เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Tuesday, February 18, 2014

เปิดสายผลิต บ.ทอ.6

นับเป็นข่าวที่น่ายินดีสำหรับอุตสาหกรรมการบินของไทย และกองทัพอากาศไทย
เครดิตแก่ท่าน รัชต์ รัตนวิจารณ์


พิธีเปิดสายการผลิต บ.ทอ.๖ ระยะที่ ๑
ลำหน้า บ.ทอ.6 ลำหลัง บ.ชอ.2
กองทัพอากาศ กำหนดจัดพิธีเปิดสายการผลิต บ.ทอ.๖ ระยะที่ ๑ โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีฯ ในวันพุธที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๙๓๐ ณ กรมช่างอากาศ บางซื่อ (ขออย่าให้มีเหตุต้องเลื่อนวัน)
กรมช่างอากาศ มีขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และสร้างเครื่องบินเพื่อใช้งาน โดยเฉพาะเครื่องบินฝึก/ธุรการ ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จนมีผลงานวิจัยที่สามารถพัฒนาเข้าสู่สายการผลิตได้ คือ บ.ทอ.๖

อนุมัติงบประมาณเริ่มต้นระยะที่ ๑ เป็น Pre-production prototype จำนวน ๓ เครื่อง กระบวนการผลิตเครื่องบินที่ต้องเหมือนกันในทุกชิ้นส่วน เพื่อให้สามารถ สับเปลี่ยนอะไหล่ ทดแทน คงไว้ซึ่งขีดความสามารถในการบินของฝูงบิน ทำให้ ต้องมีกระบวนการผลิตที่เป็นมาตรฐานสูงกว่า บ.ต้นแบบมาก เป็นโจทย์ที่ทำให้ ต้องทุ่มเวลาและศักยภาพทั้งหมดของทีมงาน รวมถึงการสร้าง supply chain ที่ไม่เคยมีในอุตสาหกรรมการสร้างอากาศยาน ในไทย เป็นความพยายามบุกเบิกงานใหม่ จริงๆ ของบริษัทไทย หากสำเร็จจะเป็นคุณอนันต์กับลูกหลานไทยในอนาคต วิศวกรไทย ไม่ใช่ sale engineer ซะที
 และที่น่าภูมิใจสุดคือ ออกแบบ wiring ระบบไฟฟ้า ระบบ avionic glass cockpit ระบบเชื้อเพลิง ระบบ กางเก็บฐานไฟฟ้า เองหมดทั้งลำ ทำให้ ลามไป ซ่อม บ.สมัยใหม่ ได้หมด step ต่อไป จะเข้าสู่ยุค ออกแบบ 3 มิติ ตอนนี้ ขอทำโครงสร้างเดิมๆ ก่อน ถ้าผ่าน คงออกแบบทั้งลำ 3D modelling รูปโฉมใหม่หมดไม่ต้องตามคนอื่นแล้ว
ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ปี ๒๕๕๑ – ๒๕๖๒ (ฉบับปรับปรุงปี ๒๕๕๒) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ ได้กำหนดกลยุทธ์ให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเชิงวิจัยและพัฒนากิจการการบินและอุตสาหกรรมการบิน และกิจการเกี่ยวข้องเนื่องในด้านการบินของประเทศ
นโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ปี ๒๕๕๖ นโยบายเร่งด่วน ข้อ ๙ นำผลการวิจัยและพัฒนา บ.ทอ.๖ เข้าสู่สายการผลิต เพื่อใช้เป็นเครื่องบินฝึก/ธุรการ และพิจารณาการติดตั้งกล้องพร้อมระบบ Video Down Link (VDL) ที่ได้จากการวิจัย เพื่อให้สามารถใช้เป็นเครื่องบินลาดตระเวนทางอากาศ ของกองทัพอากาศ และต่างเหล่าทัพในอนาคตโดยจัดให้มีแผนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

โครงการผลิต บ.ทอ.๖ จำนวน ๒๕ เครื่อง เป็นโครงการผูกพันระยะเวลาดำเนินการ ๖ ปี วง
เงินงบประมาณ จำนวน ๓,๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐.-บาท แบ่งโครงการเป็น ๓ ระยะ โดยในระยะที่ ๑ ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ จะดำเนินการผลิตจำนวน ๓ เครื่อง

ท่านที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารของ บ.ทอ.6 ได้จากเฟซบุ้ค https://www.facebook.com/rtaf6
การสร้างอากาศยาน มีความจำเป็นที่ทุกชิ้นส่วนต้องสามารถ ติดตามคุณภาพ มีความแม่นยำในการผลิต เพื่อความปลอดภัยในการบิน กระบวนการพัฒนาและสร้าง บ.ทอ.๖ ใช้ กระบวนการ PLM (Product Life Cycle Managment )ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาแบบวาดทางวิศวกรรม 3 มิติ เพื่อใช้ในกระบวนการ simulation สมรรถนะอากาศยาน การสร้างวัสดุ อุปกรณ์ การสร้างเอกสารเทคนิค คู่มือการใช้งานการซ่อมบำรุง สำหรับการควบคุม version control ของทั้งแบบวาด และเอกสาร จะใช้ PDM Server (Product Data Management Server) ทำให้ เป็นฐานข้อมูล configuration control ของวัสดุอุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงไป ให้สามารถติดตาม สามารถตรวจสอบย้อนกลับ หรือสามารถทำ Type Certificated ที่ใช้ตรวจสอบกระบวนการผลิต บันทึกรูปแบบที่เปลี่ยนไป เพื่อความปลอดภัย ของเครื่องบิน version ต่างๆ ที่ออกจากสายการผลิต การขึ้นรูปชิ้นส่วนได้มีการปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องจักรสมัยใหม่ เช่น เครื่อง CNC ใช้งานแทนแรงงานคนเพื่อความแม่นยำของชิ้นงาน JIG ประกอบใช้มาตรฐาน คุณภาพ JIG แบบใหม่ เป็นการแสวงหาจาก Suply Chain จากบริษัทในไทย ที่เป็น sub-contractor ของบริษัทผลิตรถยนต์ ที่ปัจจุบันเป็น การประกอบด้วย Robot ที่ต้องมีความผิดพลาดของตำแหน่งในระดับ Micron (µm เป็นหน่วยวัดความยาวมีค่าเท่ากับ 1 ใน 1,000,000 เมตร) การทำงานจะเป็นรูปแบบที่เป็น Concurrent Engineering ซึ่งทำให้ ลดเวลาในการ สร้างลง และได้ คุณภาพ และการตรวจสอบ แม่นยำขึ้นซึ่งจะเป็น พื้นฐานที่มั่นคง เป็น ตันแบบมาตรฐาน กระบวนการผลิต ใน งานอุตสาหกรรมการสร้างอากาศยานในไทย นอกจากนั้นต่อไปจะแพร่หลายเป็นมาตรฐานสำหรับ อุตสาหกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ

No comments:

Post a Comment