เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Friday, July 27, 2018

หลักสูตรรบพิเศษของกองทัพไทย

วันนี้ัมานำเสนอหลักสูตรรบพิเศษของกองทัพไทย ที่สร้างวีรบุรุษในสนามรบมาแล้วมากมาย เรามาดูกันว่าหลักสูตรรบพิเศษที่น่าสนใจและเป็นที่หมายปองของเหล่าบุคคลในเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจ มีอะไรกันบ้าง และมีความยากลำบากรวมมทั้งระยะเวลาในการฝึกกันอย่างไร




ถ้าพูดถึงสุดยอดของทหารตำรวจ  คงไม่พ้นทหารตำรวจที่ผ่านการฝึกหลักสูตรรบพิเศษในแขนงต่างๆ ทั้งสี่เหล่าทัพ ซึ่งปีกของรบพิเศษของแต่ละเหล่าทัพไม่ได้มาง่ายๆ เลยครับ โดยแต่ละเหล่าทัพทั้ง 4 เหล่าก็จะมีหลักสูตรรบพิเศษที่เชื่อได้ว่าเป็นความไฝ่ฝันของชายชาติทหารตำรวจเลยทีเดียว ที่จะสอยมาประดับที่หน้าอกเบื้องซ้ายและขวา แต่กว่าจะได้มาประดับนั้นมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ  โดยเฉพาะ 8 หลักสูตรที่จะเล่าให้ฟังถือได้ว่าเป็น
หลักสูตรรบพิเศษ…ยอดคนโดยอย่างแท้จริง

1.หลักสูตรทหารเสือราชินี
หลักสูตรนี้น่าจะได้ชื่อว่าเป็นตัวท๊อป ระดับต้นๆ พอๆ กับ การรบแบบจู่โจมก็ว่าได้ครับ
ผู้ที่เข้ารับการฝึกหลักสูตรทหารเสือ กำหนดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติไว้คือ ต้องเป็นกำลังพลนายทหารสัญญาบัตรและนายทหารประทวน ที่รับราชการ อยู่ใน หน่วย กรม ร.21 รอ. หรือหน่วยขึ้นตรงบางส่วนที่ ทบ.จะได้กำหนด โดยผ่านการทดสอบร่างกาย การสัมภาษณ์ และตรวจโรค สำหรับการจัดกำลังเข้ารับการฝึก แบ่งเป็นชุดปฏิบัติการประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตร 1 นาย นายทหารประทวน 5 นาย รวม 12-13 ชุดปฏิบัติการ (อาจแปรเปลี่ยนไปตามกำลังพลที่เข้ารับการฝึกจริง) กำหนดให้มีการฝึกผสมผสานในทุกรูปแบบ ระยะเวลา 16 สัปดาห์ แบ่งการฝึกออกเป็น 5 ภาค คือ ภาคที่ตั้ง ภาคป่าภูเขา ภาคทะเล ภาคปฏิบัติการในเมือง ภาคอากาศ โดยอาจใช้ครูฝึกทั้งจาก ทบ., ทร. และ ตร. มาช่วยเคี่ยวเข็ญลูกศิษย์ให้สำเร็จ
ระยะเวลาการฝึกจัดมีการจัด 2 ปีต่อ 1 รุ่น โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาการฝึกแบบต่างๆ รวม 16 สัปดาห์ ดังนี้
  • การฝึกภาคที่ 1 ฝึกฝนร่างกายและจิตใจเพื่อให้มีวินัยและความอดทน เวลา 4 สัปดาห์ หากผ่านการฝึกฝนนี้จึงจะสามารถเข้าสู่การฝึกขั้นต่อไป
  • การฝึกภาคที่ 2 ฝึกภาคภูเขาและป่าเน้นฝึกการโจมตีโดยแทรกซึมทางอากาศด้วยพาหนะอากาศยาน แทรกซึมทางพื้นดินในลักษณะชุดปฏิบัติการ หน่วยทหารเฉพาะกิจเล็ก หรือลักษณะของกำลังกองโจร การฝึกเดินป่า ฝึกขี่ม้า และยานพาหนะภาคพื้นดินทุกชนิด รวมทั้งการศึกษาโครงการในพระราชดำริด้วย การฝึกในภาคที่ 2 นี้ใช้เวลา 4 สัปดาห์
  • การฝึกภาคที่ 3 ฝึกภาคทะเลเน้นการโจมตีโดยแทรกซึมทางน้ำในทุกรูปแบบ ทั้งการดำน้ำ การลาดตระเวนตามชายฝั่ง ยุทธวิธีสะเทินน้ำสะเทินบก การดำรงชีวิตในทะเลและประเพณีต่างๆ ของชาวทะเล การฝึกโดดร่มลงทะเล การฝึกในภาคที่ 3 นี้ใช้เวลา 3 สัปดาห์
  • การฝึกภาคที่ 4 ฝึกภาคปฏิบัติการในเมืองเน้นการปฏิบัติการ และโจมตีบริเวณพื้นที่ที่เป็นสิ่งปลูกสร้างในรูปแบบต่างๆ ที่อยู่ในเมือง การขับขี่จักรยานยนต์เพื่อติดตามเหล่าร้าย การชิงตัวประกัน และยุทธวิธีต่อต้านการก่อการร้ายในรูปแบบต่าง ๆ การฝึกในภาคที่ 4 นี้ใช้เวลา 3 สัปดาห์
  • การฝึกภาคที่ 5 ฝึกภาคอากาศเน้นการฝึกทักษะและความสามารถให้ชำนาญด้านการกระโดดร่มในทุกแบบทุกสถานการณ์ การฝึกในภาคที่ 5 นี้ใช้เวลา 2 สัปดาห์
เมื่อกำลังพลเหล่านั้นสามารถฝึกจนผ่านภาคสุดท้าย เขาก็จะได้ชื่อว่าเป็น ทหารเสือราชินี ที่มีความแข็งแกร่งและมีความสามารถอย่างเต็มภาคภูมิ และจะได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติทหารเสือเป็นเข็มโลหะรูปหัวใจสีม่วง มีพระนามาภิไธยย่อ สก. อยู่ตรงกลาง สองข้างจะมีรูปเสือที่ทะยานอยู่เหนือก้อนเมฆ ภูเขา และเกลียวคลื่นทะเล และด้านล่างเป็นรูปผ้าแพรสีฟ้าเขียนข้อความว่า “ทหารเสือ”
เครื่องหมายหน่วยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ องค์ผู้บังคับการพิเศษ กรม ร.21 รอ. ทรงพระราชทานแก่กำลังพลทุกนายให้ระลึกเสมอว่า "หัวใจสีม่วงประดับพระนามาภิไธยย่อ สก. หัวใจสีม่วงหมายถึงผู้บริสุทธิ์มีความซื่อสัตย์สุจริต และจริงใจเป็นที่ตั้ง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ใกล้ตายจะมีหัวใจกลายจากสีแดงเป็นสีม่วง ในห้วงเวลานั้น บุคคลผู้นั้นจะไม่มีการพูดปดโกหกหรือปิดบังสิ่งใดๆ พระองค์จึงทรงพระราชทานแก่กำลังพลทุกนายด้วยทรงมุ่งหวังให้ทหารเสือทุกนายเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต และจงรักภักดีต่อสถาบัน ส่วนพระนามภิไธยย่อหมายถึงพระองค์ท่านองค์ผู้พระราชทานกำเนิดทหารเสือ"

2.หลักสูตรการรบแบบจู่โจม (แรงเยอร์) หรือ เสือคาบดาบ
หลักสูตรการรบแบบจู่โจม หรือ เสือคาบดาบเป็นหลักสูตรหลักของกองทัพบก เน้นการลาดตระเวณ ระดับหมู่ ประกอบด้วย ภาคที่ตั้ง ภาคป่าเล็กหรือป่าราบ  ภาคทะเล  ภาคป่าภูเขา

ถือว่าเป็นหลักสูตร ที่เป็นทีหมายปองสำหรับ ทหารหารทั้งหลาย  ว่าซักครั้งในชีวิตต้องเอามาประดับบ่าเบื้องขวาให้ได้…

หลักสูตร จู่โจม หรือที่รู้จักในชื่อ เสือคาบดาบ นั้น แท้จริงเป็นเครื่องหมายประดับหน้าอกเพื่อแสดงความสามารถ ความเป็นผู้นำหน่วย ความทรหด อดทน ของทหารที่สำเร็จการฝึกหลักสูตรจู่โจม ของกองทัพบก  โดยศูนย์สงครามพิเศษ สังกัดหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ


ซึ่งหลักสูตรนี้ถือว่าเป็นหลักสูตรการฝึกที่ถือว่ามีความลำบากและเหนื่อยยากที่สุดของกองทัพบกเลยก็ว่าได้ หลักสูตรนี้มีความคล้ายกับหลักสูตรแรงเยอร์ ของกองทัพสหรัฐ ที่ทำการฝึกโดยโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ สหรัฐ ค่ายเบนนิ่ง จอร์เจีย

ส่วนความหมายของสัญลักษณ์ “เสือคาบดาบ” นั้นมีความหมายคือ

  • หัวเสือ : สัญลักษณ์ของอำนาจ ความเป็นเจ้าป่า เหี้ยมโหดต่อศัตรูของมัน
  • ดาบ : สัญลักษณ์การต่อสู้ ความแหลมคมของดาบ หมายถึงสติปัญญา อันเฉียบแหลมของทหารจู่โจม ที่จะสังหารข้าศึกได้อย่างเงียบกริบ รวดเร็ว และฉับพลัน
  • ช่อชัยพฤกษ์ : สัญลักษณ์ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า อีกทั้งเป็นตัวอย่างและผู้นำที่ดี

ซึ่งโดยสรุปแล้วความมุ่งหมายของหลักสูตรนี้เพื่อต้องการให้มีความรู้ความสามารถในการรบแบบจู่โจม, ให้มีความอดทนต่อความเหนื่อยยากลำบาก , มีลักษณะความเป็นผู้นำสูง , สามารถนำหน่วยทหารขนาดเล็กอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับนักเรียนที่เข้าสมัครเข้ามารับการฝึกหลักสูตรจู่โจม สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฝึกคือ ผู้รับการฝึกต้องมีใจที่เด็ดเดี่ยวจะท้อไม่ได้ ต้องปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จตามที่ได้รับมอบ

ในแต่ละปีจะใช้หลักสูตรระยะเวลา 9 สัปดาห์ (63วัน) หรือ 504 ชั่วโมง แบ่งภาคการฝึกออกเป็น 4 ภาค ดังนี้

  • ภาคที่ตั้ง ระยะเวลา 12 วัน
  • ภาคป่าที่ราบ ระยะเวลา 14 วัน
  • ภาคป่า/ภูเขา ระยะเวลา 19 วัน
  • ภาคป่าที่ลุ่มทะเล ระยะเวลา 14 วัน

และจะมีการทดสอบก่อนเข้ารับการฝึก ทดสอบพลศึกษาก่อนเข้าภาคสนาม

  • ดึงข้อ เกณฑ์ผ่าน 9 ครั้ง เกณฑ์สูงสุด 20 ครั้ง/ไม่จำกัดเวลา
  • ลุกนั่ง เกณฑ์ผ่าน 50 ครั้ง เกณฑ์สูงสุด 79 ครั้ง/เวลา 2 นาที

ประเมินผลระหว่างรับการศึกษาในหลักสูตรโดยวิธี

  1. วิ่งตัวเปล่าในระยะทาง 3 ไมล์, 5 ไมล์ : เกณฑ์ผ่านใช้เวลาไมล์ละ 9 นาที
  2. เดินเร็วประกอบเครื่องสนามระยะทาง 6 ไมล์ และ 12 ไมล์ : เกณฑ์ผ่านใช้เวลาไมล์ละ 15 นาที
  3. เดินเร็วประกอบเครื่องสนามระยะทาง 17 ไมล์: เกณฑ์ผ่านใช้เวลาไมล์ละ 25 นาที
  4. เดินเร็วประกอบเครื่องสนามระยะทาง 800 เมตร : เกณฑ์ผ่านใช้เวลา 4 นาที 10 วินาที
  5. การเดินเร่งรีบ : ตามมาตรฐานของการฝึกของกองทัพบก

หลังฝึกเสร็จ ก็จะได้รับตราเครื่องหมายติดหน้าอก เสือคาบดาบ

สถานที่ฝึก ศูนย์การทหารราบ ค่ายธนรัตน์ , โรงเรียนสงครามพิเศษค่ายเอราวัณ ,ศูนย์การทหารม้า
ระยะเวลา10 สัปดาห์ ประมาณ 3 เดือน

3.หลักสูตรลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบกและจู่โจมนาวิกโยธิน (Recon)
เชื่อแน่ว่าคงไม่มีไคร ไม่รู้จักหลักสูตรนี้ครับ recon ชื่อเต็มๆ คือ หลักสูตรลาดตะเวนสะเทินน้ำสะเทินบกและจู่โจมนาวิกโยธิน กองทัพเรือ สังกัดกองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรตัวท๊อป หลักสูตรหนึ่ง ของประเทศไทย และเป็นของกองทัพเรือ 

ผู้สมัครเข้ารับการอบรมนั้น มีมาจากทุกเหล่าทัพ ทั้งทหารบก ทหารอากาศ ทหารเรือ และตำรวจ ซึ่งจะทดสอบร่างกายโดยการโหนราว 20 ครั้ง ต้องผ่าน 9 ครั้ง, ซิทอัพหรือลุกนั่ง 79 ครั้ง ต้องผ่าน 54 ครั้งใน 2 นาที, วิดพื้น 54 ครั้ง ต้องผ่าน 34 ครั้ง, งอเข่าลุกนั่งหรือแทงปลาไหล 150 ครั้ง ต้องผ่าน 110 ครั้ง, วิ่งกลับตัว 300 หลา, ว่ายน้ำ 1 ไมล์ทะเลภายใน 1 ชั่วโมง เป็นต้น
ระยะการฝึก 3 เดือน แบ่งออกเป็น 3 ภาค ครับภาคที่ตั้ง ภาคทะเล และภาคป่าภูเขา ลักษณะการฝึกจะคล้ายๆกับ จู่โจมของทหารบก แต่จะมีภาคน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะเกณฑ์ผ่านที่ท้าทายคือ ว่ายน้ำกลางคืนและว่ายน้ำ 5 ไมล์ทะเล (ประมาณ 9 กิโล)
ขั้นตอนของหลักสูตร
ขั้นที่ 1 ภาคทฤษฎี ระยะเวลา 5 สัปดาห์
  • ศึกษาทางวิชาการ ทั้งวิชาหลัก และวิชาที่สัมพันธ์กับวิชาหลัก
  • การเสริมสร้างสมรรถภาพ ทั้งพลศึกษา การป้องกันตัว ว่ายน้ำ ดำน้ำ ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ภาคปฏิบัติ ระยะเวลา 8 สัปดาห์

  • ฝึกลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก
  • ฝึกการรบในป่าและภูเขา

การพีที ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก…เป็นหลักสูตรวัดใจอีกหลักสูตรของ นักล่าเครื่องหมายเลยทีเดียว
สถานที่ กองพันลาดตระเวน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
ระยะการฝึก 3 เดือน

4.หลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม หรือ มนุษย์กบ (seal)
ถ้าท่านเห็นปีก ฉลามคู่ โต้เกลี่ยวคลื่นนี้…คงไม่มีไครไม่รู้จักหลักสูตร ที่มักเรียกติดหูว่า มนุษย์กบ
สุดยอดหลักสูตรรบพิเศษ…ที่ให้ดีกรี อันดับหนึ่งตลอดกาลของรบพิเศษไทย…
ด้วยระยะการฝึก ถึง 7 เดือนครึ่ง (ประมาณ 8 เดือน) ประกอบกับความเข็มข้นในการรบทุกรูปแบบ ทั้งฟ้า ฝั่ง
หลักสูตรนี้นำรูปแบบมาจากรูปแบบการฝึกของสหรัฐอเมริกา เดิมทีเป็นหลักสูตรทีมทำลายใต้น้ำ UDT (Underwater Demolition Team)
ต่อมาสหรัฐต้องการให้หน่วยนี้ ปฏิบัติงานให้มีขอบเขตกว้างขวางมากขึ้น จึงพึ่งหลักสูตรการรบแบบ 3 มิติ น้ำ ฟ้า ฝั่ง จึงเพิ่มการฝึกแบบ Seal เข้าไป (SEa Air Land )

การฝึกหลักสูตรแบ่งออกเป็น 5 ช่วง ได้แก่

  1. การแนะนำการฝึกเบื้องต้น ฝึกการออกกำลังกายและการฝ่าอุปสรรคต่างๆ ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
  2. การฝึกจริง ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์
  3. การฝึกแบบเข้มข้น หรือเรียกว่า "สัปดาห์นรก" ใช้เวลา 120 ชั่วโมงโดยไม่มีการหยุดพัก
  4. การฝึกสอนยุทธวิธีต่างๆ
  5. การฝึกยุทธวิธีในสภาพจริง ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน

สถานที่ฝึก หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ (เกาะพระ)
ระยะการฝึก 7- 8 เดือน

5.หลักสูตรปฏิบัติการพิเศษ อากาศโยธิน (COMMANDO & Pj & CCT )
หลักสูตรของนักรบผู้แข็งแกร่งและยอดเยี่ยมที่สุด
สุดยอดหลักสูตรของอากาศโยธิน…หลักสูตรต่อต้านก่อการร้าย ทัพอากาศ

คอมมานโด ทอ. หรือ pj anti hi – jack เป็นคำพูดติดหูสำหรับหลักสูตร ปฏิบัติการพิเศษ อากาศโยธิน ด้วยรูปแบบการฝึกการ ต่อต้านการก่อวินาศกรรมบนเครื่องบิน และต่อต้านการก่อการร้าย สากล  ทำให้หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อพัฒนากำลังพล เพื่อใช่ในการปฏิบัติการพิเศษ บนอากาศยานและตัวเครื่องบิน เป็นหลักสูตรตัวท๊อปของ ทัพฟ้าเลยทีเดียว
หลักสูตรคอมมานโดกองทัพอากาศจึงดำเนินการเปิดหลักสูตรทุกปี ปีละ 1 รุ่น โดย "ไม่จำกัดเหล่า"
แต่มีต้องมีคุณสมบัติ ประกอบด้วย 1.ทหารกองประจำการ (ประจำการ 2 ปีเต็ม) 2. นายทหารประทวนชั้นยศจ่าอากาศตรี ถึงจ่าอากาศเอก 3.นายทหารสัญญาบัตรชั้นยศเรืออากาศตรีถึงเรืออากาศโท 4.อายุไม่เกิน 27 ปี 5.สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป 6.ผ่านการตรวจสุขภาพร่างกาย และผ่านการทดสอบทางจิตวิทยาจากสถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ
หลักสูตรการฝึกในห้วงแรกจะฝึกภาคที่ตั้งประมาณ 3 เดือน ศูนย์การทหารอากาศโยธิน หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

จากนั้นจะเดินทางไปฝึกภาคป่าเล็กที่ กองบิน 2 .ลพบุรี เพื่อทดสอบความรู้ และการปฏิบัติยุทธวิธีปฏิบัติการพิเศษที่เรียนมาจากภาคที่ตั้งใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์

ขั้นสุดท้าย นักเรียนทุกคนจะเข้าทำการฝึกภาคทะเลที่ลุ่ม ซึ่งเป็นการนำสิ่งที่ได้เรียนมาทั้งหมดในหลักสูตรไปปฏิบัติจริงในพื้นที่จริง พื้นที่ .จันทบุรี ระยอง และชลบุรี ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งผู้ที่สามารถผ่านการปฏิบัติทั้ง 3 ส่วนได้จะถือว่าสำเร็จการศึกษาโดยสมบูรณ์ เป็น "กำลังรบภาคพื้น" ที่จัดว่าเป็น "สุดยอดนักรบ" แห่งกองทัพอากาศ

นอกจากภารกิจการปราบปรามการก่อการร้ายสากล และการรักษาความปลอดภัยแล้ว คอมมานโดยังมีภารกิจการค้นหาและช่วยชีวิต ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของ PJ. (Pararescue Jumper) การปฏิบัติการในพื้นที่การรบเป็นงานของชุด CCT (Combat Control Team) นำอากาศยานเข้าปฏิบัติการต่อเป้าหมาย และการส่งลงสิ่งบริภัณฑ์ทางอากาศ CDS (Container Delivery System)
สถานที่ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
คุณสมบัติ ชั้น ยศ จ.. – .. หรือ ร.. – .. อายุไม่เกิน 27 ไม่จำกัดเหล่าทหาร
ระยะการฝึก 6 เดือน

6.หลักสูตร ช่วยเหลือและค้นหาผู้ประสบภัย. ( rescue ) หรือ มนุษยกบตำรวจ
หลักสูตร Sea Air Rescue หรือกู้ภัย 3 มิติ (มนุษย์กบตำรวจถือเป็นหลักสูตรรบพิเศษทางน้ำ
ของตำรวจพลร่ม  
จสต.พลาม เขียนเอาไว้ในหนังสือหลักสูตรรบพิเศษที่แกเขียนว่า เป็นหนักสูตรที่หนักที่สุดของตำรวจ ความหนักหนาเทียบเท่ากับรีคอนของนาวิกโยธินเลยทีเดียว คนจบน้อยมาก เพียงแต่การฝึกหลักสูตรนี้จะเน้นไปด้านการกู้ภัยและกู้ชีพในทุกสภาวะการ จะมีภาคการรบพิเศษหรือปฎิบัติการพิเศษอยู่หน่อยนึง ในขณะที่รีคอนเน้นไปทางด้านการรบพิเศษของทหารแบบร้อยเปอร์เซ็น

การฝึกก็เหมือนกับรีคอนเลย เช่น แบกซุง แบกเรือยาง ว่ายน้ำ5ไมล์ในเวลากลางวัน ว่ายน้ำ3ไมล์ในเวลากาลงคืน ไต่หน้าผา ปล่อยเกาะ ดำรงชีพในป่า ฯลฯ

7.หลักสูตรต้านก่อการร้าย (นเศวร 261 และ อรินทราช 26)
หลักสูตรอันลือชื่อตัวท๊อปของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มักจะถูกเรียกติดปากว่า หลักสูตร อินทราช 26 ซึ่งความจริงแล้วชื่อเต็มๆ ของมันคือ หลักสูตร ต่อต้านก่อการร้าย 


โดยจะฝึกให้กับกำลังพลของ หน่วยนเรศวร 261 ค่ายนเรศวร และ หน่วยอรินทราช 26 ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบให้ หน่วยอรินทราช 26 รับผิดชอบพื้นที่ ในกทม และ หน่วยนเรศวร 261 รับผิดชอบ พื้นที่ทั่วประเทศ
หลักสูตรดังกล่าว ปัจจุบัน เปิดทำการอบรมที่ ค่ายนเรศวรเป็นหลัก  เว้นแต่ว่า หน่วยอรินทราชจะมีกำลังมาใหม่และเพียงพอ ถึงจะเปิดฝึกเอง ระยะเวลากว่า 4 เดือนเศษ  สำหรับหลักสูตรต่อต้านก่อการร้าย หล่อหลอมให้ตำรวจ กลายเป็นตำรวจรบพิเศษ ได้เลยทีเดียว
สถานที่ฝึก ค่ายนเรศวร (นเรศวร 261) และ กองกำกับการต่อต้านก่อการร้าย (อรินทราช 26 )
ระยะเวลา 4 เดือนเศษ

8.หลักสูตรเก็บกู้วัตถุระเบิด EOD (ทั้ง 4 เหล่าทัพ)
หลักสูตรเก็บกู้วัตถุระเบิด ภาษาอังกฤษExplosive Ordnance Disposal หรือ นักทำลายล้างวัตถุระเบิดไม่ใช่หลักสูตรรบพิเศษ…แต่เป็นสกิลที่ รบพิเศษควรจะมีการถอดทำลาย และทำลายวัตถุระเบิด ของหน่วยรบพิเศษ

สำหรับหลักสูตรนี้ ลักษณะการฝึกจะคล้ายๆกัน ทั้ง 4 เหล่า แต่จะแต่งต่างกันไป ตามสภาพของแต่ละเหล่า
  • กองทัพบก เรียก หลักสูตรนักทำลายล้างวัตถุระเบิด
  • กองทัพเรือ เรียก หลักสูตรถอดทำลายอมภัณฑ์กองทัพเรือ
  • กองทัพอากาศ เรียก หลักสูตรนักทำลายล้างวัตถุระเบิดกองทัพอากาศ
  • สำนักงานตำรวจแห่งขาติ เรียก หลักสูตรเก็บกู้วัตถุระเบิด

เมื่อเอ่ยคำว่า EOD ในหมู่ทหารตำรวจ คงจะคุ้นหูกันดีกว่า เป็นหน่วยเก็บกู้ระเบิดของแต่ละเหล่าทัพ
แม้จะเป็นหลักสูตรที่ไม่หนักมาก เน้นการอบรม และฝึกเทคนิคทางยุทธวิธี ในการเก็บกูวัตถุระเบิดซะมากกว่า
แต่ก็มีความจำเป็นอย่างมากที่ หน่วยรบพิเศษ ต้องมีติดตัว โดยเฉพาะนักล่าเครื่องหมายของแต่ละเหล่า
มีความใฝ่ฝันที่จะสอยเอามาประดับบนบ่า เพื่อเสริมเขียวเล็บในการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย
ระยะห่วงการฝึก 3 เดือน (แล้วแต่เหล่า)
ระดับการฝึก ตามสภาพ


เครดิต : ขอขอบคุณข้อมูลจาก

  • เว็บไซต์มายาโหร (mayahol.com)
  • พันธ์ทิพย์ (pantip.com)
  • ทีนิวส์ (tnews.co.th)
  • ทหารไทย (th-militarychannel.blogspot.com)
  • Google

No comments:

Post a Comment