เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Tuesday, December 17, 2019

ทอ.จะซื้อเครื่องบินใหม่

หลังจากมีข่าวออกมาว่ากองทัพอากาศจะซื้อเครื่องบินใหม่เพื่อทดแทนเครื่องบิน F-16 ที่จะปลดประจำการโดยตั้งบประมาณระยะแรก 5,000 ล้านบาท ทำให้ประเด็นพูดคุยกันอย่างกว้างขวางว่า กองทัพอากาศจะจัดหาเครื่องบินรุ่นใด




ดังนั้นวันนี้จึงมาแสดงความคิดเห็นในเวปฯ ของตัวเองโดยไม่ไปแสดงในเพจอื่นๆ เนื่องจากจะเป็นการล่อเป้าเกินไปเพราะความคิดเห็นนี้เป็นเพียงการวิเคราะห์ข้อมูลจากคนธรรมดาทั่วไปที่ไม่มีความรู้เรื่องการรบด้วยเครื่องบิน

จากการฝึกซ้อมรบทางอากาศกับประเทศจีนภายในชื่อรหัส Falcon Strike-2015

ผลลัพธ์ของการฝึกแสดงให้เห็น แสดงให้เห็นถึงถึงขีดความสามารถเครื่องบินไทยในการต่อสู้ระยะประชิดแบบตัวต่อตัวนั้น ไม่สามารถต่อกรกับเครื่องบินที่มีความคล่องตัวสูงอย่าง J-11A ของจีน หรือ Su-27 ของรัสเซีย อันนี้คือประเด็นหนึ่ง


แต่นัยกลับกันผลลัพธ์ในการต่อสู้แบบทีมและรบนอกระยะสายตาเครื่องบิน J-11A ของจีน ก็ไม่สามารถต่อกรกับเครื่องบินของไทยได้ แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการรบระบบเครือข่าย อันนี้คือประเด็นที่สอง

ดังนั้นโจทย์ในการจัดหาเครื่องบินใหม่ของกองทัพอากาศครั้งนี้น่าจะพิจารณาเครื่องบินจากองค์ประกอบทั้งสองประเด็นที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กล่าวคือเครื่องบินรุ่นใหม่จะต้องมีความคล่องตัวสูงและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลในเครือข่ายระบบการบของไทยได้

คราวนี้คราวนี้ลองมาพิจารณาเดาดูว่าเครื่องบินรุ่นใดบ้างที่น่าจะเข้าข่ายตามสองประเด็นข้างต้น

ลองมาดูประเด็นแรกกันก่อน ความคล่องตัว
โจทย์ประเด็นนี้คือ ตัวตั้งคือเครื่องบิน J-11A หรือ Su-27 (ยังไม่ต้องคำนึงถึงรุ่นอื่นๆ อย่าง Su-30 และ Su-35)

แล้วคราวนี้ลองพิจารณาเครื่องบินที่มีโอกาสที่ทอ.ไทยจะจัดหากันได้

  • ลำแรกเลย เครื่องบิน F-16 รุ่นนี้เลือกเอารุ่นล่าสุดเลย F-16V
  • ลำที่สอง เครื่องบิน Jas-39 รุ่นนี้เราก็เลือกเอารุ่นล่าสุดตามกระดาษเลย Jas-39 E/F
  • ลำที่สาม เครื่องบิน F-35 ลำนี้ก็น่าจะมีโอกาสจับหาได้หากราคาลดลงมาต่ำกว่าลำละ $80 ล้านเหรียญ

(ถ้าทอ.ไทยซื้อเครื่องบินที่ระดับราคา $80 ล้านเหรียญได้ เครื่องบิน Rafale และ Eurofighter ก็อยู่ในข่ายเช่นกัน แต่จะไม่พูดถึงสองลำนี้)

F-16V
ลำแรกเครื่องบิน F-16V เรื่องความคล่องตัวก็สู้ Su-27 ไม่ได้ เพราะแผนแบบโครงสร้างยังไงก็ยังเป็น F-16 เหมือนเดิมเพียงแค่เปลี่ยนเครื่องยนต์และระบบอิเลคโทรนิค ทั้งนี้อาศัยข้อมูลการรบระยะประชิดจำลองของ F-16 กับ Su-27 จาก
https://theaviationgeekclub.com/su-27-pilot-remembers-mock-dogfight-he-had-against-nato-f-16s-that-were-trying-to-violate-russian-airspace/ เขียนไว้ว่า
เครื่องบิน Su-27 ได้เปรียบกว่าที่ระดับ 10,000 เมตร (32,810 ฟุต)
เครื่องบิน F-16 เคยต่อสู้ตัวต่อตัวแบบ dogfight กับ Su-27 ในสหรัฐฯ ที่ Area 51 เมื่อปีพ.ศ.2559 เข้าไปชมภาพกันได้ที่
https://theaviationist.com/2017/01/06/these-crazy-photos-show-a-russian-su-27-flanker-dogfighting-with-a-u-s-air-force-f-16-inside-area-51/


JAS-39E
คราวนี้ลำที่สอง Jas-39 E/F
ผลลัพธ์ก็คงอย่างที่ทราบๆ กันแล้ว ว่าสู้ไม่ได้แน่นอน เพราะแผนแบบโครงสร้างก็ยังเหมือนเดิม เพียงแค่ใบ canard ใหญ่ขึ้น เปลี่ยนเครื่องยนต์และระบบอิเลคโทรนิค และอาศัยข้อมูลจาก https://aviatia.net/jas-39-gripen-vs-sukhoi-su-27/
JAS-39 ควรเปรียบกับ F-16 หรือ J-10 ในขณะที่ SU-27 ควรจะนำไปเปรียบกับ F-15.


F-35
ลำที่สาม F-35
ไม่สามารถค้นหาข้อมูลมายืนยันได้ แต่คาดว่าความคล่องตัวก็ไม่น่าจะสู้ Su-27 ได้เช่นเดียวกัน เพราะใน https://www.quora.com/Is-the-F-35-really-a-sitting-duck-for-the-SU-27-Flanker กล่าวไว้ว่า
F35 ไม่สามารถเลี้ยวได้ค่อนข้างเร็ว
สรุปคือด้านความคล่องตัวแล้ว เครื่องบินในฝันของไทยทั้งสามแบบ ไม่สามารถต่อกรกับเครื่องบิน Su-27 ในการรบระยะประชิดแต่ตัวต่อตัวได้เลย
ตรงจุดนี้ขอขี้แจ้งเพื่อสร้างความเข้าใจกันเสียก่อน ป้องกันไม่ให้เข้าใจไขว่เขวและเป็นประเด็น ไม่ใช่ว่าเครื่องบิน J-11 หรือ Su-27 จะไม่มีเครื่องบินใดต่อกรได้

แต่ประเทศไทยไม่มีงบประมาณที่จะสร้างกำลังทางอากาศในลักษณะเชิงรุก เราจึงเลือกที่จะสร้างในลักษณะเชิงรับ ดังนั้นตัวเลือกที่คัดมาจึงอ้างอิงจากเครื่องบินที่มีใช้อยู่


ตอนนี้ก็มีถึงประเด็นที่สองกัน สามารถเชื่อมโยงข้อมูลในเครือข่ายระบบการบของไทยได้
ตรงนี้บอกได้เลยว่าเครื่องบินทั้งสามลำคือ F-16 Jas-39 และ F-35 รองรับได้แน่นอน เพียงแค่ Jas-39 จะมีความได้เปรียบมีภาษีดีกว่าเครื่องบินของสหรัฐฯ ที่ต้องขออนุมัติขออนุญาตจากอเมริกาก่อน

การที่ไทยเลือกการรบแบบเครือข่ายนั้น นับว่าถูกต้องแล้วเนื่องจากเราสู้ความคล่องตัวในการรบระยะประชิดไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องใช้ความได้เปรียบจากการรบนอกระยะสายตาหรือรบเป็นทีม ซึ่งแนวคิดนี้ก็ตรงกับแนวการรบทางอากาศสมัยใหม่ โดยอ้างอิงข้อสนับสนุนจาก https://www.quora.com/Is-the-F-35-really-a-sitting-duck-for-the-SU-27-Flanker ที่ว่า
"Modern A2A combat is BVR." การรบทางอากาศยุคใหม่คือ การรบนอกระยะสายตา

แล้วเครื่องบินลำใดเหมาะสมกับยุทธศาสตร์ของไทยมากที่สุด
ในใจก็นึกอยากได้เครื่องบิน F-35 มากที่สุด การจัดหาก็สามารถทำได้ด้วยการจัดมาครั้งละ 2-3 ลำ รองลงมาก็อยากได้เครื่องบิน F-16V ลำนี้ก็ค่อยจัดหาทีละ 2-3 ลำเช่นเดียวกันได้

ส่วนเครื่องบิน Jas-39E นั้นจากบทความของ https://www.businessinsider.com/sweden-built-a-russian-fighter-jet-killer-and-stealth-is-irrelevant-2019-2 พาดหัวว่า
Gripen E fighter jets are designed to kill Russia's fearsome Sukhoi fighter jets,
เครื่องบินรบ กริพเพน อี ออกแบบมาเพื่อสังหารเครื่องบินสุโคยที่น่ากลัวของรัสเซีย 
The Gripen E can't carry the most weapons and has no real stealth. And it isn't the longest-range, fastest, or even cheapest jet. But it has a massive and respected electronic-warfare capability.
กริพเพน อี ไม่สามารถพกพาอาวุธได้มากที่สุดและไม่ได้ล่องหนจริงๆ และมันไม่ได้เป็นเครื่องบินระยะไกลที่เร็วที่สุดหรือแม้แต่เครื่องบินที่ถูกที่สุด แต่มันมีขีดความสามารถในการสงครามอิเล็คทรอนิคส์ที่ต้องซูฮก 
The Gripen E is Sweden's cheap solution to killing Russia's fighter jets and surface-to-air missiles
กริพเพน อี เป็นวิธีแก้ที่ราคาถูกในการสังหารเครื่องบินรบและจรวดพื้นผิวสู่อากาศของรัสเซีย

ประกอบกับเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการบินต่อชั่วโมงแล้ว เครื่องบินลำที่ถูกเลือกคงต้องตอบโจทย์เรื่องงบประมาณทุกด้านด้วย

เห็นตารางค่าใช้จ่ายในการบินต่อชั่วโมงแบบนี้ ฝันที่วาดไปคงดับวูบ ต้องกลับไปลุ้นดูค่าตัวระหว่าง F-16V กับ JAS-39 E/F ใครจะถูกกว่ากัน

ท้ายสุดนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่หลงกลติดตามอ่านมาจนจบ เพราะทั้งหมดนี้เป็นการเพ้อเจ้อฝันกลางของผมคนเดียว...ทุกคนตื่นได้แล้ว 😄

อัพเดท 28 ธันวา 2562
จากข่าวที่โพสใน FB ทำให้เกิดตัวเลือกอีกตัวหนึ่งขึ้นมาคือบ.F-15 รายละเอียดติดตามอ่านในช่อง Facebook ได้ 

No comments:

Post a Comment