แม้ว่าอาวุธที่อิหร่านพัฒนาเองอาจจะมีประสิทธิภาพเทียบไม่ได้กับอาวุธอันทรงพลานุภาพของโลกตะวันตก แต่จุดที่นำเสนอก็คือความพยายามที่จะยืนหยัดด้วยตนเอง
IAIO และ DIO |
สิ่งแรก คือ เฮลิคอปเตอร์โจมตี "Toufan 2" (Storm 2)
สร้างโดย Iran Aviation Industries Organization (IAIO)
เฮลิคอปเตอร์โจมตี Toufan นั้นพัฒนามาจากพื้นฐานของ ฮ.AH-1J Sea Cobra ของสหรัฐฯ ที่อิหร่านมีอยู่ในครอบครอง
AH-1J |
โดย ฮ. Toufan 1 เผยโฉมในปี 2010 ผลิตขึ้นมา 10 ลำ และพัฒนาปรับปรุงจนเป็น Toufan 2 ในปี 2013 ผลิตขึ้นมาจำนวน 2 ลำ
สิ่งที่สอง คือ ปืนไรเฟิลสังหาร KH2002 "Khaybar"
สร้างโดย Defence Industries Organization (DIO)
ว่ากันว่าปืน KH2002 "Khaybar" ของอิหร่านนี้ กลไกการทำงานภายในเหมือนปืน M-16 ของอเมริกา อิหร่านพัฒนาโดยได้รับการช่วยเหลือจากประเทศจีนด้วยองค์ความรู้ในปืน CQ และปืน QBZ-95
Norinco CQ 5.56 |
ก็คงจบเรื่องที่จะนำเสนอของอิหร่านแต่เพียงแค่นี้
ลองมาดูปืน Bullpup ที่ประจำการเป็นอาวุธประจำกายหลักในกองทัพต่างๆ ว่ามีประเทศไหนกันอีกบ้าง
********************
มาต่อกันที่ปืนแบบ Bullpup กัน เพราะปืนชนิดนี้มีข้อถกเถียงกันมากมาย ซึ่งถ้าปืนชนิดนี้ไม่ดี ทำไมแม้แต่อิหร่านก็ยังพัฒนาปืนแบบนี้ขึ้นมาใช้ในกองทัพของตนเองลองมาดูปืน Bullpup ที่ประจำการเป็นอาวุธประจำกายหลักในกองทัพต่างๆ ว่ามีประเทศไหนกันอีกบ้าง
- ปี 1977 - ประเทศออสเตรีย ประจำการปืน Steyr AUG
Steyr AUG - ปี 1978 - ประเทศฝรั่งเศส ประจำการปืน FAMAS
FAMAS - ปี 1985 - ประเทศอังกฤษ ประจำการปืน SA80
SA80
- กองทัพบกโอมาน ประจำการปืน Steyr AUG - ปี 1990 - หน่วยรบพิเศษรัสเซีย ประจำการปืน OTs-14 Groza, ปืน A-91 และปืนซุ่มยิง Dragunov SVU
OTs-14 Groza
A-91 7.62มม. |
- ปี 1997 - ประเทศจีน ประจำการปืน QBZ-95
QBZ 95 - ปี 1999 - ประเทศสิงคโปร์ ประจำการปืน SAR21
SAR21 - ปี 2004 - ประเทศเบลเยี่ยม ประจำการปืน FN F2000
FN F2000 - ปี 2007 - ประเทศสโลวาเนีย ประจำการปืน FN F2000
- กองทัพบกโคเอเทีย ประจำการปืน VHS
VHS |
- ตรงนี้ก็มีเรื่องเล่าเพิ่มเติมกันหน่อย ตามข่าวทั่วๆ ไปรวมทั้งในวิกีฯ ด้วยจะเสนอเหมือนกันคืออิสราเอลประจำการปืน TAR 21 ในปี 2003 แต่ในความเป็นจริงนั้นอิสราเอลแค่แถลงว่าประสงค์ที่จะนำปืน TAR 21 เข้าประจำการในกองทัพ แต่การส่งมอบปืนชุดแรกจริงกระทำกันในปี 2006
- และพอปี 2009 ปืน Micro Tavor 21 หรือ X95 ก็ถูกนำเข้าเพื่อทดแทนปืน TAR 21 ที่เทอะทะกว่า
กองทัพบกไทยก็มีนโยบายเปลี่ยนปืนประจำกายเป็นแบบ Bullpup และเริ่มนำปืน TAR-21 ของอิสราเอลเข้าประจำการตั้งแต่ปี 2007 (พ.ศ.2550) เรียกว่า ปลย. 50
ปืน Tavor TAR 21 |
ซึ่งก็มีเสียงบ่นจากทหารใน ทบ.ไม่เห็นด้วยกับการประจำการปืน TAR-21 เนื่องจากกลไกการทำงานภายในของปืนมีความซับซ้อนทำให้การดูแลบำรุงรักษาในระดับผู้ใช้งานค่อนข้างจำกัด ไม่เหมือนกับปืน M16 หรือปืน HK33
จุดนี้ก็อยากให้พวกเขาเหล่านั้นเข้าใจด้วยว่าความก้าวหน้าในการพัฒนาสิ่งของต่างๆ ก็ต้องนำมาซึ่งความซับซ้อนในเรื่องของกลไกและความยุ่งยากของเทคโนโลยี่มากขึ้น มิเช่นนั้นก็ไม่ใช่การพัฒนา
ซึ่งถ้าจะทำการเปรียบเทียบให้เห็นกันอย่างง่ายๆ ก็คือ ปืน M16 และ HK33 ก็เหมือนกับรถจักรยานที่ใช้โซ่คล้องล้อในการขับเคลื่อน การบำรุงดูแลรักษาในระดับผู้ใช้งานสามารถกระทำได้ง่าย รวมไปถึงซ่อมแซมด้วยตนเอง
ส่วนปืน TAR-21 ก็จะเปรียบเหมือนรถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้เครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน การบำรุงดูแลรักษาในระดับผู้ใช้งานก็ย่อมจำกัด การซ่อมแซมก็ต้องเป็นระดับช่าง
หากกองทัพต้องการพัฒนาก็ย่อมต้องก้าวเดินไปข้างหน้าตามยุคตามสมัย การย้ำอยู่กับที่ไม่มีประโยชน์อันใดเท่ากับปล่อยให้ศัตรูที่มุ่งร้ายพัฒนาก้าวข้ามหน้าเราไป
หากกองทัพต้องการพัฒนาก็ย่อมต้องก้าวเดินไปข้างหน้าตามยุคตามสมัย การย้ำอยู่กับที่ไม่มีประโยชน์อันใดเท่ากับปล่อยให้ศัตรูที่มุ่งร้ายพัฒนาก้าวข้ามหน้าเราไป
ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานก็ควรเข้าใจและยอมรับสภาพในวิถีของความเป็นไป พร้อมทั้งทำความคุ้นเคยกับมัน ศึกษาการบำรุงรักษาในระดับผู้ใช้งานให้ถ่องแท้ และถ้าหากพบเจอจุดอ่อนหรือจุดบกพร่องในการใช้งานก็ช่วยกันหาวิธีแก้ไข พร้อมทั้งนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
สิ่งเหล่านี้คือพฤติกรรมที่ถูกต้องที่ควรกระทำ
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าข้อดีของปืนแบบ Bullpup คือตัวปืนสั้นลงแต่ความยาวของลำกล้องปืนยังเท่าเดิม ซึ่งผลก็คือระยะยิงไกลสุดไม่ได้ลดลง
ซึ่งเรื่องนี้ก็มีบทเรียนมาแล้วจากสงครามในอัฟกานิสถาน คือทหารอเมริกันใช้ปืน M4 (ซึงก็คือปืน M16 ที่มีความยาวของลำกล้องปืนน้อยลง เพื่อให้ปืนสั้นขึ้น) ยิงไม่ถึงข้าศึกที่ซุ่มโจมตีโดยใช้ปืน AK47
แม้แต่พม่าก็ยังวิจัยพัฒนาปืน bullpup ของตนเอง
แม้แต่พม่าก็ยังวิจัยพัฒนาปืน bullpup ของตนเอง
หน่วยรบพิเศษ ทร.เวียดนามก็ใช้ปืน TAR 21
No comments:
Post a Comment