เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Monday, January 7, 2013

VIETNAM - Battle of Ia Drang REAL battle that inspired the movie We Were...

ต้อนรับปีใหม่นี้ด้วยสารคดีสมรภูมิจริงอันเป็นที่มาของภาพยนต์เรื่อง We are Soldiers (ปี 2002)






ดำเนินเรื่องโดย นายโจ กัลโลเวย์ ซึ่งเป็นนักข่าวที่ร่วมเดินทางไปกับกองพลทหารม้าอากาศที่ 1 ในสนามรบแห่งนี้ด้วย

กองทัพอเมริกาได้มีแนวคิดสำหรับการรบยุคใหม่ โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงทหารเข้าสู่สนามรบ
โดยได้นำแนวคิดนี้ไปทดสอบใช้กับทหารฝ่ายเวียดนามเหนือ
ซึ่งจะใช้ทหารอเมริกันจำนวน 450นาย จู่โจมฐานของทหารเวียดกงที่มีกำลังพล 200นายตามรายงานจากหน่วยข่าวกรอง

วันแรกของการรบ (14 พ.ย.1965)
10:19น. ฐานปืนใหญ่ที่อยู่ห่างออกไป 5ไมล์จากจุด แอล ซี (Landing Zone) ที่ให้ชื่อว่า X-ray
ได้เริ่มระดมยิงเพื่อเคลียร์พื้นที่บริเวณจุด LZ

10:35น. เฮลิคอปเตอร์ลำแรกได้ออกเดินทางสู่จุดส่งกำลังพล LZ ใช้เวลาเดินทาง 13นาที
จุดส่งกำลังพล(LZ)นั้นเฮลิคอปเตอร์สามารถลงจอดได้คราวละ 8ลำ แต่ละลำบรรทุกทหาร 6นาย

10:48น. ทหารชุดแรกได้ถูกส่งลง ณ จุด LZ

11:10น. กองร้อย B (บราโว่) เข้าเคลียร์พื้นที่รอบๆ จุด LZ ในขณะเดียวกันกำลังพลเที่ยวที่สองได้ถูกส่งลงพื้นที่เรียบร้อย

11:15น. มว.1 ร.B สามารถจับกุมทหารเวียดกงไม่มีอาวุธได้หนึ่งคน และนำตัวไปสอบสวนที่ศูนย์บัญชาการโดยทันที

11:20น. ผลการสอบสวนได้ข้อมูลที่ไม่อยากจะเชื่อให้แก่ทหารอเมริกันเนื่องจากมีทหารเวียดกงจำนวน 3กองพันอยู่บนเขา(ไม่ใช่ 200นายตามที่หน่วยข่าวกรองแจ้งมา) และทหารทุกนายกระเหี้ยนกระหืออยากจะฆ่าทหารอเมริกันอยู่
ทหารเวียดกง 3กองพันเป็นจำนวนราว 1,600นาย ซึ่ง ณ เวลานั้นทหารอเมริกันที่จุด LZ มีจำนวนไม่ถึง 200นาย อัตราส่วนคือประมาณ 8 ต่อ 1

หลังจากนั้น 45นาที(12:05น.)ทหารเวียดกงก็เริ่มเปิดฉากโจมตี ในขณะที่ทหารอเมริกันบนพื้นทำการป้องกันไม่ให้ทหารเวียดกงเข้ายึดจุด LZ กองทหารม้าอากาศที่ 1 ก็ลำเลียงทหารอเมริกันส่วนที่เหลือของ 450นาย เข้าสู่พื้นที่ท่ามกลางห่ากระสุนและระเบิด

หลังจากการสู้รบ 8ชั่วโมงท้องฟ้าก็มืด การลำเลียงต่างๆ ต้องถูกยกเลิกไปจนกว่าจะถึงเช้าของวันรุ่งขึ้น
ทหารอเมริกันจำนวน 450นายต้องถูกปล่อยอยู่ตามลำพังเผชิญหน้ากับทหารเวียดกงที่มีจำนวนมากกว่า

เช้าวันที่สอง(15 พ.ย.1965) ช่วงกลางคืนที่ผ่านมาทหารเวียดกงเข้าโจมตีย่อยๆ 2-3ครั้ง ทหารอเมริกันที่ตายต้องถูกทิ้งให้อยู่ตรงจุดที่โดนสังหาร เพราะอันตรายที่จะเข้าไปเคลื่อนย้าย
ณ ตอนนี้ทหารอเมริกันจำนวน 450นายได้ถูกสังหารและได้รับบาดเจ็บไปแล้ว 85นาย ทหารที่รอดอยู่ก็รอกระสุนและเสบียง
ในขณะที่กองหนุนได้ถูกส่งลงห่างออกไปไม่กี่ไมล์และพยายามตีฝ่าหาทางเข้ามาสมทบ

ผลจากการโจมตีในตอนกลางคืนทำให้แนวป้องกันของทหารอเมริกันที่อ่อนล้าจากการสู้รบอย่างต่อเนื่องมา 24ชม.เกิดช่องโหว่

6:50น. ทหารเวียดกงจำนวน 200นายเข้าตีหมวดที่ 1และ 2 กองร้อย C (ชาร์ลี) ตัวผบ.ร้อยและรองฯ ถูกยิงบาดเจ็บไม่สามารถสั่งการได้ โดยทหารเวียดกงอยู่ห่างแนวป้องกันออกไปแค่ 75หลา ทหารบางนายต้องสู้กับทหารเวียดกงในระยะประชิด (hand to hand combat)

7:15น. ทหารเวียดกงเข้าตีกองร้อย D (เดลต้า) ตรงจุดต่อแนวป้องกันกับกองร้อย C ทำให้แนวป้องกันเริ่มจะแตก
กระสุนข้าศึกสามารถยิงถึงบริเวณศูนย์บัญชาการ พันโท มัวร์ ต้องเรียกใช้รหัส Broken Arrow
"Broken Arrow คือรหัสที่ใช้ในสถานการณ์ที่หน่วยทหารของอเมริกันกำลังถูกโจมตีอย่างหนักจนอาจถึงขั้นละลายทั้งหน่วย และเมื่อรหัสนี้ถูกเรียกใช้ออกไป เครื่องบินทิ้งระเบิดทุกลำในเวียดนามจะละทิ้งภารกิจเดิมแล้วบินมาที่นี่เพื่อทิ้งระเบิด"

มีการทิ้งระเบิดผิดฝ่ายจากเครื่องบิน F-100 Super Sabre จำนวน 2ลำ
ทำให้ทหารช่าง 2นาย เสียชีวิต

วันที่สามในการรบ (16 พ.ย.1965)

มีทหารได้รับบาดเจ็บถูกยิงเข้าที่ลำคอ หมอต้องทำการผ่าตัดฉุกเฺฉินกลางสนามรบ

Private 2 - คลินตัน โพลิ่ง เกษตรจากรัฐไอโอว่า ถึงแม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดและถูกยิง แต่ก็ไม่ยอมละทิ้งจุดตั้งยิงปืนกล M-60 วีรกรรมของเขาช่วยชีวิตเพื่อนทหารในหมวดที่2 ของเขาไว้ได้

จากการระดมทิ้งระเบิดทำให้ทหารเวียดกงต้องถอยร่น ทหารอเมริกันจึงสามารถสถาปนาแนวป้องกันขึ้นใหม่ได้
การรบใหญ่ครั้งแรกของทหารอเมริกันกับทหารเวียดกง จบลงด้วยชัยชนะของทหารอเมริกัน
ทหารนายหนึ่งได้ปักธงอเมริกาเล็กๆแขวนไว้บนต้นไม้ที่โดนระเบิดหักอยู่และหันไปมองเพื่อ่น เหมือนกับจะพูดว่า อีกครั้งหนึ่งที่อเมริกาชนะการรบ

ผลจากการสู้รบต่อเนื่องสองวัน (คาดว่าน่าจะมีทหารเวียดกงเข้ารบเพิ่มเติมมากกว่า 1,600นาย) ทหารอเมริกันสูญเสียทหาร 234นาย ประมาณการณ์ว่าทหารเวียดกงสูญเสียราว 3,000นาย

ข้อมูลเพิ่มเติม (คัดลอกจากท่าน อารยา แห่งอารยาฟอรั่ม และท่าน YESK_TS369 แห่งเว็บไทยแลนด์สู้สู้)
เริ่มแรก สหรัฐอเมริการู้ว่า บริเวณเทือกเขาอาย ดรัง นั้น เป็นฐานกองทหารเวียดนามเหนือในระดับกองพัน อีกทั้งแถบนั้นล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเวียดนามเหนือทั้งสิ้น และห่างออกไปประมาณ 3 กม. เคยเป็น คิลลิ่งฟิลด์ ที่กองร้อยทหารฝรั่งเศสเคยมาละลายยกหน่วยมาแล้ว 

อเมริกาจึงใช้วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ระดมเครื่องบิน B-52 ทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่องในจุดที่คาดว่าเป็นฐานของกองพันข้าศึก รวมทั้งตั้งฐานปืนใหญ่ 3 จุดในรัศมีรอบเทือกเขาและยิงถล่มไปยังจุดต่างๆบนเทือกเขาแบบสุ่มตลอด 3 เดือน หวังจะช่วยลดกำลังรบข้าศึกที่คาดว่ามี 4 กองพันให้เหลือ 1 ใน 3

แต่อเมริกาคาดผิด เพราะทหารเวียดนามเหนือ+เวียดกง ประมาณ 5,500 คน ยังคงปลอดภัยจากการโจมตีทางอากาศและการปูพรมด้วยปืนใหญ่ ด้วยการหลบในอุโมงค์ขนาดใหญ่ในภูเขาที่เวียดนามเหนือสร้างไว้ตั้งแต่สงครามขับไล่ฝรั่งเศส

อเมริกาจึงส่งกองพันทหารม้า(อากาศ)ที่ 7 ที่มี พันโท Harold Gregory "Hal" Moore, Jr เป็นผู้บังคับบัญชา หวังจะให้มาพิสูจน์ทราบในพื้นที่ เพราะหน่วยนี้ ถอนตัวง่าย เสริมกำลังง่าย มีปืนใหญ่ช่วยโดยตรง ประสิทธิภาพของกำลังพลสูงกว่าทหารราบปกติ โดยที่หน่วยอื่นจะตามมาตั้งฐานถาวรทีหลัง 


อย่างไรก็ตาม ยุทธวิธีแบบนี้อเมริกาเองก็ยังไม่เคยใช้ที่ไหนมาก่อน โดยหวังจะเป็นการทดสอบยุทธวิธีที่ US Army War College ออกแบบมา เพื่อใช้ในพื้นที่ที่อยู่ในเขตอำนาจกำลังรบข้าศึก และสามารถส่งกำลังสนับสนุนได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยยุทโธปกรณ์และอำนาจการยิงที่เหนือกว่าข้าศึก ทดสอบและหาทางแก้ไขการรบแบบคลื่นมนุษย์ที่ทหารคอมมิวนิสต์ชอบใช้ ให้ทำการรบอิสระได้เมื่อเกิดการปะทะ


การรบในยุทธภูมิอาย ดรังนี้ เกิดขึ้นจากการที่ กองทัพอเมริกันต้องการทดสอบยุทธวิธีแบบใหม่ เพราะอเมริกันเคยชินแต่การรบในแบบปกติเหมือนยุคสงครามโลกครั้งที่๒ ซึ่งนิยมเปิดแนวรบตามรูปแบบกองทัพขนาดใหญ่และขนาดกลาง สงครามขนาดเล็กนั้นทุกอย่างถูกจำกัดด้วยปัจจัยต่างนานับประการ ทหารอเมริกันยังคงขาดประสบการณ์ในการใช้หน่วยพิเศษเป็นอย่างมาก ในยุทธภูมินี้ อเมริกันเน้นๆหลักๆไปที่ ๑.ขีดความสามารถในระดับสูงสุดของทหาร ๒.อาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่าข้าศึก ๓.ยุทธวิธีแบบใหม่ที่ข้าศึกคาดไม่ถึงและไม่เคยเจอ ๔.ขีดความสามารถผู้บังคับการในสนาม ทั้ง๔ประการนี้คือหัวใจหลักของการเลือกสรรค์ยุทธวิธีของคณะเสธ. และทั้ง๔ประการนี้คือข้อหักล้างต่อไปนี้ ๑.ความไม่ชำนาญภูมิประเทศ ๒.ทำการรบในดินแดนข้าศึกหรือเขตอำนาจข้าศึกที่มิเคยรู้มือ ๓.การสนับสนุนและการช่วยรบทำได้ยากเพราะคาดไว้แล้วว่าจะต้องถูกล้อมตามยุทธวิธีของคอมมิวนิสต์ที่นิยมล้อมกรอบแล้วบดขยี้(อเมริกันรู้จักข้าศึกแค่นี้) ๔.กองทหารหลักขนาดระดับกองพันทำการรบโดยอิสระในลักษณะนกขมิ้นมีความเสี่ยงสูง(ธรรมดาเขาไม่นิยมตั้งฐานลอยขนาดกองพันในดินแดนข้าศึกถ้าไม่คิดยึดครองพื้นที่ เพราะการส่งการสนับสนุนกองทหารขนาดกองพันนี้ใน ขนพร.ไม่ใช่จะทำกันได้ง่ายนัก เพราะจะต้องถูกข้าศึกตัดหนทางในการสนับสนุนแน่นอน ซึ่งการณ์ก็เป็นไปตามนั้นจริงๆคือ เวียดนามเหนือพยายามตัดช่องทางในการการส่งกำลังบำรุงก่อนเป็นอันดับแรก รูปแบบลักษณะนี้นั้น อเมริกันเคยเจ๊งหนักในสงครามลาว

ผู้พันมัวร์ ก็รู้ดีอยู่ว่า มีจุดไหน เนินสูงไหนที่อันตรายต่อกองพัน จึงได้มาร์คจุดเสี่ยงต่างๆไว้ในแผนที่ 
และเขาเองก็เชื่อว่า กองร้อยลาดตะเวนส่วนหน้าทั้ง 4 กองร้อย คือ A B C D ที่ส่งไปตั้งแนวเพื่อตรวจการณ์นั้น อยู่ในรัศมีที่ปืนใหญ่จะสามารถยิงสนับสนุนได้เต็มที่หากตกอยู่ในวงล้อมข้าศึก 

แต่ กองร้อย C ชุดแรกก็ถูกหลอกไปติดกับข้าศึกจนได้ เพราะละเมิดคำสั่งผู้พันมัวร์ ที่สั่งแค่ให้ระวังประจำแนว ไม่ได้สั่งให้ไปไล่ล่าข้าศึก ผลมาจาก ผบ.ร้อย ไม่มีประสบการณ์ ขาดสัญชาติญาณ ครั้งนี้ ทำให้ ตายเกือบหมด รอดแค่ 1 คนเท่านั้น คือ จ่าซาเวจ หน.ชุดยิงที่ 1 (จริงๆมีรอดตายไปอีก 3 คน ก็คือ 3 คนที่พาตัวเชลยไปพบ ผู้พันมัวร์ ที่ HQ)
เห็นที่วงกลมในโฟลชาร์จนั่นมั้ย ตรงนั้นแหล่ะคือ จุดที่กองร้อยC ชุดแรกถูกหลอกไปติดกับ ตายเกือบหมด รอดแค่หนึ่งคนเท่านั้น ดูสิว่าระยะมันห่างจากกองร้อยอื่นมากแค่ไหน นี่เป็นผลมาจาก ผบ.ร้อย ไม่มีประสบการณ์ ขาดสัญชาติญาณ และละเมิดคำสั่งผู้พันมัวร์ที่สั่งแค่ให้ระวังประจำแนว ไม่ได้สั่งให้ไปไล่ล่าข้าศึก ผลสุดท้าย พาหน่วยไปละลายแบบที่กองร้อยอื่นหมดทางช่วยเหลือ นอกจากสั่งปืนใหญ่ยิงถล่มให้ตายตกตามกัน

นี่คือชั่วโมงวิกฤตและดุเดือดสุดขีดของทหารอเมริกันที่อาย ดรัง เพราะข้าศึกเปลี่ยนยุทธวิธีแบบฉับพลัน จากการที่ล้อมทุกด้านด้วยกำลังพลที่มากกว่าและเสริมแนวตลอดเวลาแล้วระดมยิงอย่างหนัก มาเป็นบุกเข้าตีแบบต่อเนื่องในทุกทิศทางด้วยกำลังพลกว่า๕๐๐คน มากันเยอะในทุกแนวรับจนทหาร ม.พัน.๗ของอเมริกายิงข้าศึกไม่ทัน(มันคือยุทธวิธีคลื่นมนุษย์ที่ทหารคอมมิวนิสต์ชอบใช้ จุดไหนแนวรับกระสุนหมดหรือบาดเจ็บหรือตาย จุดนั้นจะโดนเจาะเป็นรูทันที และทหารจะวิ่งชาร์จเจาะทะลุตามกันเป็นร้อยๆคนจากรูนั้น) ชั่วโมงนั้นเวียดนามเหนือ-เวียดกง เจาะทะลุในเกือบทุกแนว บางแนวนั้นเจาะทะลุเข้ามาจนถึงจุดพยาบาลและจุดสั่งการ และเริ่มจะทะลุมากันมากขึ้นเรื่อยๆ(ข้าศึกมันจับทางได้ว่า กว่าฮ.สนับสนุนกำลังพลจะมาเสริมใช้เวลา๔๕นาที มันจึงใช้ช่วงเวลานี้ที่กำลังพลอเมริกันชุดใหม่ยังมาไม่ถึง กะทุ่มตีให้แตก หลังจากใช้วิธียิงกดตัดการส่งกำลังบำรุงที่จุดลงจอดไม่ได้ผล) จนแนวรับทุกกองร้อย ต่างถอยร่นมาที่จุดHQทุกกองร้อย จากนั้นเมื่อถอยมารวมกันมากขึ้นจึงมีกำลังเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งมันเพิ่มอำนาจการยิงได้มากขึ้น อเมริกันจึงตรึงแนวรับไว้ได้ในขณะหนึ่ง แต่ข้าศึกยังหนุนเนื่องกันมาตลอด ในขณะที่อเมริกันเองกำลังพลเริ่มร่วงโรยลงไปเรื่อยๆ สถานการณ์อย่างนี้ส่อแววกองพันละลาย ผู้พันมัวร์จึงสั่ง -โบรคเค่น แอร์โร่ว์ (โจมตีด้วยกำลังทางอากาศในทุกระดับความสูงโดยการชี้เป้าด้วยทหารสื่อสารภาคพื้นในยุทธบริเวณ) เพื่อทำลายข้าศึกเป็นกลุ่มก้อน เพื่อเรียกขวัญกำลังใจของทหารที่กำลังตระหนกและเสียขวัญ การแอร์สไตรค์ในลักษณะนี้อันตรายมาก หากพลสื่อสารไม่เก่งไม่แม่นพิกัดจริงๆจากการมองด้วยตาเปล่าแล้วกำหนดพิกัดในแผนที่ รับรองว่าได้ตายพร้อมข้าศึกหมดกองพันแน่นอน ขนาดว่าเก่งๆแม่นๆแล้วยังโดนพวกเดียวกันไป๒ดอกเลย ตายไป๒บาดเจ็บไป๖ แต่ก็ส่งผลให้ ข้าศึกกระเจิงถอยกลับไปอย่างเร็ว เพราะเป็นการโจมตีที่รุนแรงมาก ตูมเดียวตายเป็นสิบ หลายตูมก็หลายสิบ ใช้เวลาแอร์สไตร์คอยู่ ๑๕นาที คิดเอาเองนะว่า เวียดนามเหนือตายเท่าไร


และหลังจากในโฟลชาร์ทนี้ เวียดนามเหนือ+เวียดกง เพลี่ยงพล้ำอย่างหนัก ด้วยเพราะไม่เคยเจอการแอร์สไตรค์แบบนี้มาก่อน เมื่อทหารอเมริกันมาเสริมกำลังและขนผู้บาดเจ็บกลับไปเรียบร้อย การเคลื่อนพลทั้งหมดเข้าตีฐานข้าศึกจึงบังเกิดขึ้น และสามารถยึดฐานของเวียดนามเหนือบนภูเนาลาตรังได้ทั้งหมด ส่วนผู้บังคับบัญชาของเวียดนามเหนือและทหารจำนวนหนึ่งถอนตัวละทิ้งที่มั่นไปเรียบร้อยโรงเรียนโฮจิมินท์

(หลังจากศึกนี้จบลง ทุกครั้งที่เวียดนามเหนือเข้าตีฐานอเมริกันล้วนๆ จะต้องติดอาวุธต่อสู้อากาศยานขนาดเบาติดมาในหน่วยด้วยทุกครั้ง เพราะอเมริกันชอบเรียกเครื่องบินมาบอมบ์ในทุกครั้งที่ถูกตีฐานที่มั่น ด้วยเหตุนี้ หลังจากศึกนี้เป็นต้นไป ฮ.และเครื่องบินเบาแบบทวิเบกของอเมริกัน จึงร่วงระนาวเป็นใบร่วง ยุทธวิธีแบบลาตรังที่อเมริกันใช้ครั้งนี้จึงถูกล้มเลิกในการณ์ต่อมา เพราะเสี่ยงสูงเกินไป ฮ.๑ลำ ทหาร+ลูกเรือ รวม๑๕ชีวิต ตายครั้งละ๑๕คนพร้อมเครื่อง๑ลำซึ่งบางลำอาจมีระดับคอมแมนด์สนามอยู่ด้วย คณะเสธอเมริกันในเวียดนามจึงไม่เอาด้วยแล้วกับยุทธวิธีแบบนี้ เห็นได้ชัดว่าวัฒนธรรมหลังศึกนอร์มังดีในสงครามโลกครั้งที่๒และศึกเกาหลีของกองทัพอเมริกันนั้น เขาห่วงหวงชีวิตทหาร มากกว่าห่วงยุทธโธกรณ์และชัยชนะ)

จบแล้วครับ...สวัสดี


No comments:

Post a Comment