Friday, April 6, 2018

เส้นทางปืนไรเฟิลของอินเดีย

ก่อนอื่นต้องขออภัยที่เดือนก่อนไม่มีการอัพเดทบล็อกเลยเนื่องจากภารกิจหนาแน่น จึงทำได้แค่เพียงโพสข่าวทาง Facebook แค่นั้น
AK-103
วันนี้มานำเสนอเส้นทางปืนไรเฟิลของอินเดียกันบ้าง สำหรับของไทยย้อนไปอ่านกันได้ที่ http://monsoonphotonews.blogspot.com/2017/11/blog-post.html


เดิมในยุคปีพ..2493 กองทัพอินเดียได้ประจำการด้วยปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติ L-1A1 ที่ผลิตขึ้นโดยปราศจากใบอนุญาต ต่อมาในปีพ..2523 อินเดียได้ตัดสินใจพัฒนาปืนไรเฟิล INSAS ขนาด 5.56 มม.เพื่อใช้ทดแทนปืนรุ่นเก่า L-1A1 โดยอาศัยปืนไรเฟิล AKM เป็นพื้นฐาน

ปืนไรเฟิล INSAS แม้จะใช้ปืน AKM เป็นพื้นฐานแต่มันก็มีคุณสมบัติของปืนอื่นๆ ผสมผสานอยู่ กล่าวคือ มีหกร่องเกลียว ใช้ระบบแก็สและมีลูกเลื่อนอย่างปืน AKM แต่มีระบบควบคุมด้วยมืออย่าง FN FAL มีคันชักลูกเลื่อนอย่าง HK33 ใช้ซองกระสุนพลาสติกใสอย่าง Steyr AUG รูปลักษณะภายนอกกลับเหมือนปืน Galil โดยปืนINSAS รุ่นนี้มีชื่อว่า 1B1
INSAS 1B1
ปืพ..2533 กองทัพอินเดียได้เปิดตัวปืน INSAS – Indian Small Arms System แม้ว่ากำหนดส่งมอบปืน INSAS จำนวน 7,000 กระบอกในปีพ..2537 แต่ก็มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนกระสุน อินเดียก็ได้ทำการสั่งซื้อกระสุนขนาด 5.56x45 มม.จำนวนห้าสิบล้านนัดจากประเทศอิสราเอลในปีพ..2539
อินเดียได้เริ่มผลิตกระสุนขนาด 5.56x45มม.ภายในประเทศราวกลางปีพ..2540แต่มีกำลังการผลิตน้อยซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องกา

แต่กำหนดการประจำการปืน INSAS ในปีพ..2541ก็ต้องล่าช้าออกไปเนื่องจากกระสุนที่สั่งซื้อจากอิสราเอลถูกระงับการส่งก่อนหน้าถึงกำหนดเพียงแค่สามเดือน ซึ่งคาดว่าเป็นเรื่องของการเมืองโดยอิสราเอลถูกกดดันจากสหรัฐฯ

ในระหว่างนั้นอินเดียสามารถสั่งซื้อปืนไรเฟิล AKM และกระสุนขนาด 7.62x39 มม. จำนวนมากจากประเทศโรมาเนียเข้ามา ทำให้หลายต่อหลายหน่วยที่คาดว่าจะได้รับปืน INSAS กลับได้รับปืน AKM ไปแทน

เล่ากันว่าการโจมตีทางอากาศของปากีสถาน(สงครามKargil) ทำให้สายการผลิต INSAS ต้องหยุดลง ทำให้ปีพ..2545 อินเดียมองหาปืนไรเฟิลแบบใหม่ซึ่งก็คือปืน TAR-21 ขนาด 5.56 มม. และ MTAR (X95) โดยให้ชื่อปืนว่า Zittara และแจกจ่ายต่อทหารในแนวหน้าปีพ..2548 ซึ่งก็ถูกทหารบ่นว่า การปฏิบัติการไม่น่าพอใจ ทำให้ต้องปรับปรุงแก้ไขและทดสอบในอิสราเอลจนเป็นที่พอใจในปีพ..2549
TAR-21 Zittara
ผลภายหลังจากสงคราม Kargil ปีพ..2542 ระหว่างอินเดียกับปากีสถาน และสงครามกลางเมืองประเทศเนปาล ปีพ..2539-2549 (กองทัพบกเนปาลได้สั่งซื้อไปประจำการ) ได้พบข้อบกพร่องหลายประการในปืน INSAS อันทำให้ต้องทำมีการปรับปรุงแก้ไขปืน INSAS ทำให้เกิดปืนรุ่นต่างๆ ออกมา


ปืพ..2550 อินเดียได้ผลิตปืน INSAS แบบสั้นออกมาให้ชื่อว่า Kalantak อย่างไรก็ดีแม้จะถึงปีพ..2553 มันก็ยังไม่เข้าสู่สายการผลิต กลับถูกผลิตออกมาอย่างจำกัดเป็นจำนวนน้อยมาก
ปืน Kalantak มีความยาวลำกล้องเพียง 13.1 นิ้ว ปากกระบอกติดตัวลดแสงมาตรฐาน INSAS มีระยะยิงหวังผล 300 เมตร

ช่วงต้นปีพ..2558 อินเดียได้เริ่มทดสอบปืนอีกรุ่นหนึ่งที่ปรับปรุงมาจากปืน INSAS 1B1 และได้ผลิตออกมามากคือ ปืนไรเฟิล Excalibur เป็นปืนที่แตกสายมาจากปืน INSAS ภายใต้ปรับปรุงของ ARDE – Armament R&D Establishment ที่ขึ้นอยู่กับ DRDO – Defense Research and Development Organisation
ปืน Excaliburมีลำกล้องยาว 15.75 นิ้ว มีระยะยิงหวังผล 400 เมตร

โดยปืนแบบใหม่ล่าสุดนั้นคือรุ่นคาร์บิน ในช่วงพัฒนาเรียกชื่อโครงการว่า MSMC carbin มาจากคำว่า Modern SubMachine Carbine หรือรูัจักกันในอีกชื่อคือ JVPC – Joint Venture Protective Carbine ต่อมาก็ตั้งชื่อให้กับปืนว่า Amogh
ปืน Amogh มีความยาวลำกล้อง 13 นิ้ว มีระยะยิงหวังผล 200 เมตร
Amogh หรือ  JVPC หรือ MSMC

ต่อมาในปีพ..2554อินเดียได้ส่งการขอข้อเสนอ(RFP)ไปยังผู้ขายปืนจำนวน 34รายสำหรับปืนไรเฟิลหลายลำกล้อง Multi Caliber Individual Weapon System - MCIWSจำนวน 65,678 กระบอก โดยมีข้อกำหนดคือ
  • ปืนต้องสามารถใช้กระสุนได้ทั้งขนาด 5.56x45 มม. และขนาด 7.62x39 มม. ด้วยการเปลี่ยนแค่ลำกล้องและซองกระสุนแค่นั้น
  • ใต้ลำกล้องต้องมีตำบลติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดและตัวสะท้อนสายตา
  • น้ำหนักปืนพร้อมซองกระสุนเปล่าต้องย้อยกว่า 3.6 กิโลกรัม
  • ลำกล้องทั้งสองขนาดต้องยาวน้อยกว่า 16 นิ้ว
ปลายปีพ..2556 กองทัพบกอินเดียเริ่มการทดสอบปืนไรเฟิลที่เข้าร่วมแข่งขันซึ่งเหลืออยู่น้อยรายคือ
  1. Beretta ARX-160 ประเทศอิตาลี
  2. BREN CZ-805 สาธารณรัฐเชค
  3. IWI ACE1 ประเทศอิสราเอล
  4. SIG Sauer SG 551 ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
  5. Colt Combat Rifle สหรัฐอเมริกา ส่งปืนในตระกูล M16A1 หลายแบบเข้าร่วม
ก่อนหน้านี้เห็นมี H&K G36 เยอรมัน, SAR21 สิงคโปร์, XM8 สหรัฐฯ,TAR-21 อิสราเอล, AK-74 บัลเกเรีย, F-2000 เบลเยี่ยม, A3 ออสเตรีย เข้าร่วมแข่งขันด้วย

ต้นปีพ..2557 เดือนกุมภาพันธ์เหลือปืนที่ผ่านเข้ารอบเพียง 4 แบบคือ
  1. BREN CZ-805 สาธารณรัฐเชค
  2. Beretta ARX-160 ประเทศอิตาลี
  3. IWI ACE1 ประเทศอิสราเอล
  4. Colt M4 สหรัฐอเมริกา
พอกลางในเดือนมิถุนายน เหลือปืนเข้ารอบสุดท้ายเพียงสามแบบคือ
  1. Beretta ARX-160
  2. Colt M4
  3. IWI ACE1
ท้ายสุดในเดือนตุลาคม ก็เหลือเพียงแค่สองแบบคือ
  1. IWI ACE1
  2. Beretta ARX-160
อย่างไรก็ตามเดือนมิถุนายน พ..2558 อินเดียก็เพิกถอนนการประมูล ซึ่งภายหลังยกเลิกการประมูลก็มีรายงานว่าปืน INSAS อาจถูกทดแทนด้วยปืนรุ่นปรับปรุงใหม่คือ MIR - Modified INSAS Rifle โดยใช้พื้นฐานจากปืนไรเฟิล Excalibur ให้ชื่อใหม่ว่า Ghatak
Ghatak หรือ MCIWS
ปัจจุบันก็เห็นว่าโครงการพัฒนา MIR (Ghatak) อาจจะไปไม่ถีงดวงดาว พัฒนามา 2-3 ปีแก้ไขปัญหาไม่จบสิ้น ตอนนี่มีข่าวล่าสุดวันนี้(6 เมษายน 2561) ที่ออกมากล่าวว่าอินเดียกำลังแก้ไขข้อกำหนดเพื่อให้ตรงกับคุณสมบัติของปืนไรเฟิล AK-103 ขนาด 7.62x39 มม.M43 ซึ่งอาจจะสร้างโรงงานผลิตในอินเดีย จำนวนที่จะสั่งซื้อคือ 65,000 กระบอกก็เท่าๆ กับโครงการ MCIWS นี้เลย
แก้สเปค ฟังดูแล้วน่าจะคุ้นๆ กันเป็นอย่างดี

เป็นไงล่ะ ปวดหัวกันไหมกับวิถีปืนไรเฟิลของอินเดีย ซับซ้อนตามสไตล์ภารตะ จากขนาด 5.56x45 มม. แต่ตอนนี้ดูท่าจะกลายไปเป็น 7.62x39 มม.เสียแล้ว

No comments:

Post a Comment