คาดว่าน่าจะมีสี่บริษัทเข้าร่วมแข่งขันการจัดหาครั้งนี้ คือ
- Harpoon บ.Boeing ประเทศสหรัฐอเมริกา
- Exocet MM40 Block III บริษัท MBDA ประเทศฝรั่งเศส
- RBS-15 Mk3 บริษัท Saab ที่ร่วมพัฒนากับบริษัท Diehl BGT Defence ประเทศสวีเดนและเยอรมัน
- Naval Strike Missile (NSM) บริษัท Kongberg ประเทศนอร์เวย์
ระบบจรวดฮาร์พูนของโบอิ้งน่าจะเสนอรุ่น Harpoon Block II+ER (RGM-84Q) เป็นรุ่นที่ปรับปรุงมาจากรุ่น Harpoon Block II (RRG-84L) โดยบางสื่อก็จะเรียกรุ่น RGM-84Q ว่า Harpoon Block II+
แต่ก็มีข้อสังเกตว่าจรวดรุ่นนี้เคยถอนตัวออกจากการแข่งขันโครงการ over-the-horizon (OTH) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ มาแล้ว เพื่อเปิดทางให้กับจรวด Naval Strike Missile (NSM) ของบริษัท Kongsberg ที่จับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัท Raytheon และจรวด Long Range Anti-Ship Missile (LRASM) ของบริษัท Lockheed Martin
ระบบจรวด EXOCET MM40 Block 3 ของบ. MBDA นี้ คาดว่าน่าจะเสนอรุ่นล่าสุดเพื่อจะได้มีสมรรถนะระดับเดียวกันกับคู่แข่งรายอื่นๆ นั่นก็คือ MM40 Block 3C ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้ในกองทัพเรือฝรั่งเศส
น้ำหนัก : 780 กิโลกรัม
ยาว : น้อยกว่า 6 เมตร
เส้นผ่าศูนย์กลาง : 350 mm
ความเร็ว : high subsonic
ระยะยิง : 200 กิโลเมตร
การปฏิบัติการ : ทุกสภาพกาลอากาศ
ระบบจรวด RBS-15 Mk3 ของบ.Saab เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดต่อจากรุ่น Mk2 โดยได้รับการสั่งซื้อจากกองทัพเรือเยอรมันเพื่อติดตั้งบนเรือคอร์เวทรุ่นใหม่ K130 จำนวนห้าลำ
น้ำหนัก : 800 kg
ยาว : 4.33 m
เส้นผ่าศูนย์กลาง : 50 cm
หัวรบ : 200 กิโลกรัม
ปีกสยาย : 1.4 เมตร
ระยะยิง : 250 กิโลเมตร
ความเร็ว : subsonic
ระบบนำวิถี : Inertial, GPS, terminal active radar homing (J band)
ระบบจรวด Naval Strike Missile (NSM) บริษัท Kongberg นับว่าเป็นที่น่าจับตามองที่สุด
ทั้งนี้เนื่องจากเพิ่งเป็นผู้ชนะโครงการ over-the-horizon (OTH) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยจะถูกนำไปติดตั้งบนเรือชั้น LCS (Littoral Combat Ship) นอกจากนี้ประเทศเพื่อนบ้านของเราคือ มาเลเซีย ก็มีประจำการเช่นกัน
น้ำหนัก ; 410 กิโลกรัม
ยาว : 3.95 เมตร
หัวรบ : 125 กิโลกรัม
เชื่อเพลิง : Solid fuel rocket booster, Microturbo TRI 40 turbojet
ระยะยิง : 185 km (115 mi; 100 nmi)+ (profile dependent)
ความเร็ว ; High subsonic
ระบบนำวิถี : Inertial, GPS, terrain-reference navigation, imaging infrared homing, target database
ท้ายนี้ก็คงต้องติดตามดูกันต่อไปว่าระบบจรวดชนิดใดที่ประเทศโรมาเนียจะเลือกในวงเงิน $159 ล้านเหรียญ
No comments:
Post a Comment