เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Tuesday, June 10, 2014

RoboCup Rescue

ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย ไว้ที่ TGN ในฉบับที่ 30 เดือนธันวาคม 2007 หัวเรื่อง “ฤาจะก้าวเข้าสู่ยุคเหล็กของหุ่นยนต์ไทย” ในครั้งนั้นสถาบันเทคโนโลยี่ฯ พระนครเหนือ ชนะเลิศได้เป็นแชมป์โลกสมัยที่สองติดต่อกัน

จุดเริ่มต้นของการแข่งขันนี้กำเนิดมาจากการแข่งขันหุ่นยนต์เตะบอล preRoboCup 96 ที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายจะพัฒนาหุ่นยนต์เตะบอลอัตโนมัติ ประกอบกับความตั้งใจที่จะส่งเสริมการวิจัยและศึกษาในด้านเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ชาญฉลาด 
ซึ่งต่อมาก็ได้มีการเพิ่มประเภทของการแข่งขัน ทั้งนี้ World RoboCup เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 18 แบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
  • หุ่นยนต์เตะฟุตบอล (RoboCup Soccer) 
  • หุ่นยนต์กู้ภัย (RoboCup Rescue) 
  • หุ่นยนต์ทำงานบ้าน (RoboCup @Home) 
  • หุ่นยนต์ระดับเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี (RoboCup Junior)


ประเทศไทยเราได้เข้าร่วมการแข่งขัน ReboCup Rescue ครั้งแรกในปี 2006 และได้แชมป์โลกในประเภทหุ่นยนต์กู้ภัยนับตั้งแต่นั้นมา ดังนี้

ปี 2006 เมือง Bremen ประเทศ Germany - ทีม INDEPENDENT มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปี 2007 เมือง Atlanta ประเทศ USA - ทีม INDEPENDENT มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปี 2008 เมือง Suzhou ประเทศ China - ทีม Plasma-RX จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปี 2009 เมือง Graz ประเทศ Austria - ทีม iRAP_Pro มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปี 2010 ประเทศ Singapore - ทีม iRAP_Pro มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปี 2011 เมือง Istanbul ประเทศ Turkey - ทีม iRAP_Judy มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปี 2012 Mexico City – Mexico (MRL - Iran)

ปี 2013 Eindhoven - The Netherlands ทีม IRAP Furious มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
มีเพียงปี 2012 ปีเดียวที่ประเทศไทยไมได้แชมป์โลก robocup rescue เนื่องจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันชิงแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัยประเทศไทย เพื่อสรรหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันชิงแชมป์โลก จึงสละสิทธิ์ไม่เข้าร่วมชิงชัยในการแข่งขัน 
ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ของประเทศไทยได้ประลองฝีมือกันอย่างเต็มที่ จึงทำให้ประเทศไทยเสียแชมป์โลกให้ประเทศอิหร่าน และที่ 2 ให้กับประเทศเยอรมัน โดยประเทศไทยได้ที่ 3 จากทีม STABILIZE มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 
แต่อย่างไรก็ดี ทีม Skuba มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็สามารถคว้าแชมป์โลก Robocup Small-Size League มาได้


แต่ในปี 2010 ประเทศไทยศามารถกวาดรางวัลแชมป์โลกทั้ง 3 อันดับมาครอง อันได้แก่
  1. ทีม iRAP_Pro มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  2. ทีม BART Lab Rescueมหาวิทยาลัยมหิดล(ที่ 2 ร่วม) ทีม Success มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา

และปีที่แล้ว 2013 ก็เป็นปีแห่งความภาคภูมิใจของประเทศไทยอีกครั้ง ที่เราสามารถกวาดรางวัลแชมป์โลกทั้งสามอันดับไว้ได้อีก ดังนี้
  1. ทีม iRAP Furious มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  2. ทีม OVEC SOOMKOR แผนกวิชาช่างอิเล็คโทรนิค วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร
  3. ทีม STABILIZE มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

โดยปีนี้การแข่งขัน RoboCup 2014 จัดขึ้นในวันที่ 21 - 24 กรกฏาคม ที่เมือง João Pessoa ประเทศบราซิล ประเทศไทยจะสามารถรักษาแชมป์ RoboCup Rescue ไว้ได้หรือไม่ โปรดส่งกำลังใจไปร่วมกันเชียร์ทีมของไทยเรากัน


No comments:

Post a Comment