม. ; ขนาดหัวรบ 61 มม.
2. เครื่องยิง
- กว้างปากลำกล้อง 73 มม.
- น้ำหนักเมื่อบรรจุลูกจรวด 6.3 กก.
- ยาว 1.25 เมตร ; เครื่องลั่นไกทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

สมรรถนะ
1. ลูกจรวด
- ระยะยิงหวังผลอยู่กับที่ 500 เมตร ลงมา
- ระยะยิงไกลสุด 1,200 เมตร
- อำนาจในการเจาะเกราะ 210 +/ - 10 มม. 
- ความเร็วต้น 216 เมตร/วินาที

2. เครื่องยิง
- กล้องเล็งมีแสงในตัวเอง (ใช้แบตเตอรี่) ขยายได้ 1 เท่า และ 2.5 เท่า
- สามารถยิงในเวลากลางคืนได้
- บรรจุลูกจรวดทางท้ายลำกล้อง
- ประทับบ่ายิงทีละนัด 
รับรองมาตรฐาน
ทบ.รับรองมาตรฐาน เมื่อ 24 ก.ย.25 ตามอนุมัติ ผบ.ทบ. ท้ายบันทึก ฯ สวพ.ทบ. 
ลับ ด่วนมาก ที่ กห 0300 – 19/408 ลง 22 ก.ย.25 เรื่อง ขออนุมัติหลักการรับรองให้นำจรวด 
73 มม. และเครื่องยิงเข้ามาใช้ในราชการ ทบ.

หมายเหตุ
จำนวนผลิต 1,500 เครื่องยิง 
ผู้บันทึก : ธิดารัตน์


ที่มาแหล่งข้อมูล http://118.175.64.247/ardodb2011/armyprojectview.php?count_pro=368

No comments:

Post a Comment