เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Sunday, November 29, 2020

บทวิจารณ์รถถัง VT-4 ของสื่ออเมริกัน

 ห่างหายกันไปนานมาก ทั้งนี้เพราะหันไปอัพเดทเพจข่าวทาง Facebook เสียมากกว่า เนื่องจากสามารถอััพเดทเนื้อหาได้ไวกว่าและมากกว่าที่จะมาเขียนทีละบทความ

อย่างไรก็ตาม หากมีเนื้อหาที่น่าสนใจอะไรก็จะนำมาเสนอเป็นบทความใน website แห่งนี้ ซึ่งอันที่จริงก็มีบทความอีก 1-2 บทความที่ได้เนื้อหาเรียบร้อยแล้ว แต่เลยโอกาสที่จะเขียนให้ทันกับสมัยไปแล้ว(แต่แหล่งข้อมูลต่างๆ ก็ต้องจำกันได้ว่าพูดคุยกันไว้) ซึ่งก็จะเขียนมานำเสนอในภายหลังให้ได้อ่านกัน

สำหรับวันนี้เดิมตั้งใจจะเขียนลงเพจ https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage ใน FB แต่เนื้อหามีหลายจุดที่น่าสนใจเพราะเป็นเกร็ดความรู้ จึงนำมาเสนอเป็นบทความในเว็ปไซด์เสียเลย

เนื้อหาก็มาจากเว็ปฯ https://nationalinterest.org ซึ่งเว็ปนี้เป็นการวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ สัพเพเหระโดยคนอเมริกัน ซึ่งก็เป็นปกติวิสัยที่จะเอนเอียงเข้าข้างสหรัฐฯ แต่ก็มีข้อมูลอื่นๆ ที่เปิดโลกทัศน์ได้เช่นเดียวกัน ใครมีเวลาก็ลองแวะเข้าไปอ่านกันได้
(https://nationalinterest.org/blog/reboot/tank-sale-how-does-china’s-ztz-99-compare-best-america-has-offer-173323)

อย่างเช่นในโพสนี้เป็นการวิเคราะห์รถถัง VT-4 ของจีน ซึ่งลูกค้ารายใหญ่ก็คือประเทศไทย โดยมีการนำเสนอข้อมูลย้อนไปถึงเมื่องคราวที่ไทยเลือกรถถัง T-84 Oplot แทนที่จะเป็นรถถัง T-90 ของรัสเซียก็เพราะถูกกดดันจากสหรัฐฯ

T-84 Oplot
 

ภายหลังที่ยูเครนมีปัญหาเรื่องการส่งมอบรถถัง T-84 Oplot ไทยก็ดำเนินการพิจารณาหารถถังใหม่แทน T-84 และเป็นอีกครั้งที่ไทยเลือกรถถัง VT-4 ของจีนซึ่่งไม่เคยมีใครสั่งซื้อใช้มาก่อนเลย แทนที่จะเป็น T-90 ของรัสเซียซึ่งส่งขายออกไปทั่วโลก แต่ในบทความไม่ได้กล่าวย้ำถึงการกดดันจากอเมริกา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนอกเหนือจากปัจจัยด้านราคาแล้ว อาจจะเป็นเพราะนโยบายภายในของไทยเองที่จะบูรณาการยุทโธปกรณ์จากจีนให้บริหารจัดการการซ่อมบำรุงได้เองภายในประเทศ

VT-4

ในบทความมีการกล่าวถึงต้นกำเนิดของรถถัง VT-4 ว่าเป็นผลพวงมาจากการพัฒนารถถัง Al-Khalid ของปากีสถานที่พัฒนาในยุค 1990 ที่มีจุดอ่อนอยู่เครื่องยนต์เพราะต้องพึ่งเครื่องยนต์ของเยอรมัน ต่อมาภายหลังก็หันมาใช้เครื่องยนต์ดีเซลของยูเครนแทน


ข้อมูลที่ทางเว็ปนี้ให้ไว้ในเรื่องปืนใหญ่ของรถถัง VT-4 คือ รุ่นมาตรฐานคือปืนใหญ่ขนาด 125 มม. แต่ก็สามารถติดตั้งปืนขนาด 120 มม.ถ้าลูกค้าต้องการ และในอนาคตอาจจะติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 140 มม. สำหรับปืนใหญ่ขนาด 125 มม.ของไทยนั้นสามารถยิงกระสุนจรวดต่อต้านรถถัง gun-launched ATGM ของยูเครนได้ด้วย (ณ จุดนี้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดด้านยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการใช้รถถังของกองทัพไทย) ซึ่งปกติไม่ได้ออกแบบไว้

จรวดต่อต้านรถถังของยูเครน

ส่วนระบบป้อนกระสุนอัตโตมัติก็เป็นน่าจะนำมาจากระบบฯ ของรถถัง T-72 (ของรัสเซ๊ย)

มีการบ่นว่าเกราะของรถถัง VT-4 บางกว่า T-84 ของยูเครน และระบบ APS soft-kill "Varta" ของยูเครนได้รับการพิสูจน์แล้วในซีเรีย แต่ของจีนยังไม่มี

แต่ในการฝึกซ้อมรบฯ ระบบควบคุมการยิงของรถถัง VT-4 มีความแม่นยำกว่า  T-84 

ท้ายสุดของบทความก็มีการทิ้งท้ายไว้ว่ารถถัง VT-4 ก็ไม่ได้ดีกว่ารถถังระดับท๊อปของโลก แต่ก็ดีเพียงพอที่จะต่อกรกับรถถังอื่นๆ (รอบบ้านเมืองไทย) เช่นเดียวกับรถถังกระเบนธง(Stingray) ที่ไทยมีใช้เพียงประเทศเดียวในโลก


สุดท้ายนี้ขอขอบคุณแฟนๆ พันธุ์แท้ที่ติดตามกันมาตลอด สำหรับปีนี้คิดว่าบทความนี้คงเป็นบทความสุดท้ายของปี ส่วนปีหน้าฟ้าใหม่ก็ต้องดูสถานการณ์กันต่อไปว่าจะมาอัพเดทเว็ปฯ ได้มากน้อยแค่ไหน
ถ้าท่านใดไม่อยากพลาดข่าวคราวก็สามารถติดตามกันได้ทางเพจฯ ใน FB

ขอบคุณมาก และ สวัสดี

No comments:

Post a Comment