เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Thursday, April 19, 2018

สวาซิแลนด์ เปลี่ยนชื่อประเทศ

วันนี้นำบทความสบายๆ เกี่ยวกับประเทศในทวีปแอฟริกามานำเสนอกัน

ณ ดินแดนเล็กๆ ในทวีปแอฟริกาที่ไม่มีส่วนใดติดกับทะเลหรือมหาสมุทร ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมากว่าหกสิบปี มีประชากรแค่ 1.3 ล้านคน

ดินแดนแห่งนั้นคือ  ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ (ประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาใต้ซึ่งมีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้านขนาดใหญ่ คือ แอฟริกาใต้ และโมซัมบิก)
  • เมืองหลวง ชื่อ อัมบาบาเน
  • ภาษาราชการ ภาษาสวาซีและภาษาอังกฤษ
  • การปกครอง แบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์
  • พระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3
  • นายกรัฐมนตรี ชื่อ บาร์นาบัส ซีบูซีโซ ดลามีนี
  • พื้นที่ 17,364 ตร.กม.
  • ประชากรประเมินในปีพ.ศ.2556 มี 1,252,000 คน
  • ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และบางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม 
  • เศรษฐกิจ เป็นเศรษฐกิจขั้นปฐมภูมิ พึ่งพิงภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร 
ธงชาติสวาซิแลนด์
  • สีแดง หมายถึงการต่อสู้เพื่อชาติในอดีต 
  • สีฟ้า หมายถึงสันติภาพและความมีเสถียรภาพ 
  • สีเหลือง หมายถึงทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ของสวาซิแลนด์ 
  • โล่พื้นเมือง(งูนี)วางประกอบคทาผูกขนนก(ใช้สำหรับกษัตริย์)ทับหอก 2 ด้าม หมายถึงการปกป้องประเทศจากศัตรูของชาติ 
  • สีขาวและดำของโล่ หมายถึงชนผิวขาวและผิวดำอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขในประเทศนี้
บัดนี้หลังจากประกาศอิสรภาพมาห้าสิบปี ก็ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศจากคำคำพื้นเมืองผสมอังกฤษ Swaziland(สวาซิแลนด์) เป็นคำพื้นเมืองแท้ๆ eSwaztini(อีสวาซทินิ)

เฉกเช่นอาณานิคมอังกฤษชาติอื่นๆ คือ Rhodesia(โรดีเชีย) เปลี่ยนชื่อเป็น Zimbabwe(ซิมบับเว), Nyasaland(ไนแอซาแลนด์) เปลี่ยนชื่อเป็น Malawi(มาลาวี) และ Bechuanaland(เบชวานาแลนด์) เปลี่ยนชื่อเป็น Botswana(บอตสวานา)


คราวนี้มาเสริมความรู้กับประเทศอาณานิคมของอังกฤษที่อ้างถึงข้างต้นว่าหลังจากได้รับเอกราชก็เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นภาษาท้องถิ่น เพราะคิดว่าหลายๆ ท่านคงอาจเคยได้ยินแต่ชื่อเท่านั้น แต่ทั้งนี้จะไม่ลงในรายละเอียดเหมือนอย่างเช่นประเทศอีสวาซทินิ คงนำเสนอคร่าวๆ เพียงแค่ธงชาติ ความหมาย และสถานที่ตั้ง

เริ่มกันที่ประเทศซิมบับเว
ธงชาติซิมบับเว

รูปสามเหลี่ยมพื้นสีขาวขอบสีดำ โดยฐานสามเหลี่ยมนั้นอยู่ที่ด้านคันธง หมายถึง ความต้องการความร่วมมือและสันติสุขของชนผิวดำ
รูปหินนกแกะสลักสีทอง มีชื่อเรียกว่า "นกซิมบับเว" (Zimbabwe Bird) รูปสลักดังกล่าวนี้ค้นพบครั้งแรกในโบราณสถานนครซิมบับเวโบราณ (Great Zimbabwe) มีนัยหมายถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาติ
รูปดาวแดง 5 แฉก หมายถึง การต่อสู้ในการปฏิวัติเพื่ออิสรภาพและสันติภาพ
สีเขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่การเกษตรและพืชพรรณธัญญาหาร
สีเหลือง หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุในประเทศ
สีแดง หมายถึง เลือดของประชาชนที่หลั่งในการต่อสู้เพื่อรักษาอิสรภาพ
สีดำ หมายถึง มรดกและชนพื้นเมืองผิวดำซึ่งเป็นประชากรหลัก
สีขาว หมายถึง สันติภาพและความสงบ

สำหรับธงชาติซิมบับเวนั้น มีเกร็ดความรู้เพิ่มเติมคือ ภาพธงชาติของซิมบับเวที่สามารถขุดค้นจากอินเดอร์เน็ตนั้นจะมีรูปที่แตกต่างกันอยู่ นั่นคือ ตรงรูปนกแห่งซิมบับเว ซึ่งเท่าที่ขุดค้นดูจะมีนกอยู่ 3-4 แบบคือ
ข้อมูลว่าธงที่ผลิตภายในประเทศจะใช้แบบนี้ และเป็นแบบดั้งเดิมตั้งแต่พ.ศ.2540
นกแบบนี้ปรากฏอยู่บนในเว็บไซด์ราชการ(.gov)ของซิมบับเว
ภาพนี้ถ่ายในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2548
แบบสุดท้ายนี้ ข้อมูลว่าใชักันในกองทัพอากาศซิมบับเว ซึ่งก็คล้ายกับที่ใช้ในเว็บไซด์รัฐบาล
ทั้งนี้ไม่มีข้อสรุปที่ชี้ชัดว่ารูปนกซิมบับเว แบบใดคือมาตรฐานที่ถูกต้อง

ประเทศต่อมาคือ มาลาวี


ธงชาติมาลาวี

รูปดวงอาทิตย์ครึ่งดวง หมายถึงรุ่งอรุณแห่งความหวังและอิสรภาพของทวีปแอฟริกา
สีดำ หมายถึงประชาชนชาวแอฟริกา
สีแดง หมายถึงผู้สละชีพเพื่อเอกราช และ
สีเขียว หมายถึงธรรมชาติ

สำหรับธงชาติมาลาวีนี้ ก็มีเกร็ดความรู้เพิ่มเติมให้อีกเช่นกันคือ มาลาวีเคยมีการเปลี่ยนแปลงธงชาติชั่วสั้นๆ ครั้งหนึ่ง เป็น
ธงชาติมาลาวีช่วงปีพ.ศ.2553-2555
แต่ก็เปลี่ยนกลับมาใช้ธงชาติดั้งเดิมอีกครั้ง เนื่องจากประธานาธิบดีผู้ที่เปลี่ยนแปลงเสียชีวิตและในตอนเปลี่ยนธงชาติก็มิได้มีการสำรวจประชามติ หรือให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นก่อนแต่อย่างใด

และประเทศสุดท้ายคือ บอตสวานา

ธงชาติบอตสวานา

พื้นธงสีฟ้า หมายถึงน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือน้ำฝน ซึ่งมาจากคำขวัญประจำชาติในตราแผ่นดินที่ว่า Pula อันเป็นคำในภาษาเซตสวานา แปลตามตัวว่า "ฝน" หากแปลเอาความหมายจะหมายถึง "ขอให้ฝนจงตกลงมา"
แถบสีดำขอบขาว หมายถึงความกลมกลืนทางเชื้อชาติระหว่างคนผิวดำกับคนผิวขาว และหมายถึงม้าลายซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติ

วันนี้ก็ขอจบลงแต่เพียงเท่านั้น....สวัสดี

No comments:

Post a Comment