เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Sunday, August 10, 2014

เครื่องเจ็ทฝึกบินของสหรัฐอเมริกา?

โพสวันนี้ก็สืบเนื่องมาจากโพสเก่า 2 อันคือ
ทอ.มองหาเครื่องบินมาทดแทนเครื่องบิน L-39ZA/ART (ย้อนกลับไปอ่านได้ที่ http://monsoonphotonews.blogspot.com/2013/11/l-39zaart.html)
และ Hongdu L-15 Falcon (ย้อนกลับไปอ่านได้ที่ http://monsoonphotonews.blogspot.com/2013/12/hongdu-l-15-falcon.html)

และจากเฟสบุ้คของท่าน รัชต์ รัตนวิจารณ์ ได้โพสข่าว "เครื่องบิน L-39 จะยังคงใช้งานไปอีก ๑๐ - ๑๕ ปี" ดังนี้
L-39ZA/ART
วันนี้ ( สิงหาคม ๒๕๕๗) พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้เป็นประธานในพิธีฉลองครบรอบการบรรจุประจำการครบ ๒๐ ปี ของเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ หรือ L-39 ZA/ART กองบิน ตาคลี
ความตอนหนึ่งที่นักข่าวสาวถามผู้บัญชาการทหารอากาศ เกี่ยวกับ อนาคตของเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบนี้.....โดยได้คำตอบว่า

....เครืองบิน L-39 เป็นเครื่องบินขับไล่และฝึกที่ใช้งานทางยุทธการอย่างคุ้มค่า และยังใช้ฝึกนักบินขับไล่พร้อมรบมาแล้วจำนวนมาก ในอนาคต ในปี ๒๕๕๙ จะมีการรวมเครื่องบิน L-39 ทั้งสองฝูง คือฝูงบิน ๔๐๑ กองบิน และ ฝูงบิน ๔๑๑ กองบิน ๔๑ ไปรวมเป็นฝูงบินเดียวกันที่เชียงใหม่ คือ ฝูงบิน ๔๑๑ ซึ่งแอล ๓๙ จะยังคงใช้งานต่อไปอีก ๑๐ - ๑๕ ปี ส่วนในฝูงบิน ๔๐๑ นี้ จะมีเครื่องบินแบบใหม่มาบรรจุประจำการแทน โดยขณะนี้อยู่ในแผนในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ อยู่แล้ว และเรากำลังพิจารณาเครื่องบิน แบบ จากห้าประเทศ คือ สหรัฐฯ ยุโรป รัสเซีย เกาหลี และจีน...อยู่......"

**************************************

ไปสะดุดตรงที่ว่า "...ทอ.กำลังพิจารณาเครื่องบิน 5 แบบจากห้าประเทศคือ
  • ยุโรป น่าจะเป็น M-346 Master
  • รัสเซีย น่าจะเป็น Yak-130 Mitten
  • เกาหลี น่าจะเป็น T-50 Golden Eagle
  • จีน น่าจะเป็น L-15 Falcon
  • สหรัฐอเมริกา ????? "
เครื่องเจ็ทฝึกบินของสหรัฐฯ นี่แหละคือปัญหาที่สงสัย เพราะปัจจุบันเครื่องเจ็ทฝึกบินของสหรัฐฯ ก็คือ T-38 Talon ซึ่งเป็นต้นตระกูลของเครื่องบินรบ F-5 ที่ไทยเรากำลังทยอยปลดประจำการ
T-38 Talon
โดยสหรัฐฯ ก็กำลังดำเนินการโครงการเพื่อจัดหาเครื่องเจ็ทฝึกบินแบบใหม่เพื่อนำมาแทนเครื่องบิน T-38 โครงการนี้มีชื่อว่า โครงการ T-X ที่เริ่มกันมาตั้งแต่ปี 2003 โดยตั้งเป้าว่าจะนำมาใช้ทดแทนในปี 2017 แต่ก็ล้มลุกคลุกคลานด้วยมรสุมเศรษฐกิจทำให้ถูกระงับไป

อย่างไรก็ตามผู้สันทัดกรณีคาดว่าเครื่องบินที่จะเป็นคู่แข่งขันกันในโครงการนี้ก็มีเพียง
  1. Alenia Aermacchi ด้วยเครื่องบิน M-346 Master 
  2. Korea Aerospace Industries/Lockheed Martin ด้วยเครื่องบินT-50 Golden Eagle
  3. BAE Systems/Northrop Grumman ด้วยเครื่องบิน Hawk 128 (T2)
  4. Boeing/Saab จะร่วมกันพัฒนาเครื่องเจ็ทฝึกบินแบบใหม่เพื่อโครงการนี้
จะเห็นได้ว่าแม้แต่โครงการ T-X ของสหรัฐฯ เอง ก็ยังไม่มีเครื่องเจ็ทฝึกบินของสหรัฐฯ เองเข้าแข่งขัน มีก็แต่เพียงบ.โบอิ้ง ที่ออกข่าวว่าจะร่วมกับบ. Saab ออกแบบและพัฒนาเครื่องเจ๊ทฝึกบิน ซึ่งก็ยังไม่เห็นว่าเครื่องบินต้นแบบทดสอบบินครั้งแรกแต่อย่างใด
แบบที่บ.โบอิ้งออกไว้สำหรับโครงการ T-X
ก็เลยค้นไปเรื่อยๆ ไปเจอเครื่องบินลำหนึ่ง หน้าตาคล้ายเครื่องบินที่บ.โบอิ้งออกแบบไว้สำหรับโครงการ T-X มันคือเครื่องบินลาดตระเวณโจมตี Scorpion ที่ผลิตโดยบริษัทร่วมทุนระหว่าง Textron กับ AirLand Enterpirises

แต่มันไม่ใช่เครื่องเจ็ทฝึกบิน มันถูกออกแบบมาสำหรับภารกิจ ISR/Strike (Intelligence=สอดแนม, Surveillance=ตรวจการณ์ and Reconnaissance=ลาดตระเวณ/Strike=ต่อตีเป้าหมาย)
Textron Airland - SCORPION
เครื่องบิน Scorpion เป็นเครื่องบินที่กำลังพัฒนาอยู่ เพิ่งบินทดสอบเที่ยวแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2013 แต่ก็ได้นำไปเปิดตัวในงาน Farnborough 2014

คุณลักษณะของเครื่องบิน Scorpion มีดังนี้
  • นักบิน 2 นาย
  • ความยาว 13.26 เมตร
  • ปีกกว้าง 14.43 เมตร
  • ความสูง 4.3 เมตร
  • ความเร็วสูงสุด 833 ..ต่อชั่วโมง
  • พิสัยบิน 4,400 กิโลเมตร
  • เพดานบิน 14,000 เมตร
  • บรรทุกอาวุธ 2,800 กิโลกรัม

คลิปนี้เป็นวีดีโอทดสอบบินครั้งแรกของเครื่องบิน Scorpion



มีข้อมูลว่า เครื่องบิน Scorpion เป็นการสร้างโดยวัสดุคอมโพสิต กับชิ้นส่วนเครื่องบินเจ็ทนักธุรกิจของบ. Cessna เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการพัฒนา อีกทั้งอัตราขับต่อน้ำหนักไม่ได้ดีนัก
คิดว่าเครื่องบิน Scorpion ไม่น่าจะใช่ตัวเลือกจากประเทศสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีข้อดีในเรื่องค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวบิน คลอดจนค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ต่ำ ราคาเครื่องก็ถูกกว่า 20 ล้านเหรียญ ก็ตาม เพราะมันไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นเครื่องฝึกบิน

****************************

คราวนี้มาแถมท้ายกันด้วยเครื่องเจ็ทฝึกบินของสหรัฐฯ ตัวจริง เครื่องบินที่จะแนะนำก็คือเครื่องเจ็ทฝึกบิน Javelin
ATG - Javelin (AJT = Advanced Jet Trainer)
เครื่องบิน Javelin นี้เป็นการร่วมกันพัฒนาและผลิตโดยบ.Israel Aircraft Industries (IAI) และบ. Aviation Technology Group Inc (ATG) ในปี 2004 โดยเครื่องต้นแบบสำหรับพลเรือน Mk-10 ได้บินทดสอบเที่ยวแรกในเดือนกันยายน 2005 และมีแผนพัฒนา Mk-20 สำหรับการทหาร Mk-30 สำหรับการฝึกขั้นสูง
แต่โครงการก็ได้หยุดชะงักในเดือนธันวาคม 2007 เนื่องจากขาดเงินทุนในการพัฒนา
การบินทดสอบครั้งแรก ปี 2005
คุณลักษณะของเครื่องบิน Javelin

  • นักบิน 2 นาย
  • ความยาว 11.28 เมตร
  • ปีกกว้าง 7.65 เมตร
  • สูง 3.20 เมตร
  • ความเร็วสูงสุด 925 ก.ม.ต่อชั่วโมง
  • พิสัยบิน 1,852 กิโลเมตร
  • เพดานบิน 13,700 เมตร
  • อัตราไต่เพดานบิน 46 เมตรต่อวินาที
  • น้ำหนักตัวเปล่า 2,111 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 3,100 กิโลกรัม

อันที่จริงก็มีอีกลำแต่ไม่กล้าแนะนำ เพราะเครื่องตกระหว่างการพัฒนาหลายครั้ง เครื่องบินที่ว่านั้นก็คือเครื่องเจ็ทฝึกบินของประเทศอินเดีย HJT-36 Sitara
HJT-36 Sitara


ท้ายสุดนี้ก็อยากจะรู้เหมือนกันว่าตัวเลือกจากประเทศสหรัฐฯ ที่กองทัพอากาศพิจารณาคือเครื่องบินอะไร จะค่อยติดตามดูต่อไป

******************************************

อัพเดทข้อมูล 6 ม.ค.2558

เว็บไซด์ของเครื่องบิน Scorpion มีการขยายภารกิจตั้งแต่ตอนไหนก็ไม่รู้


ตอนที่เขียนบทความนี้เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ภารกิจฝึกบินยังไม่มีอยู่ในเว็บไซด์เขาเลย
ถ้าขยายสเปคกันแบบนี้แล้วความคิดเห็นส่วนตัวว่า การจัดหาครั้งนี้คงเสร็จ Scorpion แน่ๆเลย

No comments:

Post a Comment