Friday, June 21, 2013

เฮลิคอปเตอร์ UH-72A (Lakota)

ข่าวดังทางทหารของไทยวันนี้คงไม่พ้น เรื่องไทยขอซื้อเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ขนาดเบา UH-72A ที่มีชื่อเรียกขานว่า Lakota
ทำไมเจ้าเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ถึงดังขนาดนี้ ก็ลองติดตามอ่านกันได้

ขอยกบทความเกี่ยวกับประวัติของ UH-72A ที่เขียนโดยศูนย์การบินทหารบก มาให้ท่านได้อ่านกันดังนี้

เมื่อต้นเดือน ก..49 คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแบบ ฮ.ของ ทบ.สหรัฐ ฯ ได้ตกลงใจเลือก ฮ.ใช้งานทั่วไปขนาดเบา ( LUH – Light Utility Helicopter) จาก ฮ.ที่เข้าร่วมรับการพิจารณาจำนวน 4 แบบ ( . MD 902 MD Helicopter, . EC-145 Eurocopter, . 412 EP Bell helicopter และ ฮ. AW139 AgustaWestland) เพื่อนำมาใช้ในราชการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยได้พิจารณาเลือก ฮ.รุ่น EC- 145 ที่ผลิตโดยบริษัท Eurocopter ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท EADS ผลจากการคัดเลือกในครั้งนี้ แสดงให้เห็นนโยบายด้านการจัดซื้อจัดหาที่เปิดกว้างของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ฯ
ทบ.สหรัฐ ฯ มีแผนที่จะจัดซื้อ ฮ. EC- 145 จำนวน 322 เครื่อง (มูลค่าประมาณ 3,000 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ) ซึ่งจะนำเข้าประจำการโดยใช้ชื่อทางทหารว่า UH – 72A ในการนี้บริษัท Eurocopter ได้วางแผนที่จะผลิต ฮ. EC -145 รุ่นใช้งานทางทหาร ( Military Versions ) หรือ UH – 72A ด้วยการขยายโรงงานผลิตที่มีอยู่แล้วในสหรัฐ ฯ ส่วนโรงงานผลิตหลักในเยอรมันยังคงผลิต ฮ. EC- 145 ในรุ่นใช้งานทางพลเรือนต่อไป และตามสัญญาฯจะมีการส่งมอบ ฮ. จำนวน 8 เครื่องแรกภายในเดือน พฤศจิกายน 2549 นี้
UH – 72A จะถูกนำไปบรรจุทดแทน UH – 1 และ OH – 58 ของ Army National Guard โดย ฮ.ดังกล่าวจะถูกจำกัดการใช้ เฉพาะในพื้นที่ภายในประเทศของสหรัฐ ฯ เท่านั้น ซึ่งหมายถึงว่าจะไม่ถูกนำเข้าสู่พื้นที่ทำการรบ และยังไม่นับเป็นยุทโธปกรณ์หลักของทบ.สหรัฐฯอีกด้วย ภารกิจที่ ทบ.สหรัฐฯ กำหนดไว้สำหรับ UH – 72A ได้แก่ การส่งกำลังบำรุง, การขนส่งผู้โดยสาร, การส่งกลับสายแพทย์, การปราบปรามยาเสพติด, การบรรเทาสาธารณภัย และการฝึก – ศึกษา เป็นต้น
เหตุผลที่ทำให้ ฮ. EC- 145 ของบริษัท Eurocopter เป็นผู้ชนะในการคัดเลือกจากคู่แข่งอีก 3 ราย ซึ่งได้แก่ ฮ. AW139 ของบริษัท Augusta Westland จากยุโรป, . MD902 ของบริษัท MD Helicopter และ ฮ. Bell412EP ของบริษัท Bell Helicopter ซึ่งนอกจากในเรื่องคุณลักษณะเฉพาะ/ สมรรถนะ รวมทั้งความประหยัดกับความคุ้มค่า ที่ตรงกับความต้องการของ ทบ.สหรัฐฯ แล้ว บริษัท Eurocopter ยังได้มีการร่วมมือกับบริษัท Sikorsky อีกด้วย จึงทำให้ได้เปรียบในเรื่องการให้บริการหลังการขายในอนาคต ทั้งในเรื่อง การส่งกำลังและซ่อมบำรุง, การฝึก – ศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากบริษัท Sikorsky เป็นผู้ผลิต UH - 60 ซึ่งเป็น ฮ.หลักของ ทบ.สหรัฐในปัจจุบันนั่นเอง
คุณลักษณะเฉพาะของ ฮ. EC – 145
  • บริษัทผู้ผลิต Eurocopter
  • ความยาวทั้งสิ้น (ขณะใบพัดหลักหมุน) 42.7 ฟุต 
  • ความยาว Fuselage 33.4 ฟุต 
  • ความกว้าง Fuselage 5.7 ฟุต
  • ความสูง 11.3 ฟุต
  • เส้นรอบวงใบพัดหลัก 36.1 ฟุต
  • เส้นรอบวงใบพัดหาง 6.4 ฟุต 
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 7,903 ปอนด์
  • นน.รวมเมื่อมีการบรรทุกภายนอก 7,903 ปอนด์
  • นน.บรรทุก 3,953 ปอนด์
  • การบรรทุกผู้โดยสาร นักบิน 2 นาย
  • ผู้โดยสาร 8 นาย
  • เครื่องยนต์ Turbomeca ARRIEL 1E2 จำนวน 2 เครื่อง
  • กำลังเครื่องยนต์ละ 738 แรงม้า
  • สมรรถนะเพดานบินสูงสุด 18,000 ฟุต
  • ความเร็วสูงสุด 145 น๊อต
  • ความเร็วเดินทาง 130 น๊อต
  • การบินลอยตัว - IGE 11 ,300 ฟุต
                              - OGE 9,000 ฟุต
  • ระยะปฏิบัติการ 370 ไมล์ทะเล
(ข้ อมูล จาก Helicopter Specifications, Shepard's Helicopter World Handbook 2004)

รายงานการบินทดสอบ ฮ. EC – 145
กล่าวทั่วไปรอน บาวเออร์ (Ron Bower) นักบินทดสอบประจำนิตยสาร Rotor & Wing ซึ่งได้รับใบอนุญาต เป็นทั้งนักบินลองเครื่อง และครูการบิน มีประสบการณ์การบินมากว่า 43 ปี มีชั่วโมงบินรวมกว่า 8,500 ชั่วโมง โดยไม่เคยมีอุบัติเหตุเลย นอกจากนั้งยังเคยเป็น นักบิน ทบ.สหรัฐ ฯ ในห้วงสงครามเวียตนาม และยัง เป็นเจ้าของสถิติการบิน ฮ.รอบโลก โดยใช้เวลาน้อยที่สุด (17 วัน กับอีก 6 ชั่วโมง) ในปี ค..1996 ด้วย รอน ฯ ได้รายงานผลการทดสอบไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
ก่อนการบินทดสอบ ได้ดำเนินการตรวจสอบ ฮ.ก่อนทำการบิน และพบสิ่งที่ทำให้ประหลาดใจมากคือ ขนาดของห้องโดยสารดูกว้างขวางมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบขนาดของห้องโดยสาร กับพื้นที่ที่ใช้ในการจอด ฮ. จะพบว่า ฮ. EC-145 ใช้พื้นที่ในการจอดน้อยกว่า ฮ. Bell 412 มาก ทั้งที่พื้นที่ของห้องโดยสารแทบจะมีขนาดเท่ากัน ( EC-145 = 50.77 , Bell 412 = 51 sp.ft ) ทำนองเดียวกันเมื่อนำปริมาตรของห้องโดยสารมาเปรียบเทียบก็มีตัวเลขความจุใกล้เคียงกัน ( EC 145 = 213, bell 412 = 220 cu.ft ) ส่วนเหตุผลที่ ฮ. EC 145 ใช้พื้นที่จอดน้อยกว่า เนื่องจากความกว้างของเส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดมีขนาดเล็กกว่า ฮ. Bell412 ถึง 10 ฟุต ( EC-145 = 36, Bell 412 = 46 ft) นอกจากนั้นความยาวจากปลายใบพัดหลักถึงใบพัดหาง ฮ. EC 145 จะมีระยะสั้นกว่ามากถึง 13 ฟุต ( EC- 145 = 43, bell 412 = 56 ft ) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ฮ. EC-145 มีความเหมาะสมกับการขึ้น – ลง ในพื้นที่จำกัด ด้วยภาพลักษณ์ดังกล่าวส่งผลให้ ฮ. EC- 145 จึงถูกนำไปใช้ อย่างแพร่หลาย ในภารกิจการค้นหา และกู้ภัยทางพลเรือนในปัจจุบัน
สำหรับการบรรทุกภายในของ ฮ. EC-145 มีความสะดวกสบาย เพราะผู้โดยสาร/อุปกรณ์ต่างๆสามารถบรรทุก เข้า – ออก ทางประตูเลื่อนขนาดใหญ่ ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งประตูดังกล่าวสามารถเปิดค้างได้ในขณะทำการบิน นอกจากนั้นทางด้านท้ายของห้องโดยสาร ยังมีประตูบานพับขนาดใหญ่ ( clamshell doors ) ทำให้การบรรทุก หรือเคลื่อนย้ายสิ่งอุปกรณ์ เข้า – ออก ฮ.สามารถกระทำได้โดยง่าย และปลอดภัยแม้ในขณะที่ใบพัด ฮ.ยังคงหมุนอยู่ การติดตั้งใบพัดหางที่แพนหางดิ่ง ( Vertical Fin ) อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า 6 ฟุต ทำให้การปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน บริเวณด้านหลังห้องโดยสารถึงบริเวณหน้าแพนหางระดับ มีความคล่องตัว และปลอดภัย ภายในห้องโดยสารสามารถติดตั้งเก้าอี้ผู้โดยสารได้ถึง 8 ที่นั่ง โดยยังเหลือพื้นที่อีกประมาณ 9 ตร.ฟุต ด้านหน้าของประตูหลัง สำหรับใช้เป็นที่บรรทุกสัมภาระ เช่น กระเป๋าเดินทาง หรือสิ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่าง ๆ ได้ด้วย เพดานห้องโดยสารสูง 4 ฟุต และไม่มีเสาค้ำเพดาน พื้นห้องโดยสารราบเรียบตลอดจากหน้าถึงหลัง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการโดยสาร, การบรรทุก, ตลอดจนการกำบังสายตา การออกแบบจุดติดตั้งอุปกรณ์บนพื้นห้องโดยสาร ในลักษณะเป็นรางร่องขนานกัน จำนวน 4 ราง ทำให้การติดตั้ง/ปรับเปลี่ยนรูปแบบการติดตั้ง เก้าอี้ผู้โดยสาร, เปลพยาบาล และอุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ รวมทั้งการยึดตรึงสิ่งอุปกรณ์ที่บรรทุกภายในห้องโดยสาร สามารถทำได้ สะดวก รวดเร็ว
คุณลักษณะด้านการบรรทุกผู้โดยสารของ ฮ. EC-145 สามารถบรรทุกนักบินจำนวน 1- 2 คน และผู้โดยสารจำนวน 8- 9 คน (ไม่รวมช่างเครื่อง) สำหรับภารกิจการส่งกลับสายแพทย์ สามารถบรรทุกผู้ป่วยบนเปลได้ 2 คน กับเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาล หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้อีก 3 คน
การบินทดสอบเมื่อเริ่มติดเครื่องยนต์จึงพบว่าใบพัดหลักของ EC- 145 หมุนทวนเข็มนาฬิกา เช่นเดียวกับ ฮ.ที่มีใช้ใน ทบ.สหรัฐ ฯ (ซึ่งตามปกติ ฮ.ที่ผลิตจากประเทศยุโรปส่วนใหญ่ใบพัดหลักจะหมุนตามเข็มนาฬิกา) ทำให้ง่ายต่อนักบินที่จะทำความคุ้นเคยในการบิน กับ ฮ. EC- 145 มาก ซึ่งจะส่งผลดีในแง่ของความปลอดภัย และเอื้อประโยชน์ต่อการฝึกบินเปลี่ยนแบบของนักบิน ทบ.สหรัฐ ฯ ในอนาคตเช่นเดียวกัน
หลังจากการบินทดสอบผ่านไป 1 ชั่วโมง 20 นาที พบว่า ฮ. EC-145 บินง่ายมาก การบังคับควบคุม ฮ.มีความสะดวกสบาย และนุ่มนวลในทุกท่าบิน มีอาการสั่นน้อยมาก โดยไม่มีอาการสั่นเพิ่มขึ้นทั้งในขณะวิ่งขึ้น และร่อนลง การบินในท่าลอยตัวเหนือพื้น และในอากาศทำได้ง่ายมาก ระบบใบพัดหลักแบบ Hingless ตอบสนองต่อการควบคุมได้ดี การบินขึ้น – ลง ในพื้นที่จำกัดที่ล้อมรอบด้วยต้นไม้ทำได้อย่างสะดวกสบาย กำลังเครื่องยนต์ตอบสนองต่อการบินขึ้นจากพื้นที่จำกัดได้อย่างดียิ่ง กำลังเครื่องยนต์กับความเร็วมีการตอบรับ และสัมพันธ์กันดีมาก สามารถเร่งความเร็วในขณะบินตรงบินระดับไปที่ความเร็วกว่า 130 น๊อต ได้อย่างง่ายดาย ระบบนักบินอัตโนมัติทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้ในทุกท่าทางบิน รวมทั้งในขณะการเดินอากาศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบินมาก ระบบเครื่องวัดต่าง ๆ ทั้งเครื่องวัดท่าทางบิน และเครื่องยนต์เป็นแบบ Multifunction Display สามารถลดภาระกรรมให้กับนักบินมากเพราะไม่จำเป็นต้องตรวจสอบเครื่องวัดต่าง ๆ ในขณะบินตลอดเวลา นักบินจึงใช้เวลาในการควบคุมการบิน และตรวจการณ์ภายนอกอากาศยานได้มากกว่า ระบบการควบคุมอัตราการหมุนของใบพัดหลัก ( Automatic Rotor – rpm reduction) ซึ่งทำงานด้วยการเปรียบเทียบความเร็วใบพัด กับค่าแรงบิดให้สัมพันธ์กัน ทำให้สามารถลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ไม่เกิน 6.7 เดซิเบล ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าการกำหนดขององค์กรการบินระหว่างประเทศ  ( ICAO)
ผู้ทดสอบได้สรุปความเห็นในภาพรวมของ ฮ. EC-145 ว่ามีคุณลักษณะเฉพาะ และสมรรถนะอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้เป็นอย่างดี และเป็นไปตามข้อกำหนดของ ทบ.สหรัฐ ฯ ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะนำไปใช้เป็น ฮ.ใช้งานทั่วไปขนาดเบาที่สามารถตอบสนองภารกิจได้อย่างหลากหลาย นอกจากนั้น EC -145 ยังเป็น ฮ.ที่รวบรวมผสมผสานส่วนที่ดีต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันหลายประการ ได้ห้องนักบิน และระบบควบคุมการบิน ที่มีความทันสมัย ใช้เทคโนโลยีสูง ประกอบกับโครงสร้าง และลำตัว ฮ. ตลอดจนเครื่องยนต์ที่ผ่านการทดสอบจนเป็นที่ยอมรับ นอกจากนั้นยังมีราคาที่สมเหตุสมผลอีกด้วย
ข้อพิจารณาเพิ่มเติม
จากเนื้อหาของเรื่องตามที่ได้นำเสนอไปแล้ว ผู้เขียนได้ศึกษาทบทวนจึงพบประเด็นที่น่าสนใจ และควรนำมาพิจารณาได้แก่ กระบวนการพิจารณาคัดเลือก ฮ.ของ ทบ.สหรัฐ ฯ ครั้งนี้มีโจทย์ หรือเงื่อนไขซึ่งเป็นข้อกำหนดที่สำคัญ คือ กรอบวงเงินงบประมาณของ ทบ.สหรัฐ ฯ ที่ลดลงมาก ขณะที่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องบรรจุ ฮ.ใช้งานทั่วไป ทดแทนให้กับหน่วยต่าง ๆ ที่ขาดอัตรา หรือที่จะขาดอัตราในอนาคต ซึ่งหากจะใช้ ฮ..60 ( Black Hawk ) บรรจุตามแผนการบรรจุเดิม จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงมีการพิจารณาจัดหา ฮ..ขนาดเบา ( LUH ) แทน เพราะสามารถลดงบประมาณด้านการจัดหาจำนวนมาก ทั้งยังประหยัดงบประมาณด้านการปฏิบัติการและซ่อมบำรุงในระยะยาวได้อีกด้วย นอกจากนั้นในการจัดหายุทโธปกรณ์คราวนี้ใช้วิธีการจัดหาจาก ฮ.ที่มีอยู่ในท้องตลาด และ ฮ. EC-145 ซึ่งเป็นตัวเลือกของทบ.สหรัฐฯแม้ว่าจะเป็น ฮ.จากผู้ผลิตนอกประเทศสหรัฐ ฯ แต่ด้วยมูลค่าของโครงการจัดหาที่สูงถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ กับจำนวน ฮ. 322 เครื่อง ทำให้ในขั้นตอนการผลิตจริง จึงสามารถดำเนินการในประเทศสหรัฐ ฯ ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน และการใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในประเทศสหรัฐ ฯ นั่นเอง
ในทัศนะของผู้เขียน ฮ. EC-145 หรือ UH – 72A เป็น ฮ.ที่น่าสนใจหาก ทบ.ไทยจะพิจารณาจัดหา ฮ. เพื่อทดแทน ฮ..1 หรือ ฮ..212 รวมทั้ง ฮ.. 206 ซึ่งมีอายุการใช้งานมานาน และคาดว่าจะมีปัญหาด้านการส่งกำลังบำรุงในอนาคต โดยผู้เขียนมีเหตุผลสนับสนุนหลายประการ กล่าวคือ ฮ. EC -145 เป็น ฮ.ที่มีขีดความสามารถด้านการบรรทุกผู้โดยสารใกล้เคียงกับ ฮ..1 หรือ ฮ..212 และเหนือกว่าฮ.. 206(EC-145= 6, .. 1= 7, .. 212= 7, .. 206= 3 ที่นั่ง ) แต่มีสมรรถนะด้านความเร็วในการบินเดินทางสูงกว่า ( EC- 145 = 130, ..1 = 90 , .. 212 = 104, .. 206= 114 kts ) และยังเป็น ฮ.ที่บังคับควบคุมง่ายมีความปลอดภัยสูง ใช้ระบบควบคุมการบินที่ทันสมัยเอื้อต่อการบินในสภาพอากาศที่ไม่อำนวย มีระบบนักบินอัตโนมัติ ( Auto Pilot ) ที่เชื่อถือได้และได้รับการรับรองจาก FAA ให้สามารถทำการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (IFR) ด้วยนักบินเพียงคนเดียวได้ ระบบต่าง ๆของ ฮ. รองรับการบินในเวลากลางคืนด้วยกล้องช่วยการมองเห็นในเวลากลางคืน( NVG ) ด้วยคุณลักษณะเฉพาะ/สมรรถนะตามที่กล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า ฮ. EC-145 สามารถตอบสนองภารกิจของ ทบ.ได้หลากหลาย เช่น การขนส่ง, การค้นหา/กู้ภัย, การส่งกลับสายแพทย์, การฝึก-ศึกษา, การลาดระเวน/ตรวจการณ์ และ อาจติดตั้งอาวุธเพื่อใช้เป็น ฮ. โจมตีขนาดเบาได้ด้วย เป็นต้น
5. สรุป. EC-145 เป็น ฮ. ที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกจากคณะกรรมการของทบ.สหรัฐ ฯ เพื่อนำเข้าประจำการ โดยเป็น ฮ.จากบริษัทผู้ผลิตนอกสหรัฐฯ ซึ่งพอจะอนุมานได้ว่าเป็นคัดเลือกมีความเหมาะสมสอดรับกับสภาวการณ์ต่างๆโดยเฉพาะด้านงบประมาณที่จำกัด ซึ่งหาก ทบ.ไทยจะจัดหา ฮ.แบบใหม่ที่ใช้งบประมาณด้าน การจัดหา, การปฏิบัติการ รวมทั้งการซ่อมบำรุงไม่สูงนัก ฮ. EC-145 จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ และเป็นแรงจูงใจให้ผู้เขียนเกิดความสนใจที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอต่อผู้ที่ติดตามข่าวสารด้านการบิน โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างตามสมควร และหากพบข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ ก็จะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป.
แปลและเรียบเรียง โดย อินทรีย์ 03


จะเห็นได้ว่า UH-72A Lakota เป็นเฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่ที่สหรัฐกำลังนำเข้าประจำการให้เพียงพอกับความต้องการ เพื่อทดแทน ฮ.UH-1
UH-72A และไกลออกไปคือ UH-1 Huey (Iroquois)
เริ่มเข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐเมื่อเดือนมิ.. 2007
กองทัพเรือสหรัฐก็สั่งซื้อไปเป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึกบิน จำนวน 5 ลำในเดือนตุลาคม 2008

ล่าสุด กองทัพบกสหรัฐได้สั่งซื้อในเดือนมกราคม 2012 จำนวน 39 ลำมีมูลค่า $212.7m
และเดือนพฤศจิกายน 2012 สั่งอีก 34 ลำมีมูลค่า $181.8m


ดังนั้นการสั่งซื้อ UH-72A ของไทยในครั้งนี้ก็เท่ากับจะเป็นมาตรฐานเดียวกันกับสหรัฐ เหมือนสมัยที่เคยใช้ UH-1 ซึ่งจะทำให้การบำรุงรักษาเป็นเรื่องง่าย สามารถใช้งานไปได้นานตราบเท่าที่สหรัฐยังใช้อยู่ 

No comments:

Post a Comment