AN-30 |
C-295 |
ทำให้มีผู้คนบางคนสงสัยและตั้งคำถามว่าทำไมทบ.จึงสนใจในเครื่องบินโบราณอย่าง AN-30 ที่ออกแบบและสร้างมาตั้งแต่เมื่อเกือบห้าสิบปีที่แล้ว กล่าวคือเครื่องบิน AN-30 ขึ้นบินครั้งแรกในปี 1967 (พ.ศ.2510)
เมื่อผมได้เข้าตรวจสอบในเว็บไซด์ของบ. Antonov (http://www.antonov.com/aircraft/transport-aircraft) พบว่าผลิตภัณฑ์ในส่วนของเครื่องบินลำเลียงในปัจจุบันนั้น มีการผลิตเครื่องบินในหมวดนี้แค่ 6 แบบคือ
- AN-3T
- AN-32
- AN-70
- AN-74T
- AN-124-100 Ruslan
- AN-225 Mriya
จะเห็นว่าในปัจจุบันบ.Antonov ไม่ได้ทำการผลิตเครื่องบิน AN-30 อีกแล้ว ดังนั้นเครื่องบินที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือเครื่องบิน AN-32
AN-32 |
เครื่องบิน AN-32 นี้แม้ว่าจะขึ้นบินครั้งแรกเมื่อปี 1976 (พ.ศ.2519) แต่ก็ยังคงเปิดสายผลิตมาจวบจนถึงปัจจุบัน ประเทศเพื่อนบ้านในแถบนี้ก็มี 2 ประเทศที่ใช้อากาศยานแบบนี้อยู่ ก็คือ อินเดีย และ ศรีลังกา
ประเทศอีนเดียได้ประจำการเครื่องบินลำเลียง AN-32 ตั้งแต่ปี 1984(พ.ศ.2527) โดยเมื่อปี 2011(พ.ศ.2554) อินเดียได้รับมอบเครื่องบิน AN-32 จำนวน 4 ลำที่อินเดียส่งให้ยูเครนอัพเกรดเป็น AN-32RE
AN-32 RE ของอินเดีย |
เครื่องบิน AN-32 RE เป็นรุ่นล่าสุดของ AN-32B-100 มีการปรับปรุงห้องนักบิน ระบบควบคุมการบิน ลดแรงสะเทือนและเสียงรบกวน
ด้วยเหตุนี้จึงคิดว่าเครื่องบินที่กองทัพบกสนใจน่าจะเป็น AN-32 เสียมากกว่า
ย้อนกลับมาดูความต้องการเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางของไทยกัน ความต้องการพื้นฐานสำหรับเครื่องบินนี้คือ
รัตน์ รัตนวิจารณ์บันทึก 14 โครงการจัดหา บ.ลำเลียง ทดแทน (ระยะที่ 1)จัดหา บ.ลำเลียง จำนวนผู้โดยสารไม่ต่ำกว่า 40 คน น้ำหนักบรรทุกไม่ต่ำกว่า 4,000 กก.ความเร็วเดินทางไม่ต่ำกว่า 240 นอต และพิสัยบินไม่ต่ำกว่า 1,000 ไมล์ทะเลจำนวน 6 เครื่อง พร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และเอกสารเทคนิค
สำหรับงบประมาณปี พ.ศ.2559 นี้ ทบ.จะของบฯในการจัดหาจำนวน 1 ลำในวงเงิน 1,250 ล้านบาท เมื่อคำนวณเป็นเงินสกุลดอลลาร์ จะเป็นเงินราว 38 ล้านเหรียญ
คราวนี้ลองมาเทียบคุณลักษณะของเครื่องบิน AN-32 กับ C-295
เครื่องบินทั้งสองแบบมีคุณลักษณะที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของกองทัพบก โดยสาระสำคัญของโครงการฯ ก็คือ
- เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลาง จำนวน 1 ลำ
- วงเงิน 1,250 ล้านบาท (ประมาณ 38 ล้าน USD)
แต่ทั้งนี้จะมีการผลิกโผมีม้ามืดมาเสียบแบบครั้งคราวจัดซื้อยานยนต์หุ้มเกราะล้อยาง (BTR-3E1) อีกหรือไม่ อันนี้ก็ต้องมาค่อยดู ค่อยติดตามชมกันต่อไป
ทั้งนี้เพราะหาก ทบ.พิจารณาจัดซื้อ AN-32 จะได้มากกว่า 1 ลำ กล่าวคืออาจจะได้ 4-6 ลำ
แต่หากจัดซื้อ AN-32 ในงบประมาณ USD $38M แล้วได้แค่ลำเดียว ผมคิดว่าประชาชนทั่วไปคงมีคำถามที่ติดค้างในใจอย่างแน่นอน
แต่หากจัดซื้อ AN-32 ในงบประมาณ USD $38M แล้วได้แค่ลำเดียว ผมคิดว่าประชาชนทั่วไปคงมีคำถามที่ติดค้างในใจอย่างแน่นอน
โพสต้อนรับปีหม่ ปีแพะ 2558 ก็คงจบลงเพียงแค่นี้ ขอให้ทุกๆ ท่านมีความสุข สมหวังในทุกสิ่ง เจริญรุ่งเรื่องในหน้าที่การงาน ประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์ ร่ำรวย ร่ำรวย
No comments:
Post a Comment