ในปีพ.ศ.2555 กองทัพบกได้จัดหาระบบจรวดนำวิถี สตาร์สเตรค (Starstreak) เป็นระบบอาวุธต่อต้านอากาศยานระยะสั้น ของบ.ธาเลส (Thales) ประเทศอังกฤษ เข้าประจำการในกองทัพบก
ทำให้กองทัพบกของไทยกลายเป็นประเทศที่ 3 ที่ซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศนี้ ต่อจากกองทัพสหราชอาณาจักร และกองทัพแอฟริกาใต้
เมื่อวันพฤหัสที่ 30 กรกฏาคม 2558 มาเลเซียได้ลงนามสั่งซื้อาระบบจรวดนำวิถี สตาร์สเตรค (Starstreak) ติดตั้งบนรถ Weststar GK-M1 เพื่อนำเข้าประจำการแทนระบบ Starburst
(ทำให้ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่สี่ ที่ใช้ระบบจรวดสตาร์เตรค)
|
Starburst บนรถ Land Rover |
รถ Weststar GK-M1 ของกองทัพมาเลเซียคือรถประเภท Light Strike Vehicles (LSV) ใช้เครื่องยนต์ดีเซลของโตโยต้า(ไฮลักซ์) ที่นำเข้าประจำการทดแทนรถแบบ 4x4 ทั้งหมดของกองทัพ ในปีพ.ศ.2555
|
Starstreak บนรถ GK-M1 |
รถ GK-M1 นี้ก็มีความน่าสนใจตรงเป็นรถทีประกอบในประเทศไทย บ.Weststar Group บริษัทมาเลเซีย(เป็นบริษัทในเครือของบริษัท Global Komited) แต่มีโรงงานในกลุ่มตั้งอยู่ที่อำเภอพัทยา จ.ชลบุรี ประเทศไทย
ระบบจรวดนำวิถี สตาร์สเตรค (Starstreak) เป็นระบบอาวุธต่อต้านอากาศยานระยะสั้นมาก ผลิตโดย Thales Air Defence สหราชอาณาจักร เป็นจรวดประเภทพื้นสู่อากาศสำหรับประทับบ่ายิง หรือ ติดตั้งบนยานพาหนะบนบก รวมถึงติดตั้งบนเฮลิค๊อปเตอร์แบบ AH-64 Apache เพื่อใช้เป็นอาวุธยิงจากอากาศสู่อากาศ
|
คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย |
ตัวจรวดแบ่งออกเป็น 3 ลูก พุ่งเข้าหาเป้าหมายทำให้ยากต่อการต่อต้านหรือหลบหลีก ตามข้อมูลของบริษัททาเลส สตาร์สเตรค มีความเร็วสูงสุดกว่า 3 เท่าของความเร็วเสียง ซึ่งทำให้สามารถยิงทำลายจรวดโจมตีของข้าศึกในระยะ 1 กม.ได้ทัน ก่อนที่มันจะถึงเป้าหมายภาคพื้นดิน และยิงทำลายโดรน หรือเฮลิคอปเตอร์โจมตีของข้าศึกได้ในระยะยิงดังกล่าว
ระบบการเล็งของสตาร์สเตรคจะควบคุมจรวดที่มีจำนวน 3 ลูกในชุดเดียวกัน ที่นำวิถีด้วยเลเซอร์ ตลอดระยะทางที่พุ่งเข้าหายานข้าศึกอย่างแม่นยำ ลดการสร้างความสูญเสียแก่วัตถุที่มิใช่เป้าหมายเพื่อการทำลาย
นอกจากนี้ Starstreak ยังเป็นระบบที่มีค่าใช้จ่ายในการดูแลต่ำที่สุด เนื่องจากแทบไม่ต้องการการบำรุงรักษาใดๆ ตลอดอายุใช้งาน 15 ปี
ชมคลิ้ปสารคดีจรวดสตาร์สเตรค
รถ First Win ของไทยเราก็สามารถติดตั้งระบบจรวด Starstreak
No comments:
Post a Comment