เป็นที่มาของบทความนี้ บทเกริ่นนำก็เพื่อพื้นฐานความเข้าใจ บทสรุปทิ้งท้ายก็เจาะลึกในประเด็นเล็กๆ น้อยๆ ลองอ่านกันดู
ท่านสามารถเข้าไปติดตามชมเฟซบุ้คของ DTi ได้โดยการสแกน QR code ตรงมุมล่างซ้ายในภาพ หรือคลิ๊ก https://www.facebook.com/dtithailand |
สภากลาโหมจึงได้อนุมัติแผนแม่บทการวิจัยและพัฒนาจรวดเพื่อความมั่นคงเมื่อปี 2549 และต่อมามีการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อรองรับภารกิจการวิจัยพัฒนาโครงการจรวดและอาวุธนำวิถี ด้วยการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมิตรประเทศและพัฒนาต่อยอดความรู้ด้วยการพึ่งพาตนเอง
สทป. ได้ดำเนินการโครงการวิจัยและพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องระยะยิงไกลแบบไม่นำวิถี DTI-1
ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมิตรประเทศมอบต้นแบบให้กับ กองทัพบก เมื่อปี 2554 และได้วิจัยและพัฒนาสร้างต้นแบบรถยิงและรถบรรจุจรวดแล้วเสร็จและเตรียมการประกอบลูกจรวด เพื่อส่งมอบให้กับกองทัพบกตาม MOU ในปี 2557
ต้นแบบรถยิงและรถบรรจุจรวด DTi-1 |
กองทัพบกมีความต้องการระบบจรวดหลายลำกล้องแบบนำวิถีที่มีความแม่นยำสูงมาใช้งาน แต่จากการประเมินของ สทป. พบว่า การวิจัยระบบนำวิถีตั้งแต่ต้นอาจต้องใช้เวลานานจนอาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการของกองทัพบกได้อย่างทันท่วงที สทป. จึงพิจารณาทางเลือกในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีบางส่วนจากมิตรประเทศ และนำมาสู่ข้อตกลงการวิจัยพัฒนาโดยการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีนำวิถีจากมิตรประเทศและรวมถึง สทป. ได้ใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมของนักวิจัยในการต่อยอดให้ระบบมีความสมบูรณ์ และจะส่งมอบต้นแบบที่รู้จักกันในชื่อ DTI-1G ให้กับกองทัพบกในปี 2560
การดำเนินการพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถี DTI-1G นั้นจะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 เป็นการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมิตรประเทศผ่านการฝึกอบรมในเทคโนโลยีสำคัญ เช่น เทคโนโลยีการออกแบบระบบนำวิถี การส้รางต้นแบบรถฐานยิงจรวดและรถบรรทุกจรวด การประกอบรวมลูกจรวด การฝึกอบรบการใช้งาน การปรนนิบัติบำรุง การยิงทดสอบ และการตรวจรับเอกสารคู่มือทางเทคนิคต่าง ๆ
WS-32 ที่คาดว่า DTi-1G นำเทคโนโลยีนำวิถีมาใช้ อีกทั้งกล่องบรรจุลูกจรวด DTi-1G ก็คล้ายกับ WS-32 |
ส่วนในระยะที่ 2 นั้น เป็นการจัดหา Chasis และการออกแบบสร้างเกราะป้องกันห้องโดยสาร (Amour Cabin) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบรถฐานยิงจรวดและรถบรรทุกจรวด การพัฒนาโรงงานประกอบรวมต้นแบบลูกจรวด (GAT) การจัดหาเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อเตรียมทำวิศวกรรมย้อนกลับ เพื่อดำเนินการส่งมอบจรวดหลายลำกล้อง DTI-1G ให้กับกองทัพบกจำนวน 3 ระบบภายในปี 2560 ต่อไป
นอกจากจรวดหลายลำกล้องแบบนำวิถีแล้ว กองทัพบกยังมีความต้องการยุทโธปกรณ์จรวดระยะยิงปานกลาง โดยให้ สทป. ดำเนินการวิจัยและพัฒนาจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122 มม. สำหรับติดตั้งบนรถสายพาน พร้อมระบบอำนวยการยิง และรถบรรทุก/บรรจุลูกจรวด จะนำเข้ารับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์กองทัพบก ก่อนที่จะส่งมอบต้นแบบให้กับกองทัพ เป็นรายระบบตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป
การพัฒนาจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122 มม. หรือที่รู้จักกันในชื่อของ DTI-2 นั้นเป็นการดำเนินการโดยใช้เทคโนโลยีของนักวิจัยไทยทั้ง 100% ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการทดสอบยิงจะดำเนินการโดยนักวิจัยชาวไทยของ สทป. ซึ่งใช้ประสบการณ์ที่ได้รับจากการวิจัยในโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมาในอดีต
ท่อรองใน และจรวด DTi-2 ขนาด 122 มม.
ทั้งนี้ จรวด DTI-2 จะมีระยะยิงทั้งหมด 3 ระยะคือ
- ระยะยิง 10 กิโลเมตร
- ระยะยิง 30 กิโลเมตร และ
- ระยะยิง 40 กิโลเมตร
โดยเริ่มทำการวิจัยจรวด DTI-2 ระยะยิง 10 กิโลเมตรก่อนเพื่อใช้เป็นจรวดฝึก จากนั้นในขั้นต่อไปจะทำการพัฒนาจรวด DTI-2 ระยะยิง 30 และ 40 กิโลเมตรตามลำดับ ก่อนที่จะก้าวไปสู่จรวด DTI-2 แบบนำวิถี ระยะยิง 40 กิโลเมตร
โดยการดำเนินงานทั้งหมดจะเน้นการใช้วัสดุในประเทศเป็นหลัก และองค์ประกอบหลักของจรวดเช่น ส่วนขับเคลื่อน ดินขับ ตัวจรวด และชุดพวงหางนั้น ได้รับการวิจัยและพัฒนาขึ้น ณ โรงปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาของ สทป. ที่ จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดลพบุรี
ในส่วนหัวรบนั้น สทป. ได้ร่วมมือกับ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในการออกแบบหัวรบโดยใช้เครื่องมือที่ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธมีอยู่แล้วเป็นฐานในการพัฒนา
*****************************
ในเฟซบุ้คของ DTi กล่าวว่า
"DTI ร่วมกับมิตรประเทศทำการทดสอบยิงต้นแบบจรวดหลายลำกล้องนำวิถี DTI-1G ที่มีระยะยิง 150 กิโลเมตร ซึ่งผลการยิงประสบความสำเร็จ จรวดตกกระทบเป้าได้ตามที่ต้องการ"
"การยิง DTI-1G แบ่งเป็นสองชุด ชุดแรกทำการยิงนัดเดียว และชุดที่สองทำการยิงต่อเนื่องจำนวน 4 นัด ซึ่งผลการทดสอบประสบความสำเร็จด้วยดี"
"มิตรประเทศ" ก็หมายถึง ประเทศจีน อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะจรวด DTi ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศจีน
"จรวด DTi-1G" ก็คือจรวด DTi-1 ที่ติดตั้งระบบนำวิถี
สำหรับสถานที่ทดสอบยิง ก็น่าจะเป็นแถวทะเลทรายโกบี ที่อยู่ทางตอนเหนือติดกับพรมแดนประเทศมองโกล
ภาพการยิงทดสอบจากเฟซบุ้คของ DTi มีเพียงการยิงชุดแรกแบบนัดเดียว ไม่มีภาพของการยิงชุดที่สอง ยิงต่อเนื่องสี่นัด
ลองมาดูความเป็นไปได้ว่ารถที่ใช้ยิงทดสอบ DTi-1G เป็นรถที่พัฒนาสำหรับ DTi-1G ตามแผนในระยะที่สอง ใช่หรือไม่
"ส่วนในระยะที่ 2 นั้น เป็นการจัดหา Chasis และการออกแบบสร้างเกราะป้องกันห้องโดยสาร (Amour Cabin) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบรถฐานยิงจรวดและรถบรรทุกจรวด"
เริ่มจากตัวรถทีึ่ใช้ทดสอบยิว DTi-1G แคสซีรถแบบ 12x12 ซึ่งจะแตกต่างจากรถ DTi-1 ที่เป็นรถบรรทุกทั่วไป
ส่วนปลายของไฮโดรลิคและข้างหัวแคร่รองจรวด ก็แตกต่างกัน
แม้ว่าส่วนต่างๆ ที่นำเสนอข้างต้นจะแตกต่างไปจากรถ DTi-1 แต่ส่วนที่ทำให้คิดว่าน่าจะเป็นรถที่ออกแบบสำหรับ DTi-1G ก็คือ หัวรถ
เพราะมีการออกแบบไปในทางเดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากหัวรถของจีน ที่ด้านข้างจะเรียบ ไม่ได้ตีโป่งด้านข้างออกมาเหมือนไทย รวมทั้งหน้าต่างขอบเฉียง
No comments:
Post a Comment