เส้นทางสร้างปืนเล็กยาวไรเฟิลจู่โจมแห่งชาติ
มันเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม
จนทำให้ผู้คนต่างได้แค่คาดหวังตั้งตาคอย
ตราบใดที่ความคิดของผู้คนที่ว่า
ฉ้อโกงไม่เป็นไร..ถ้าตนเองได้รับประโยชน์ด้วย
ไม่หมดไป ประเทศชาติก็ไม่มีทางเจริญ
แต่มาพ.ศ.นี้เริ่มจะเห็นความเป็นไปได้แบบเป็นรูปธรรม อาจจะเรียกว่า "ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา" ก็ว่าได้ แต่มันก็ยังดีกว่า "วัวหาย แล้วล้อมคอก"
ในวิกิฯ
ได้แบ่งประเภทของปืนเล็กยาวได้
5
ประเภทดังนี้
-
ปืนเล็กยาวระบบลูกเลื่อน หรือ Bolt-action rifle เป็นประเภทของปืนเล็กยาวที่ยิงกระสุนออกไปได้เพียงทีละนัด อาศัยการงัดแล้วดึงคันรั้งลูกเลื่อนด้วยตัวผู้ใช้เอง
-
ปืนเล็กยาวระบบกึ่งอัตโนมัติ หรือ Semi-automatic rifle เป็นประเภทของปืนเล็กยาวที่ยิงกระสุนออกไปได้ทีละนัด แต่มีกลไกที่สามารถขับปลอกกระสุนออกจากตัวปืนได้ด้วยตัวเอง (คล้ายกับปืนพกระบบกึ่งอัตโนมัติ)
-
ปืนเล็กยาวจู่โจม หรือ Assault rifle เป็นประเภทของปืนเล็กยาวที่สามารถยิงได้ทั้งในแบบกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งจะยิงกระสุนโจมตีเป้าหมายทีละนัด และแบบยิงกระสุนโจมตีเป้าหมายเป็นชุด
-
ปืนเล็กยาวต่อสู้รถถัง หรือ Anti-tank rifle
-
ปืนเล็กยาวต่อสู้ หรือ Battle rifle
สำหรับบทความเส้นทางปืนเล็กยาวของไทยนี้
จะเขียนเป็นลักษณะเส้นเวลา
(timeline)
เริ่มต้นย้อนอดีตไปดูกันว่าไทยเคยมีการสั่งซื้อปืนเล็กยาวอะไรกันบ้าง
ไล่เรียงกันมาถึงปัจจุบัน
ซึ่งคงเกี่ยวพันปืนเล็กยาวแค่ประเภทตามข้อ
1
- 3 เท่านั้น
เริ่มต้นกันที่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5
กองทัพเคยสั่งซื้อปืนเล็กยาว Steyr-Mannlicher
M1888 หรือปืนเล็กยาวแบบ
33
(ปลย.33)
จากประเทศออสเตรียมาใช้งานเมื่อปี
พ.ศ.
2433
แต่ไม่พอใจในประสิทธิภาพนักจึงได้มีการตั้งคณะกรรมการออกแบบโดยยึดรูปแบบปืนเล็กยาวSwedish
Mauser M1894ขนาด
6.5×55
มม.ของประเทศสวีเดนเป็นหลัก
และด้วยการที่ปืนเล็กยาวรุ่นนี้ใช้ระบบลูกเลื่อนแบบ
Mauser
จึงมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษด้วยว่า"Siamese
Mauser M1902/M1903" หรือ
ปืนเล็กยาวแบบ
45
(ปลย.45)
หรือ
ปืน ร.ศ.121
เป็นปืนเล็กยาวแบบลูกเลื่อนบริหารกลไกด้วยมือ
ใช้กระสุนขนาด 8x50r
แบบหัวป้าน
(Siamese
Mauser Type 45) เข้าประจำการเมื่อปี
พ.ศ.
2445-2446
Steyr-Mannlicher M1888 |
นอกจากนี้ยังมีปืนอีกรุ่นที่มีคุณลักษณะเหมือนปืนเล็กยาวแบบ
45
แต่สั้นกว่า
นั่นคือ ปืนเล็กสั้น 47
(ปลส.47)
หรือ
ปืน ร.ศ.123
ในปีพ.ศ.2463
(1920) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่
6
ทรงสั่งซื้อ ปืนพระราม
6
เพื่อใช้ในกิจการกองเสือป่าจากบริษัท B.S.A.Co.
(BIRMINGHAM SMALL ARMS COMPANY)
ประเทศอังกฤษ
ต่อมาในปีพ.ศ.2466
(1923)
ได้มีการสั่งซื้อปืนอาริซากะ
(Arisaka)
หรือ
ปืนเล็กยาวแบบ
66
(ปลย.66)
ซึ่งเป็นปืน
Mauser
M1923 แต่ผลิตโดยญี่ปุ่น
ตรงจุดนี้ทำให้หลายคนเข้าใจว่าปืน ปลย.66 คือปืน Arisaka Type 38 แต่มีคนเล่าว่าไทยเราซื้อแบบปืนเมาเซอร์มาแล้วจ้างญี่ปุ่นผลิต
ดังนั้นปืน ปลย.66 จึงแตกต่างจาก Type 38 ที่ใช้กระสุนขนาด 6.5x50sr แต่ของไทยเป็นขนาด 8x52r Siamese Mauser Type 66 ซึ่งเป็นกระสุนแบบหัวแหลม (เปลี่ยนจาก 8x50r หัวป้าน ของ Siamese Mauser Type 45) เพื่อไม่ให้ปืนติดขัดเวลาป้อนกระสุนเข้ารังเพลิง
ตรงจุดนี้ทำให้หลายคนเข้าใจว่าปืน ปลย.66 คือปืน Arisaka Type 38 แต่มีคนเล่าว่าไทยเราซื้อแบบปืนเมาเซอร์มาแล้วจ้างญี่ปุ่นผลิต
ดังนั้นปืน ปลย.66 จึงแตกต่างจาก Type 38 ที่ใช้กระสุนขนาด 6.5x50sr แต่ของไทยเป็นขนาด 8x52r Siamese Mauser Type 66 ซึ่งเป็นกระสุนแบบหัวแหลม (เปลี่ยนจาก 8x50r หัวป้าน ของ Siamese Mauser Type 45) เพื่อไม่ให้ปืนติดขัดเวลาป้อนกระสุนเข้ารังเพลิง
ปืนเล็กยาวที่ซื้อมาก่อนหน้านี้อย่างปลย.
45 และปลส.
47 จึงได้นำมาคว้านรังเพลิงเพื่อใช้กับกระสุนใหม่นี้ด้วย
และเรียกชื่อใหม่ว่า ปลย.
45/66 กับ
ปลส.
47/66
ปืนกระบอกต่อมานึ่ถึงจะเป็นของญี่ปุ่นแท้ๆ
คือ
Arisaka
Type 38 ขนาด
6.5x50sr
หรือ
ปืนเล็กยาวแบบ
83
(ปลย.83)
และก็ยังมีรุ่นสั้นด้วย
Arisaka Type 38 |
ในช่วงที่ไทยกำลังทำสงครามกับฝรั่งเศสในอินโดจีนในการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศสญี่ปุ่นได้สนับสนุนปืนไรเฟิลแบบ
38
รุ่นมาตรฐานมาให้กับกองทัพไทย
แต่ปืนไรเฟิลที่ส่งมาให้กองทัพไทยนั้นจะไม่มีตราดอกเบญจมาศเครื่องหมายจักรพรรดิของญี่ปุ่น
รหัสเรียกในหน่วยงานราชการคือปืนเล็กยาวแบบ
83
ภายหลังไทยได้นำปืน
ปลย.83
มาตัดขนาดลำกล้องและพานท้ายให้สั้นลงกลายเป็น
ปืนเล็กสั้นแบบ 83
(ปลส.83)
ต่อมาก็มีการเปลี่ยนลำกล้องให้เป็นขนาด
7.62×63มม.
คือขนาดเดียวกับปืนไรเฟิล
M1
Garand (ปลยบ.88)
ของสหรัฐฯ
และเรียกปืนพวกนี้ว่า
ปืนเล็กยาวแบบ
83/88
(ปลย.83/88)
นอกจากนี้ยังมีปืนเล็กสั้นในตระกูลเดียวกันนี้อีกกระบอกคือดัดแปลงจากปลย.83
เรียกว่า
ปืนเล็กสั้นแบบ
91
(ปลส.91)
ปลส.91
ผลิตโดยกรมสรรพาวุธไทยภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
เป็นการนำปืนแบบ
83
มาตัดลำกล้องเพื่อใช้เป็นปืนเล็กสั้นสำหรับตำรวจไทยในปีพุทธศักราช
2491
ใช้กระสุนขนาด
6.5x50sr
ดั้งเดิมของญี่ปุ่น
บนตัวปืนจะมีตราเครื่องหมายของตำรวจติดอยู่
และก้านลูกเลื่อนบ้างก็ถูกทำให้งอลงคล้าย M1
carbine บ้างก็ไม่งอ
ลำดับต่อไปคือปืนของสหรัฐอเมริกาที่มอบให้กับกองทัพ
-
M1 Carbine ขนาด 7.62มม. หรือ ปืนเล็กสั้นบรรจุเองแบบ 87 (ปสบ.87) และ
-
M1 Garand ขนาด 7.62×63มม. หรือ ปืนเล็กยาวบรรจุเองแบบ 88 (ปลยบ.88)
ปืน M1คาร์บิน ไม่ใช่รุ่นสั้นของปืน M1 กาแรนด์ เพราะปืนทั้งสองกระบอกแตกต่างกัน รวมทั้งขนาดกระสุนก็ต่างกัน แต่เนื่องจากปืนทั้งสองกระบอกต่างก็เป็นปืนรุ่นแรกของประเภทของมัน ทำให้ได้รหัส M1 เหมือนกัน
และหลังจากที่ปืน
ปสบ.87
และ
ปลยบ.88
ปลดประจำการไป
ก็ถึงยุคของปืนที่เป็นตำนานของกองทัพอีกกระบอกหนึ่งเข้าประจำการในปีพ.ศ.2511(1968)
นั่นก็คือปืนขนาด
5.56x45มม.
HK 33 หรือ
ปืนเล็กยาวแบบ
11
(ปลย.11)
ของบ.
Heckler & Koch (H&K)
ประเทศเยอรมัน
ซึ่งกองทัพได้ซื้อลิขสิทธ์มาเพื่อผลิตเองในประเทศอีกด้วย
สำหรับปืนเล็กยาวจู่โจมกระบอกล่าสุดที่กองทัพบกซื้อมาประจำการคือปืนขนาด
5.56x45มม.
จากประเทศอิสราเอล
TAR-21
หรือ
ปืนเล็กยาวแบบ
50 (ปลย.50)
ไล่เรียงประวัติปืนเล็กยาวกันมาแล้ว
จะเห็นว่ามีเพียงปืนกระบอกเดียวที่กองทัพผลิตเองทั้งกระบอกโดยซื้อลิขสิทธิ์มา
นอกนั้นเป็นการซื้อสำเร็จ
ไม่ก็จ้างเขาผลิต หรือไม่ก็ดัดแปลงเอง
มันทำให้เกิดคำถามที่คาใจคนไทยว่าในเมื่อเราเคยซื้อลิขสิทธิ์ปืนไรเฟิลจู่โจมมาสร้าง
แล้วเหตุใดจนป่านนี้เราจึงยังไม่สามารถพัฒนาสร้างปืนของเราเอง
เหมือนอย่างเพื่อนบ้านในอาเซียน
สิงคโปร์ พม่า อินโดนีเซีย
หรือ
เกาหลีใต้
โดยล่าสุดเมื่อปีพ.ศ.2557
ประเทศเวียดนามได้ซื้อลิขสิทธิ์ปืนอิสราเอล
Galil
ACE-31&32
ไปผลิตในประเทศ
คำตอบที่ดีที่สุดก็คือกองทัพก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ หลังจากเกิดกรณีจัดหาอาวุธปืนปีพ.ศ.2550 ที่หลายชาติไม่ยอมขายอาวุธให้ จึงเริ่มทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจังในตลอดช่วงระยะหลายๆ
ปีที่ผ่านมา แต่ก็อย่างที่เกริ่นข้างต้น
หนทางมันไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
มันมีแต่หนามกุหลาบขวากขวางไปหมด
ลองไปดูเส้นเวลาของการศึกษาการสร้างปืนไรเฟิลจู่โจมของไทยกัน
จากเท่าที่ขุดค้นดูการศึกษาวิจัยในเรื่องปืนเล็กยาวของไทย
ซึ่งอาจจะมีการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้อีกก็เป็นได้
แต่เท่าที่ขุดพบจากกองวิชาวิศวกรรมสรรพาวุธ
(กวส.สกศ.รร.จปร.)
ก็คือ
-
ในปีพ.ศ.2551 กองวิชาวิศวกรรมสรรพาวุธ (กวส.สกศ.รร.จปร.) ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก วท.กห. ทำโครงการวิจัยอาจารย์ เรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตปืนเล็กยาวในประเทศไทย ได้รับอนุมัติหลักการให้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2553 แต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
-
บัญชีรายชื่อโครงการวิจัยของ นนร. ประจำปี 2551
-
ลำดับที่ 5 การศึกษาความพึงพอใจในคุณลักษระของปืนเล็กยาวที่เหมาะสมกับทหารไทย ; กรณีศึกษา นนร.รร.จปร.
-
ลำดับที่ 11 การศึกษาหาอายุการใช้งานของ ปลย.เอ็ม16 เอ1
-
-
บัญชีรายชื่อโครงการวิจัยของ นนร. ประจำปี 2552
-
ลำดับที่ 6 ศึกษาเปรียบเทียบกลไกการทำงานและโครงสร้างของปืน AK47 กับปืน M16
-
ลำดับที่ 7 ศึกษาเปรียบเทียบกลไกการทำงานและโครงสร้างของปืน HK33 กัับปืน AK47
-
ลำดับที่ 13 ศึกษาเปรียบเทียบกลไกการทำงานและโครงสร้างของปืน TAR21 กับปืน M16
-
ในบัญชีรายชื่อโครงการวิจัยของ
นนร.
มีตั้งแต่ปี
2551-
2555 แต่หลังจากปื
2552
ก็ไม่มีการศึกษาที่เกี่ยวกับปืนเล็กยาวอีกเลย
และทั้งหมดข้างต้นนี้คือเท่าที่ขุดค้นได้มา
แสดงให้ถึงความพยายามในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปหาข้อสรุปในคุณสมบัติของปืนเล็กยาวที่เหมาะกับทหารไทย
แต่ในส่วนของหน่ายงานอื่นก็มีการศึกษาเกี่ยวกับปืนเล็กยาวให้เห็นกันอีก
คือในปีพ.ศ.
2554 จากนิตยสารของ
DTI
เรื่อง
การศึกษาขนาดของเกลียวลำกล้องที่เหมาะสมกับโครงการวิจัยพัฒนาต้นแบบอาวุธปืนเล็กยาว..จากปืน
M16A1
ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยชิ้นนี้คือ
ความแม่นยำและระยะยิงหวังผลขึ้นอยู่กันเสถียรภาพของการหมุนของลูกกระสุน
โดยขนาดของเกลียวลำกล้องจะส่งผลต่อเสถียรภาพการหมุน
และพบว่าขนาดของเกลียวลำกล้องที่เหมาะสมสำหรับปืนที่ได้รับการพัฒนาตามโครงการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศคือ
ขนาด 9
นิ้ว/รอบ
ในปีพ.ศ.2559 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การรับข้อเสนอโครงการทุนพัฒนาศักยภาพนักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพของกองทัพและการป้องกันประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2560 โดยในเอกสารแนบท้ายประกาศ
กลุ่มที่ 4 ระดับเทคโนโลยี 1 วิจัยและพัฒนาผลิตอาวุธประจำกายภายในประเทศ
กรอบโจทย์วิจัย
- วิจัยและพัฒนาปืนเล็กยาว/ปืนซุ่มยิง
- พัฒนาชิ้นส่วนซ่อมของปืนเล็กยาว/ปืนซุ่มยิง
ผลที่ได้คือเดือนกันยายนปีนี้ ได้มีการแสดงผลงานของสถาบันพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่สามารถสร้างปืนซุ่มยิงแบบลูกเลื่อน Bolt-action ขนาด .338 นิ้ว สำหรับนักทำลายใต้น้ำจู่โจม
และเส้นเวลาเส้นสุดท้ายก็คือปีนี้(พ.ศ.2560)
ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง
การรับข้อเสนอโครงการทุนพัฒนาศักยภาพนักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพของกองทัพและการป้องกันประเทศ
ประจำปีงบประมาณ 2561
โดยในเอกสารแนบท้ายประกาศ
กลุ่มที่
1
ระบบอาวุธทางบก
ลำดับ 7
วิจัยออกแบบและพัฒนาปืนเล็กยาวขนาด
5.56
มม.
กรอบโจทย์วิจัย ออกแบบพัฒนาและทดสอบปืนเล็กยาว
ใช้ยิงกระสุนขนาด 5.56
มม.
มาตรฐาน
NATO
-
ลำกล้องปืนยาว 16 นิ้ว แบบ 6 เกลียว หมุนครบรอบที่ระยะ 9 นิ้ว ภายในรูลำกล้องและรังเพลิงเป็นแบบชุดแข็ง (HARD CHROME) ทำงานด้วยแก็ส ลูกเลื่อนหมุนตัวขัดกลอน
-
น้ำหนักปืนไม่รวมซองกระสุนไม่เกิน 3150 กรัม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา |
และแล้วสิ่งที่ทุกคนรอคอยก็เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมขึ้นมาแล้ว ตอนนี้ก็คงเพียงแค่รอดูว่ารูปร่างหน้าของปืนเล็กยาวแห่งชาติของไทยจะออกมาเป็นอย่างไร
จากคุณสมบัติที่เป็นโจทย์ให้มา
หน้าตาก็คงไม่พ้นปืน AR-15
หรือจะออกมาเป็นแบบ
bullpup
คอยลุ้นกันต่อไปว่าจะสำเร็จเมื่อใด
แบบลูกเลื่อนขัดกลอน |
อัพเดท 2 ธันวาคม 2560
ขุดไปพบบล็อกสร้างปืนไรเฟิล AR-15 ด้วยตนเอง ก็เลยลากเอามาประกอบท้ายบทความเพื่อเป็นแนวทางให้กับสถาบันที่จะร่วมพัฒนาปืนเล็กยาวไรเฟิลจู่โจมแห่งชาติ อีกทั้งเพื่อแสดงให้เห็นว่าการพัฒนามันไม่ได้ยาก คู่มือคำแนะนำต่างๆ มีมากมายในอินเตอร์เน็ท อยู่แค่เพียงว่าจะลงมือทำกันรึเปล่า
http://blog.cheaperthandirt.com/definitive-guide-building-ar-15/
No comments:
Post a Comment