ฉลองวันชาติอเมริกาวันนี้ด้วยบทความที่สืบเนื่องมาจากการเยือนสาธาณะรัฐเกาหลีใต้ของกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม(วท.กห.)และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(สปท.) ทำให้มีข่าวออกมาว่าไทยสนใจในปืนไรเฟิล
K2
ของเกาหลีใต้ ก็รอดูว่ามีใครจะต่อยอดกันบ้าง
แต่ไม่เห็นมีก็เลยนำมาบอกเล่ามุมมองส่วนตัวในเรื่องนี้กัน
ก็คงต้องเท้าความย้อนกันไปที่ปืน
ปลย.50
กันก่อน
ปืนทราโว21
เป็นปืนไรเฟิลที่กองทัพบกมีนโยบายจัดหามาเพื่อใช้ทดแทนปืนไรเฟิล
M16A1
ที่มีใช้อยู่่จำนวน
106,203
กระบอก
ซึ่งปัจจุบันได้จัดซื้อปืนทราโว21
มาแล้วจำนวน
73,000
กระบอก
ดังนั้นจึงขาดจำนวนอยู่อีก
43,203
กระบอกก็จะครบจำนวน
TAR-21 หรือ ปลย.50 |
สำหรับปืนไรเฟิลทาโวนี้ก็มีข่่าวเรื่องปัญหาต่างๆ
จากทหารผู้ใช้งาน เช่น
เรื่องการบำรุงรักษาที่ไม่สามารถถอดประกอบได้ง่ายเหมือนปืน
M16
และ
HK33
แต่ปัญหาใหญ่คือการเสื่อมสภาพของลูกยางรองขอรั้งปลอกกระสุนเสื่อมและแตกง่าย
มีบางคนว่าเป็นเพราะใช้น้ายาล้างปืนเกรดต่ำไม่ตรงกับสเปคไม่ใช่เป็นที่สภาพอากาศ
ซึ่งก็น่าจะมีความเป็นไปได้เพราะประเทศอิสราเอลอยู่ในทะเลทรายอุณหภูมิย่อมสูง
อาจจะสูงกว่าเมืองไทยด้วยซ้ำ
ดังนั้นการออกแบบต้องคำนึงถึงเรื่องนี้อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามปืนไรเฟิลทาโวก็เป็นที่นิยมของหน่วยทหารในบางหน่วย
เช่น ทหารม้ายานเกราะ
และทหารปืนใหญ่
เพราะปืนทาโวมีขนาดสั้นเหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ขนาดจำกัด
Daewoo K2 |
คราวนี้มาต่อกันที่ปืนไรเฟิลเกาหลีใต้ที่กำลังเป็นข่าว
นั่นคือปืน K2
(ประจำการปีพ.ศ.2530)
หากกองทัพสนใจปืนไรเฟิลเกาหลีใต้
K2
จริง
ก็คงสั่งในจำนวนที่ขาดอยู่คือสี่หมื่นกว่ากระบอก
แต่คงจะมีปัญหาเรื่องของการบำรุงรักษา
เพราะต้องสำรองอะไหล่กันอีก
และที่สำคัญคือเกาหลีใต้ก็กำลังจะปลดประจำการปืนไรเฟิล
K2
เพื่อเปลี่ยนไปใช้ปืนไรเฟิลรุ่นใหม่คือ
K2A
ที่ทยอยเข้าประจำการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2557
ดังนั้นเรื่องปืนไรเฟิลของเกาหลีใต้ที่ไทยสนใจนัันเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นรุ่นใหม่คือ
K2A
ไม่ใช่รุ่นเก่า
K2
ที่กำลังจะปลดประจำการ
แต่ถ้าหากปืนที่กองทัพสนใจเป็นปืน
K2
และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายกองทัพ
ก็คงต้องซื้อสายผลิตเขามาด้วย
และหากต้องซื้อสายผลิตปืนK2
ของเกาหลีใต้
ก็จะนำมาสู่ปืนไรเฟิลกระบอกที่สามที่ผมจะพูดถึง
นั่นคือทำไมกองทัพไปย้อนกลับไปหาสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว
คือสายผลิต H&K33
ที่เราซื้อมาจากเยอรมัน
HK33 หรือ ปลย.11 |
เพราะปัญหาของการผลิตปืน
HK33
ที่มีในอดีตนั้นต้นตอไม่ใช่เรื่องเทคนิคหรือผลิตไม่ได้คุณภาพ
แต่เป็นเรื่องความไม่ซื่อสัตย์สุจริต
ในยุคที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารก็ยังไม่เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายอย่างสังคมออนไลน์ดังเช่นในปัจจุบัน
ปัญหาย่อมยากที่จะควบคุม
ดังนั้นหากเปิดสายผลิตปืนไรเฟิล
HK33ขึ้นมาอีกครั้งในยุคนี้คงไม่เกิดปัญหาเช่นในอดีต
สำหรับในเรื่องความทันสมัยเนื่องจากปืน
HK33
เป็นปืนที่ออกแบบมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2511
และระบบขัดกลอนหน่วงเวลาด้วยลูกปืน(Roller-delayed
blowback) ก็ไม่เป็นที่นิยมเพราะชิ้นส่วนเยอะ
ทำให้การผลิตยุ่งยาก
เราก็ทำการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อยอดจากปืน
HK33
ซึ่งก็ไม่เหนือความสามารถของกองทัพ
เพราะปืนไรเฟิล
K2
ของเกาหลีใต้ก็พัฒนาโดยลอกแบบมาจากปืน
Armalite
AR-18 (ปืนคู่แข่งของ
AR-15,
M-16 หากมองเปรียบเทียบกับเครื่องบิน
ก็คงราวๆ YF-16
กับ
YF-17)
แล้วก็พัฒนาดัดแปลงปรับปรุงมาเรื่อยๆ
จนได้เป็น
K2
แต่ปลย.11
ของไทยพ่ายแพ้ต่อความไม่ซื่อสัตย์สุจริต
Armalite AR-18 |
บทสรุปจากเต้าข่าวในตอนนี้คือ หากกองทัพไทยสนใจจะซื้อปืนไรเฟิลของเกาหลีใต้จริง ก็แสดงว่ามีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายให้ปืนแบบ Bullpup เป็นมาตรฐานของกองทัพ
ซึ่งหากเปลี่ยนนโยบาย ก็ควรโอนปืนทาโวให้กับหน่วยที่เหมาะสมคือ ทหารม้ายานเกราะ ทหารปืนใหญ่ และทหารราบที่รับผิดชอบเขตเมือง ส่วนปืนจัดหาใหม่ก็จัดให้หน่วนรบแนวหน้าในเขตป่าเขา
No comments:
Post a Comment