Thursday, May 16, 2013

เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.)


ข่าวที่แพร่สะพัดอยู่ในวงการทหารช่วงนี้คงไม่พ้นเรื่องของกองทัพเรือที่เพิ่งจะรับมอบเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.) จำนวน 3 ลำคือเรือ ต.228 .229 .230 มีความยาว 21 เมตร ซึ่งต่อสร้างโดยบริษัทของคนไทย ต่อเรือขึ้นภายในประเทศไทย นั่นคือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด


ก็เลยมานำเสนอข่าวตามกระแส แต่ทั้งนี้จะนำเสนอเป็นเรื่องของเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.)ทั้งหมดเลย
ช่วงแรกก็นำเสนอข่าวของเรือลำใหม่ล่าสุดทั้งสามลำก่อนแล้วกัน

การรับมอบเรือตรวจการณ์ชายฝั่งทั้ง 3 ลำ คือ เรือ ต.228 .229 .230 มีขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2556 ณ ท่าเทียบเรือ แอล เอส ที แรมป์ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ ชลบุรี เวลา 09.39 .โดยมี พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบ
เรือ ต.229

เรือตรวจการณ์ชายฝั่งทั้ง 3 ลำ จะใช้ในภารกิจ การตรวจการณ์ สกัดกั้น ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายฝั่งทะเล (อ่าวไทยและทะเลอันดามัน) รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย รวมถึงการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์ อีกทั้งเพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ชายฝั่งเดิมที่ใช้ราชการมาเป็นเวลานาน และมีกำหนดปลดระวางประจำการ

คุณลักษณะของเรือ ต.228- 230
  • ความยาวตลอดลำ 21.40 เมตร
  • ความกว้างสูงสุด 5.56 เมตร
  • ความลึกของเรือ 3.15 เมตร
  • กินน้ำลึกตัวเรือ 1.05 เมตร
  • ความเร็วเดินทางมัธยัสถ์ 15 นอต
  • ความเร็วสูงสุดไม่น้อยกว่า 30 นอต
  • ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 350 ไมล์ทะเล
  • กำลังพลประจำเรือตามอัตรา 9 นาย

เรือชุดนี้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 28 ก.ย.2554 และได้ถูกปล่อยลงน้ำตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2556 โดยมี พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธีฯ หลังจากนั้นก็ถูกนำไปทดสอบสมรรถนะก่อนทำการรับมอบ


เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.) ที่ปลดประจำการคือ เรือ ต.21 - .29 และ ต.211 – .212 ซึ่งเป็นเรือที่ได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี พ.. 2511-2519

เรือ ต.211
ขนาด
  • ระวางขับน้ำปกติ 20 ตัน เต็มที่ 22 ตัน
อาวุธ
  • ปืนกล ขนาด 12.7 มม. แท่นคู่ 1 แท่น
  • ปืนกล ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
  • เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 81 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
อิเล็กทรอนิกส์
  • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Anritsu (.21 - .23) หรือ Furuno (.24 - .211) หรือ Koden (.212)

*********************

เรือตรวจการณ์ชายฝั่งทั้งหมด เป็นเรือที่ขึ้นอยู่กับ หมวดเรือที่ 3 ภายใต้สังกัดกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ

เรือในชั้นนี้ยังมีอีกชุดหนึ่งคือ เรือ ต. 213- .226 ที่ต่อโดยบ.อิตัลไทยมารีน ในปี พ.. 2523-2527

เรือ ต.226
ขนาด
  • ระวางขับน้ำปกติ 31 ตัน เต็มที่ 35 ตัน
อาวุธ
  • ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-C01 ขนาด 20 มม./90 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
  • ปืนกล ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
อิเล็กทรอนิกส์
  • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Anritsu หรือ Furuno

เรือ ตกช. ยังมีอีกลำหนึ่งที่เป็นลักษณะที่โดดเด่น และมีแค่เพียงลำเดียวด้วย นั่นคือ เรือ ต.231 เป็นเรือแบบสองลำตัว (Hysucat 18 Class PBH) ผลิตโดยบ. Technautic Intertrading

เรือ ต.231
ขนาด
  • ระวางขับน้ำปกติ 34 ตัน เต็มที่ 37 ตัน
ระบบอาวุธ
  • ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-C01 ขนาด 20 มม./90 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
  • ปืนกล ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
อิเล็กทรอนิกส์
  • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Anritsu

และจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเคลื่อนเข้าถล่มจังหวัดชายฝั่งอันดามันของประเทศไทย เมื่อ 26 ธันวาคม 2547 ทำให้เรือ ต.215 ได้รับความเสียหายอย่างหนักขณะการปฏิบัติภารกิจในหมู่เรือถวายความปลอดภัยทางน้ำ บริเวณหน้าโรงแรมโรงแรมลาฟลอรา จังหวัดพังงา ห่างจากฝั่งประมาณ 1,500 หลา โดยกำลังพลประจำเรือจมน้ำเสียชีวิต 1 นาย คือ จ่าเอกเผด็จชัย พูลสุภาพ


ซากเรือ ต.215
.มาร์ซัน ก็ได้ทำรับการว่าจ้างให้ต่อเรือตรวจการณ์ชายฝั่งขึ้นเพื่อทดแทนเรือ ต.215 ที่ถูกปลดประจำการไป นั่นคือเรือ ต.227

เรือ ต.227

ขนาด
  • ระวางขับน้ำเต็มที่ 43 ตัน
อาวุธ
  • ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-C01 ขนาด 20 มม./90 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
  • ปืนกล ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
อิเล็กทรอนิกส์
  • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Furuno
หากท่านสังเกตให้ดีจะเห็นว่าเรือ ต.227 นี้เป็นเรือที่ถูกต่อขึ้นก่อนเรือ ต.228 (ชุดปัจจุบัน) โดยเรือ ต.227 ได้มีการปรับปรุงแบบ ทำให้แตกต่างไปจากเรือชุดก่อนหน้านี้คือ เรือต.213 – .226 ที่ผลิตโดยบ.อิตัลไทยมารีน แต่พอเรือชุด ต.228 - .230 ก็กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ในชุดเรือตรวจการณ์ชายฝั่งจึงมีเรือเพียง 2 ลำที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น แต่ต่างจากเรือลำอื่นๆ ในชุด
เรือในชุดลำอื่นๆ อาจมีการปรับปรุงบางเล็กน้อย แต่ก็ไม่ทำให้แตกต่างอย่างเด่นชัดเหมือนเรือ ต.227 และ ต.231
เปรียบเทียบเรือ ต.226 และ ต.227

สุดท้ายนี้ขอทิ้งไว้ให้นิดว่า นอกจาก หมวดเรือที่ 3 แล้วกองเรือชายฝั่งยังมีกำลังเรือรบในสังกัดอีก 2 หมวดเรือ คือ หมวดเรือที่ 1 และหมวดเรือที่ 2 โดย
  • หมวดเรือที่ 1 มีเรือในอัตราคือ เรือ ต. 991 – .993 และเรือ ต.994 – .996
    เรือ ต.994
  • หมวดเรือที่ 2 มีเรือในอัตราคือ เรือ . 91 – .99 และเรือ ต.81 – .83
    เรือ ต.82
ซึ่งเรือทั้งหมดที่อ้างถึงเป็นเรือที่สร้างและต่อขึ้นในประเทศไทยทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้กองเรือชายฝั่งจึงเป็นกองเรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทย



No comments:

Post a Comment