แต่ก็ขออนุญาตท่านบก.นิตยสาร สมรภูมิ สมพงษ์ นนท์อาสา นำภาพมาเผยแพร่ให้กับผู้ที่พลาดไม่ได้ไปชมงาน
โดยจะเน้นเฉพาะที่สร้างด้วยฝีมือคนไทย หรือร่วมมือกับต่างชาติในการพัฒนาเท่านั้น จะมีอะไรบ้างลองไปชมข้อมูลในส่วนของยุทโธปกรณ์ของไทยที่นำมาร่วมแสดงในงานกันก่อน
ในงาน Defense and Security 2019 นอกจากเราจะได้พบกับเทคโนโลยีใหม่ๆจากบริษัทผู้ผลิตจากทั่วโลกแล้ว เรายังจะได้พบกับยุทธโธปกรณ์ที่ทั้งวิจัยและพัฒนาเอง และ ร่วมกับบริษัทเอกชน จาก หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหม และ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(DTI) อีกด้วย มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรเด็ดบ้างสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม
- ปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบ 155 มม. อัตตาจรล้อยาง M758 (ATMG)
- เครื่องยิงลูกระเบิด 120 มม อัตราจรล้อยาง M361 (ATMM)
- โครงการระบบสั่งการทางทหารจากสมาร์ทโฟนผ่านวิทยุสื่อสาร
- ผลิตภัณฑ์ดินส่งกระสุนและกระสุนครบนัด
กองทัพบก
- โครงการสาธิตและพัฒนาแพ็คแบตเตอรี่สำหรับการใช้งาน
- ด้านยุทโธปกรณ์ (สำหรับ ปบค.49 ขนาด 105 มม. แบบ M119)
- โครงการพัฒนาปืนไรเฟิลซุ่มยิง ขนาด .338 มม.และการพัฒนาต้นแบบปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มม.
- โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาปืนกลมือ (Submachine Gun)
- หุ่นยนต์กู้ภัยและสำรวจ Rescue and Survey Robot
กองทัพเรือ
- โครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้นักบินแบบนารายณ์ 3.0
- โครงการวิจัยและพัฒนาทุ่นระเบิด ทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน
- ระบบอากาศยานไร้นักบินเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System - MARCUS)
กองทัพอากาศ
- โครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่แบบ F-5 super tigris
- บ.เป้าอากาศ Snipe MK5
- รถปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารระบบอากาศยานไร้คนขับ
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(DTI)
- ยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก (AAPC)
- ยานภาคพื้นไร้คนขับ (Unmanned Ground Vehicle: UGV)
- เครื่องฝึกจำลองยุทธของพลขับรถถัง
ผลงานเหล่านี้จะถูกนำมาตั้งแสดงให้ชมกันที่บูธของกระทรวงกลาโหม สามารถแวะไปเยี่ยมชมและให้กำลังใจกันได้
เริ่มต้นกันที่ สถาบัน DTI นำยานเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก 8x8 ของนาวิกโยธิน AAPC และยานเกราะ Black Widow Spider มาโชว์ตัวทั้งสองคัน
ยาน AAPC และ Black Widow Spider ถ่ายโดย Rangsivat Inon |
ยานภาคพื้นไร้คนขับ (Unmanned Ground Vehicle: UGV) THeMIS เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้
เป็นการร่วมมือระหว่าง DTI บริษัท MILREM ROBOTICS(เอสโตเนีย) AND Electro Optic Systems(EOS) (ออสเตรเลีย)
THeMIS Hybrid UGV |
ระบบไฟฟ้าจะอยู่ทางด้านขวาของคัวรถส่วนเครื่องยนต์ดีเซลจะอยู่ทางด้านซ้ายของตัวรถ
ภาพจาก Tanapat Punsumrit |
- ตัวรถมีขนาด 240 ซม. x 200 ซม. x 115 ซม.
- น้ำหนัก 1,630 กิโลกรัม (เฉพาะตัวรถ)
- รวมปืนจะมีน้ำหนัก ประมาณ 1,700 กิโลกรัม
- ตัวรถสามารถบรรทุกได้ 750 กิโลกรัม
- สามารถบรรทุกสูงสุด 1,200 กิโลกรัม
- ความเร็วสูงสุด 25 ก.ม./ช.ม.
- มีระยะการทำการสูงสุด 50 กิโลเมตร
- ติดตั้งปืนขนาด 30 มม.
ส่วนป้อมปืนจาก Electric Optic System (EOS)
สามารถถอดเปลี่ยนป้อมปืน เป็น ชุดเครนหรือชุดคีบสำหรับกู้ระเบิด และสามารถเปลียนเป็นรถพยาบาลได้ ราคาต่อคัน 40 ล้านบาท รวมป้อมปืนเป็น 70 ล้านบาท...(ข้อมูลและภาพจาก @Tanapat Punsumrit)
นอกเหนือจากนั้นสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) ยังร่วมกับบ. Elbit Systems ประเทศอิสราเอล ร่วมกันผลิตยานยนต์ D11 A ใช้ตัวรถ TATRA 6x6 ของสาธารณรัฐเช็ก โดยอิสราเอลจะถ่ายทอดเทคโนโลยี่การผลิตให้กับไทย
ยานยนต์ D11 A |
จรวด Accular ขนาด 122 มม. ระยะยิง 45 กิโลเมตร
จรวด EXTRA ขนาด 300 มม. ระยะยิง 30-150 กิโลเมตร
จรวด Predator Hawk ขนาด 370 มม. ระยะยิง 50-300 กิโลเมตร
(ข้อมูลและภาพจาก @Tanapat Punsumrit)
สถาบันบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เปิดตัวยานเกราะบังคับการ ACPC หรือ BTR-3CS
ซึ่งโครงการนี้เป็นการร่วมมือกับบริษัท ดาต้าเกต จำกัด
ACPC / BTR-3CS |
ส่วนของกองทัพเรือ ไม่สามารถหาภาพของ โดรนนารายณ์ 3.0 และ โดรน MARCUS (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) ที่ถ่ายในงานนี้ได้ ต้องขออภัยด้วย
ด้านกองทัพบกก็ไม่มีภาพของ ปบค.49 ขนาด 105 มม. แบบ M119 จึงไปนำคลิปจากในยูทูป มาให้ชมกันแทน
นอกจากนั้นก็มีโครงการพัฒนาปืนไรเฟิลซุ่มยิง ขนาด .338 มม.และการพัฒนาต้นแบบปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มม.
สำหรับกองทัพอากาศมีภาพเพียงโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่แบบ F-5 super tigris
ในส่วนของสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม มีภาพข่าวมาสองโครงการคือ ปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบ 155 มม. อัตตาจรล้อยาง M758 (ATMG)
ภาพจาก บก.สมพงษ์ นนท์อาสา |
และเครื่องยิงลูกระเบิด 120 มม อัตราจรล้อยาง M361 (ATMM)
ภาพจาก Rangsivat Inon |
บริษัท ชัยเสรีเม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัด ผู้ผลิตยานยนต์หุ้มเกราะอันดับต้นๆของไทย เปิดตัวยานเกราะล้อยาง 4x4 รุ่นล่าสุดในงาน (คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
NEW!.. First Win AWAV รถ 4x4 สะเทินน้ำสะเทินบกคันแรก ! ภาพที่เห็นทั้งหมดนี้คือรถเกราะล้อยาง 4x4 First Win AWAV(Armoured Wheel Amphibious Vehicle) ออกแบบและสร้างโดยบริษัทชัยเสรี จุดประสงค์คือสามารถปฏิบัติการทั้งบนบกและในน้ำได้เป็นอย่างดี โดยติดตั้งชุดขับเคลื่อนในน้ำแบบวอเตอร์เจ็ตจำนวน 2 ตัวไว้ที่ด้านหลัง เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนในน้ำ พร้อมทั้งติดตั้งแผ่นกันคลื่นไว้ด้านหน้าด้วย นับเป็นรถเกราะขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถว่ายน้ำได้ คันนี้เป็นรถต้นแบบที่สร้างคันแรกและจะมีการทดสอบต่อไป ชัยเสรีหวังว่ารถ First Win AWAV มีจุดเด่นที่จะขายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในงาน DEFENSE & SECURITY 2019 ที่เมืองทองธานี จะตั้งแสดงที่บริเวณทะเลสาบ ตรงลานสาธิต ...ไปชมกันได้ทุกวัน ...Photo Sompong Nondhasa
ALV |
NEW! First Win ALV… จิ๋วแต่แจ๋ว! ผลงานล่าสุดของชัยเสรีอีกแบบหนึ่งก็คือรถเกราะล้อยาง 4x4 First Win ALV (Armoured Light Vehicle) เป็นรถ First Win ที่ย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลง มีน้ำหนักเพียง 8 ตัน เครื่องยนต์ขนาด 215 แรงม้า บรรทุกทหารได้ 8 คน เกราะกันกระสุนระดับ Level1-2 สามารถป้องกันกระสุนขนาด 7.62 มม.ได้ มีความคล่องแคล่วรวดเร็วในการเคลื่อนที่ ทั้งบนถนนและในภูมิประเทศ เหมาะสำหรับเป็นรถลาดตระเวณ ใช้งานในหน่วยทหารม้าลาดตระเวน หน่วยปฏิบัติการพิเศษของทหารและตำรวจ สามารถติดตั้งอาวุธได้หลากหลายรวมถึงอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง สร้างมาเพื่อการทดแทนรถฮัมวี่ติดเกราะ ซึ่งมีราคาแพงมาก กองทัพประเทศที่มีงป.น้อยไม่สามารถซื้อมาใช้งานได้ ...เจ้า First Win ALV จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ...Photo Sompong Nondhasa
ATV |
โฉมหน้า First Win ATV 4x4 ใหม่ล่าสุดจากชัยเสรี! ภาพที่เห็นอยู่นี้คือยานเกราะล้อยางทางยุทธวิธี (Armored Tacticle Vehicle = ATV) เป็นรถเกราะกันกระสุนใช้ในภารกิจลาดตระเวณตรวจการณ์หน้า ปฏิบัติการในพื้นที่เสี่ยงอันตรายจากการถูกโจมตี ออกแบบเกราะด้านหน้าโค้งมน เพื่อให้กระสุนจากการถูกยิงจากด้านหน้าแฉลบออกไป ลดแรงปะทะโดยตรง ....ชัยเสรีได้สร้างรถ First Win ATV ขึ้นมาอีก 1 รุ่นคือ First Win ATV II แตกต่างที่ด้านหน้ารถเล็กน้อย หน้าตาและรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปชมกันได้ที่ งาน DEFENSE & SECURITY 2019 ที่เมืองทองธานีในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ ..Photo Sompong Nondhasa
ATV II |
เปิดตัว First Win ขายให้อินโดนีเซียแล้ว ! รถ First Win สีดำที่ตั้งแสดงในบูธของชัยเสรี แต่ติดตราในชื่อ “HANOMAN” ซึ่งเป็นชื่อเรียกในภาษาอินโดฯ สามารถติดตั้งระบบอาวุธอัตโนมัติพร้อมระบบตรวจจับการสั่นสะเทือนที่เกิดจากการโจมตีด้วยอาวุธจากรอบข้าง ซึ่งมันจะทำการยิงด้วยอาวุธตอบโต้โดยอัตโนมัติ โดยชัยเสรีได้ประสบความสำเร็จในการขายให้กับต่างประเทศรายล่าสุด ได้มีการส่งมอบล็อตแรกไปแล้วเมื่อกลางปีที่ผ่านมา และได้เปิดเผยในการสวนสนามวันกองทัพอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2562 ด้วย อินโดนีเซียนับเป็นลูกค้ารายที่ 2 ที่มี First Win ไว้ใช้งานต่อจากมาเลเซีย การที่จะตั้งชื่อรถ First Win เป็นชื่อของตนเอง หรือซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตเองจะต้องมีการสั่งจำนวนมากกว่า 100 คันขึ้นไป แต่มีข้อแม้ว่าล็อตแรกๆไม่ต่ำกว่า 50 คันต้องผลิตในประเทศไทยโดยชัยเสรี ...พบกับ “HANOMAN” ในร่างกายสีดำสนิทได้ที่บูธของชัยเสรีได้ในงาน DEFENSE & SECURITY 2019 ...Photo Sompong Nondhasa
Hanoman |
บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด น้องใหม่ของวงการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ แต่เป็นมือเก๋าของวงการผลิตรถพ่วง เปิดตัวยานเกราะ R600 และ AFV-420 ใน Defense and Security เป็นครั้งแรกที่บริษัทพัฒนาขึ้นเองภายในประเทศมาแสดงในงานเป็นครั้งแรก ไปชมกันได้ที่ บูท C01
ยานเกราะ 8x8 R600 จุดเด่นในงาน Defense & Security 2019 ที่เมืองทองธานี ติดตั้งระบบกล้องตรวจการณ์ของ RV CONNEX (ที่เห็นเป็นเสาสีขาวสูงๆท้ายรถ) ภายในติดตั้งจอแสดงผล พร้อมคอมพิวเตอร์และเก้าอี้นิรภัยลดแรงระเบิด ปรับความเหมาะสมได้ สำหรับเจ้าหน้าที่ประจำรถ นอกจากนี้ยังมีภาพในห้องพลขับให้ชมด้วย โดยรุ่นนี้ใช้เป็นรถสำหรับการตรวจการณ์...ภายในของ R600 สามารถปรับแต่งติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆได้หลากหลายรวมถึงชนิดและจำนวนของเก้าอี้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับภารกิจและการใช้งานในรูปแบต่างๆ ...Photo Sompong Nondhasa
ยานรบหุ้มเกราะใหม่ล่าสุด AFV-420P “ Mosquito ” มิติใหม่ คนไทยสร้าง ! AFV-420P ( Armoured Fighting Vehicle-420 Pamus ) ผลงานล่าสุด ณ ปัจจุบัน ของบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ โดยพัฒนามาจาก HMV-420 รุ่นบรรทุกทหารราบ
AFV-420P มีน้ำหนักเปล่า 15.84 ตัน น้ำหนักบรรทุก 1.5 ตัน ตัวรถยาว 6.72 ม. กว้าง 2.86 ม. สูง 2.98 ม. ระยะสูงพ้นพื้นต่ำสุดใต้ท้องรถ 0.61 ม. ลุยน้ำลึก 1.5 ม. มีความเร็วสูงสุดบนถนน 110 กม./ชม. จุดเด่นของ AFV 420P ก็คือมีเสียงเงียบมาก และมีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่สูง มีวงเลี้ยวที่แคบเมื่อเลี้ยวแบบ 4 ล้อ
บริษัท มาร์ซัน จำกัด อู่ต่อเรือคุณภาพชั้นนำของคนไทย มีผลงานการต่อเรือรบณภาพสูงให้กับกองทัพเรือมาแล้วมากมาย พบกันได้ที่บูท Y09
RV Connex ผู้ผลิตและพัฒนาอากาสยานไร้คนขับ(UAV) แบบ RTAF U 1 เปิดตัวโดรนติดอาวุธฝีมือคนไทยครั้งแรก เจอได้ที่บูท B01
Sky Scout โดรนติดอาวุธ |
บริษัท ดีอาร์ซี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสารของไทย ที่มีผลงานการพัฒนาระบบสื่อสารและวิทยุทางทหาร สามารถพบกับผลงานได้
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
- บก.สมพงษ์ นนท์อาสา
- คุณธนภัทร พันธุ์สัมฤทธิ์
- คุณ Rangsivat Inon
- เหยี่ยวข่าววาสนา นาน่วม
- กองงาน Defense&Security 2019
- สถาบัน DTI
- กองทัพอากาศไทย
อัพเดท 28 ธ.ค.2562 คลิปในงานฯ
No comments:
Post a Comment