Monday, June 24, 2013

Smart Watch

แนวคิดเรื่อง iWatch ของบ. Apple นั้นไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นใหม่แต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะในอดีตได้มีแนวคิดแบบนี้มาแล้วและมีบริษัทมากมายได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ขึ้นมา วันนี้เราจะมาเจาะลึกกันในเรื่องของ Smart Watch

นาฬิกาดิจิตอลในยุคแรกเริ่มเลย ก็คือนาฬิกา Mimo Loga ที่ผลิตออกมาในปี 1941(..2484) ถือเป็นนาฬิกาดิจิตอลเรือนแรก เพราะสามารถคำนวณเลขได้ ถึงแม้ว่ามันจะยังไม่ได้ใช้กลไกอิเลคโทรนิคใดช่วย เพียงแค่ใช้ตารางลอการึทึมตัวเลขที่หน้าปัดหมุนช่วยในการคำนวณอย่างง่ายๆ

นาฬิกาเรือนที่สองที่นับว่าเป็นนาฬิกาอัจริยะก็คือ Hamliton Pulsar ปี1972 ที่ใช้หน้าปัดเป็นตัวเลขสีแดง ซึ่งภายหลังต่อมาอีก 3 ปีก็ออกนาฬิการุ่นที่มีเครื่องคิดเลขในตัว ปี 1975

ข้อมูลจาก www.newyorker.com อ้างว่า นาฬิกาอัจริยะเรือนแรกจริงๆ น่าจะเป็น Seiko FX003 หรือ M354 เพราะเป็นนาฬิกาที่หน้าปัดบอกมากกว่าแค่เวลา คือบอกข้อมูลอื่นๆ ได้ด้วย

พอมาถึงปี 1983 ยักษ์ใหญ่วงการนาฬิกาของญี่ปุ่นคือ Seiko ก็ออกผลิตภัณฑ์นาฬิการที่มีระบบคอมพิวเตอร์ตัวแรกออกมาคือ Seiko D409 ที่สามารถบรรจุตัวอักษรลงไปในนาฬิกาได้ 112 ตัวอักษร
Seiko D409
และต่อมาก็พัฒนาให้สามารถบรรจุตัวอักษรลงไปในนาฬิกาได้ถึง 2,000อักษร ชื่อรุ่นว่า Data 2000 ปี 1983

และพัฒนามาเป็นรุ่น UC 2000 ในปี 1984 ที่เชื่อมต่อกับคีย์บอร์คที่แยกจากกันได้
UC 2000
และในปี 1985 .Epson ก็ได้ปฏิวัติวงการนาฬิกาอัจริยะด้วยนาฬิกาที่สามารถโหลดโปรแกรมอื่นๆลงไปได้ ซึ่งเป็นครั้งแรกของนาฬิกาอัจริยะที่สามารถรันแอพฯได้ (applications) มันคือ Zilog Z80's RC-20
Epson RC-20
ปี 1994 .Timex ได้ออกนาฬิการุ่น Data Link 150 ซึ่งเป็นนาฬิกาอัจริยะเครื่องแรกที่สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสามารถรับส่งข้อมูลผ่านระบบไร้สาย( Wireless Data Tramission)
Data Link 150
ปี 1998 หลังจากที่บ.Epson ได้นำเสนอแนวคิดในรูปแบบของนาฬิกา RC-20 มากว่า 10 ปี บ. Seiko ก็กลับมาอีกครั้งพร้อมกับนาฬิกาอัจริยะ Ruputer ที่มีซีพียูขนาด 16 บิทความเร็ว 3.6MHz แรมขนาด 128KB และหน่วยความจำขนาด 2MB

พอปี 2000 ยักษ์วงการคอมพิวเตอร์ของอเมริกาอย่าง IBM ก็เข้าร่วมด้วยการส่ง IBM Linux Watch ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Linux ที่มีแรมขนาด 8MB และหน่วยความจำแบบ Flash ขนาด 8MB และปี 2001 ก็ออกผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ร่วมมือกับบ. Citizen ของญี่ปุ่น ตามมาคือ IBM WatchPad 1.5 ซึ่งใช้ซีพียูแบบ ARM ขนาด 74MHz
ซ้ายคือ Linux Watch และขวาคือ WatchPad 1.5
นอกจากนี้ในปี 2001 ยังมีบริษัทเล็กๆ ในฮ่องกงบริษัทหนึ่งชื่อ Hong Kong World Network Ltd ได้นำเสนอนาฬิกาอัจริยะชื่อ Web-@nywhere แต่การผลิตจำกัดแค่ตามคำสั่งซื้อเท่านั้น (mail-order) ทำให้น้อยคนนักจะรู้จัก
ผลิตภัณฑ์นี้สามารถโหลดอักษรจำนวน 128 KB จากเว็บไซด์ต่างๆ มาอ่านได้ โดยอ่านได้ทีละ 18ตัวในสองบรรทัด

ปี 2002 นาฬิกาแฟชั่นแบรนด์เนมดังอย่าง Fossil ก็เข้าร่วมวงด้วยการส่ง FX 2001 นาฬิกาอัจริยะที่สามารถแสดงข้อมูลได้เหมือนเครื่อง PDA ที่ใช้ระบบ Palm OS
ปี 2003 .Timex กลับมาอีกครั้งด้วยการปรับปรุง Data Link 150 ให้ดียิ่งขึ้นเป็น Ironman Data Link USB ที่นำการส่งผ่านข้อมูลทาง USB มาใช้ โดยสามารถโหลดโปรแกรมต่างมาใช้บนจอแบบ dot-matrix LCD
Ironman Data Link USB
ปี 2004 ถึงคราวเจ้าพ่อแห่งวงการซอฟแวร์โลกออกตัวกันบ้าง บ.Microsoft ได้สร้างสรรค์บริการที่เรียกว่า Smart Personal Object Technology (SPOT) ที่สามารถรับชมข่าวและพยากรณ์อากาศได้ทาง MSN Direct โดยผ่านคลื่นความถี่ของวิทยุ FM แต่จำกัดแค่ในเมืองสำคัญใหญ่ๆ แค่นั้น ซึ่งมีนาฬิกาอัจริยะอีก 2 ยี่ห้อดังที่มาร่วมใช้บริการ SPOT ในการรับชมข่าวสารข้อมูล คือ Suunto n3 และ Fossil Abacus AU4000 แม้ในภายหลังจะมีนาฬิกาบางรุ่นของ Tissot และ Swatch มาใช้บริการ แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก บ.Microsoft จึงปิดบริการลงในปี 2008
ซ้ายคือ Suunto n3 และขวาคือ Fossil Abacus AU4000
ปี 2005 นั้นบ. Fossil ได้ออกนาฬิกาอัจริยะที่ได้แถลงไว้ตั้งแต่การเปิดตัวนาฬิกาอัจริยะรุ่นแรกเมื่อปี 2002 ซึ่งแถลงไว้ว่าจะออกนาฬิกาที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า FX 2001 แต่ติดขัดเรื่องการผลิตทำให้มาออกในปีนี้ ซึ่งก็คือ FX 2008 อย่างไรก็ดี FX 2008 ก็ไม่ค่อยเป็นที่พอใจของท้องตลาดนัก
FX 2008
ปี 2007 หลังจากที่ Fossil ออกนาฬิกาที่เชื่อมผ่านข้อมูลด้วยระบบ Palm OS และ Timex ออกนาฬิกาที่เชื่อมผ่านข้อมูลด้วยระบบ USB กันไปแล้ว ถึงคราวบ. Citizen ออกนาฬิกาอัจริยะที่เชื่อมผ่านข้อมูลด้วยระบบ Bluetooth
ด้วย Citizen i:Virt W700 ซึ่งก็เป็นที่นิยมในตลาดญี่ปุ่น ไม่ค่อยได้รับความนิยมในตลาดอเมริกา

ปี 2010 .Apple ได้เปิด iPod nano Gen 6th (ยุคที่ 6) บริษัทผลิตอุปกรณ์เสริมสำหรับ iPod คือบ.Griffin ก็ออกสายคาดสำหรับใช้กับ iPod G6 ออกมาคือ Griffin Slap ซึ่งทำให้ iPod G6 กลายเป็นนาฬิกาอัจริยะยุคใหม่ไปเลย
ไม่ใช่เพียงแค่บ. Griffin เท่านั้นหนึ่งเดือนใหัหลัง กลุ่ม Kickstarter project ก็สร้างสายคาดข้อมือสำหรับ iPod G6 ปล่อยออกสู่ตลาดเหมือนกัน คือ TikTok+LunaTik

ในปีเดียวกันนี้ บ. Sony Ericsson ก็มีการออกข่าวว่าจะออกอุปกรณ์คาดข้อมือที่ใช้จอแบบ OLED ซึ่งเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือที่รันด้วยระบบแอนดรอย ผ่านทาง bluetooth แต่ก็ไม่มีเห็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนกระทั่งปี 2012 . Sony ก็ปล่อยผลิตภัณฑ์ชื่อ Sony SmartWatch ที่ใช้จอ OLED ออกมาสู่ตลาด

สำหรับปีนี้ก็มีข่าวลือออกมาว่าบ. Pebble Technology จะร่วมมือกับ Kickstarter project ผลิตนาฬิกาอัจริยะต้นแบบออกมาใช้ชื่อ E-paper watch แต่ก็ยังไม่เห็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวออกมาแต่อย่างใด
E-paper
ขอบคุณข้อมูลจาก http://tech.sina.com.cn และ http://www.macworld.com.au


สำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่ของเกาหลีอย่าง Samsung ก็เข้าร่วมตลาดด้วยการส่ง Samsung SPH-WP10 ลงสู่ตลาดในปี 1999 แต่อาจเป็นเพราะว่าไปจัดอยู่ในกลุ่ม Smart Phone เลยไม่ถูกนำมาร้อยเรียงเข้าในประวัติศาสตร์ของ Smart Watch

ครั้นพอปี 2009 ก็ออกผลิตภัณฑ์อีกชิ้นหนึ่งออกมาคือ Samsung S9110 แต่ก็ยังจัดอยู่ในกลุ่ม Smart Phone อีก

ยังไงก็ขอเอามาเพิ่มเติมรวมกันไว้ในที่นี้ด้วยเลย แต่อย่างไรก็ดีทางซัมซุงก็มีแผนงานที่ชัดเจนกับผลิตภัณฑ์ Smart Watch นั่นคือ Galaxy Altius ไว้รอชมกันดู
Galaxy Altius
สำหรับการจัดเรียงประวัติศาสตร์ของนาฬิกาอัจริยะนี้เป็นการนำข้อมูลที่เป็นวิวัฒนาการหลักๆ มาเรียงให้เห็นภาพ แต่หากจะเรียงตามความสามารถหรือจำแนกกลุ่มให้ชัดเจน ผลที่ออกมาก็เปลี่ยนแปลงไปอีก เช่น ประวัติศาสตร์ของนาฬิกาคว๊อซส์ ประวัติศาสตร์ของนาฬิกาจอตัวเลข ประวัติศาสตร์นาฬิกาออโตเมติก เป็นต้น

นอกจากนี้ก็ยังมีบทความเกี่ยวเนื่องกันชื่อ วัตกรรมใหม่ ปี 2013 ใครยังไม่ได้ติดตามอ่านก็สามารถย้อนไปอ่านกันได้ที่


No comments:

Post a Comment