เคยเขียนเรื่องเครื่องบินฝึก
Javelin
ไว้นานแล้ว
(http://monsoonphotonews.blogspot.com/2014/08/blog-post.html)
วันนี้จะมานำเสนอเครื่องบินฝึกอีกแบบหนึ่ง
ออกแบบมาก่อนเครื่องบิน
Javelin
เสียอีก
เครื่องบินฝึกลำที่จะว่ากันในวันนี้คือ
EM-10
Bielik สำหรับความสนใจในเครื่องบินรุ่นนี้เป็นอย่างไร
ลองติดตามกันดู
เครื่องบิน
EM-10
Bielik นี้
เป็นของบ.
Marganski & Myslowski ประเทศโปแลนด์
และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของโปแลนด์ที่จะใช้ชื่อของผู้สร้างมาเป็นชื่อเรียกขานของเครื่องบิน
ดังนั้นชื่อ EM
จึงมาจากชื่อของผู้สร้างเครื่องบินลำนี้
คือ Edward
Marganski
Edward Marganski และเครื่องบิน EM-10 |
นายเอ็ดเวิร์ดได้เริ่มต้นทำงานเครื่องบิน
EM-10
ในพ.ศ.2541
ด้วยวัตถุประสงค์ทีจะพิสูจน์ให้ภาครัฐเห็นว่าภาคเอกชนก็สามารถเครื่องเจ็ทฝึกบินได้ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง
เป้าหมายคือเครื่องบินฝึกตั้งแต่ขั้นต้นไปถึงขั้นก้าวหน้า
รองรับและสามารถติดตั้งระบบเครื่องฝึกจำลอง
การใช้อาวุธ สังเกตการณ์และกำหนกเป้าหมาย
การออกแบบด้านพลศาสตร์
นายเอ็ดเวิร์ดต้องการให้บินความเร็วสูงด้วยพลังงานน้อย
เป็นเครื่องบินน้ำหนักเบาที่มีโครงสร้างแข็งแรง
และไม่เสียการควบคุมในการโจมตีจากมมุมสูงแม้จะมากกว่า
40
องศา
จากแนวคิดในการออกแบบให้ทำให้เครื่องบิน
EM-10
ทำจากวัสดุคอมโพสิตเป็นหลัก
โดยส่วนท้ายของลำตัวช่วงติดตั้งเครื่องยนต์ทำจากไททาเนียม
ปีกมี flap
ทั้งด้านหน้าและหลัง
มีสองแพนหางดิ่ง
ที่นั่งเรียงกันสองที่นั่ง
ที่นั่งหลังสูงกว่า
เป็นเก้าอี้ดีดหนึ่งตัว
ระหว่างการพัฒนาเครื่องบิน
EM-10
นายเอ็ดเวิร์ดได้พัฒนาระบบความควบคุมการบิน
เรียกมันว่า Wing
ไปด้วย
เครื่องบินต้นแบบ
EM-10
Bielik ขึ้นบินเที่ยวแรกเมื่อวันที่
4
มิถุนายน
พ.ศ.2546
ประสบความสำเร็จตามความต้องการที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตามอนาคตของ EM-10
ก็ถูกมองข้ามการซื้อของผลิตภายในประเทศซึ่งมีราคาถูกกว่า
โดยภาครัฐเลือกที่จะซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ
ของฝ่ายตะวันตกแม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าหลายเท่า
สุดท้ายในปีพ.ศ.2548 เครื่องบินเจ็ทฝึกบิน EM-10 Bielik ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์เครื่องบินและการบินของโปแลนด์
การนำเสนอเรื่องราวของเครื่องบินฝึก EM-10 Bielik ในวันนี้ก็เพราะเห็นว่ามันเป็นเครื่องบินฝึกราคาถูกที่พัฒนาและสร้างขึ้นโดยภาคเอกชน ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของภาครัฐ ในเมื่อเราสามารถพัฒนาเครื่องบินใบพัด SF-260 มาเป็นเครื่องบิน ทอ.6 ได้ ก็น่าจะเอาเครื่องบินเจ็ท EM-10 มาทดลองสร้างและพัฒนาต่อยอด เพราะทั้งจีนและเกาหลีต่างก็ใช้วิธีเรียนลัดในการสร้างเครื่องบินของตนเองกันทั้งนั้น
No comments:
Post a Comment