เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Sunday, December 1, 2013

Hongdu L-15 Falcon

L-15 Falcom
Hongdu L-15 Falcon เป็นเครื่องยนต์คู่ฝึกบินที่ทันสมัย หรือการโจมตีอากาศยานเบาออกแบบและผลิตโดย Hongdu Aviation Industry Group (HAIG) ของประเทศจีน มันถูกสร้างมาเพื่อเป็นคู่แข่งกับกุ้ยโจว JL-9 Mountain Eagle หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า FTC-2000 (Fighter Trainer China-2000) ในโครงการ AJT - Advanced Jet Trainer

เครื่องบิน Hongdu L-15 Falcon เป็นผู้ชนะโครงการ และถูกเลือกใช้เป็นlead-in fighter trainer (LIFT) ของกองทัพอากาศจีน (PLAAF) และกองทัพเรือจีน (PLANAF) โดย HAIG ได้สร้างเครื่องต้นแบบแล้วหกลำ
การพัฒนาของ Hongdu L-15 Falcon เริ่มเมื่อ Hongdu วางแผนเครื่องบินฝึกที่ทันสมัย ซึ่งจะตอบสนองความต้องการของ PLAAF ของเครื่องบินรบรุ่นใหม่ สำนักออกแบบของรัสเซีย Yakovlev ได้ให้ความช่วยเหลือในการออกแบบ จึงทำให้ L-15 มีรูปร่างคล้ายกับเครื่องบิน Yak-130
Yak 130
และการออกแบบThe large leading edge extensions (LEX) ช่วยให้เครื่องบินสามารถที่จะทำการโจมตีได้ที่มุมสูงสุด 30 ° นอกจากนี้ L-15 ยังสามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องบินโจมตีเบาแบบอากาศสู่พื้นดินโดยการปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย
ภาพ /2 วิวของ L-15
HAIG ได้เผยโฉมการออกแบบเครื่องบิน L-15 เมื่อเดือนกันยายน 2001 ในงานนิทรรศการการบินครั้งที่ 9 ในกรุงปักกิ่ง
เครื่องบินต้นแบบลำแรกได้เปิดตัวในเดือนกันยายน 2005 และทำการบินเที่ยวแรกในเดือนมีนาคม 2006 โดยเครื่องบินต้นแบบลำแรกและลำที่สองใช้เครื่องยนต์ของสโลวาเกีย ZMKB-Progress (Lotarev) รุ่น DV-2 และเครื่องบินต้นแบบลำที่สามใช้เครื่องยนต์รุ่นต่อมาที่ปรับปรุงให้สามารถจุดสันดานท้ายได้ คือ DV-2F ทั้งนี้เครื่องบิน Hongdu L-15 Falcon ได้ถูกนำไปแสดงในงานแสดงการบินที่ดูไบในเดือนพฤศจิกายน 2009
ซ้ายต้นแบบ L-15 ลำที่ 1 ทางขวาต้นแบบบลำที่ 3
สำหรับเครื่องบินต้นแบบลำที่สี่นับเป็นเครื่องบิน L-15 ลำแรกที่เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ของยูเครน Ivchenko-Progress รุ่น AI-222K-25F ซึ่งมีความสามารถในการจุดสันดาบท้ายได้เช่นเดียวกัน ได้ถูกแนะนำในเดือนสิงหาคมปี 2010 โดยเครื่องยนต์รุ่นนี้มีอายุการใช้งาน 3,000 ชั่วโมงบิน และให้กำลังขับ 4,200 กิโลกรัม ซึ่งเครื่องบิน L-15 เป็นเครื่องบินแบบสองเครื่องยนต์ดังนั้นจึงมีกำลังขับรวม 8,400 กิโลกรัม

ห้องนักบินของ L-15 Falcon เป็น full glass cockpit สำหรับนักบินสองนายคือ นักบินฝึกหัดกับครูผู้สอน หรือนักบินรบกับเจ้าหน้าที่ระบบอาวุธ นักบินทั้งสองจะมีจอ HDD แบบสี่สี แต่จอ HUD จะติดตั้งที่นักบินด้านหน้า

เครื่องบิน L-15 Falcon เป็นระบบ Digital fly by wire (FBW) 3-axis quadduplex และควบคุมการบินแบบ hands-on throttle and stick (HOTAS) รวมทั้งระบบ full authority digital engine control (FADEC) เพื่อลดภาระของนักบิน


ด้านอาวุธยุทธภัณฑ์ เครื่องบิน L-15 Falcon มีตำบลติดตั้งอาวุธ 6 จุด โดยสี่จุดอยู่บริเวณใต้ปีก และอีกสองจุดอยู่ที่ปลายปีก บรรทุกอาวุธได้ถึง 3 ตัน ไม่ว่าจะเป็นจรวดอากาศสู่อากาศระยะสั้น จรวดพื้นสู่อากาศ ลูกระเบิดและกระเปาะยิงจรวด


สมรรถนะของเครื่องบิน Hongdu L-15 Falcon นั้น
  • สามารถได่ระดับได้ 150เมตรต่อวินาที
  • ความเร็วสูงสุด 1,715 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พิสัยบิน 3,100 กิโลเมตร
  • รัศมีการรบ มากกว่า 550 กิโลเมตร
  • เพดานบิน 16,000 เมตร
  • บินได้นาน 2 ชั่วโมง
  • น้ำหนักเครื่องบิน 4,960 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 9,500 กิโลกรัม
  • ในเว็บของจีนยังมีรายงานว่า L-15 แสดงว่าความสามารถได้อย่างดีเยี่ยมในคุณสมบัติ STOL 



เมื่อพิจารณาจากรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว ส่วนหัวของเครื่อง L-15 คล้าย Yak 130 และ M-346 ส่วนหางคล้ายกับ T-50

JL-9 Mountain Eagle หรือ FTC 2000
จากประวัติของ Hongdu L-15 Falcon แล้วนับว่าเป็นเครื่องบินของจีนที่มีการพัฒนามาเป็นอย่างดี เพราะเป็นผู้ที่ชนะในการคัดเลือกในโครงการ AJT - Advanced Jet Trainer มีชัยเหนือเครื่องบิน JL-9 Mountain Eagle (จีนดำเนินการคล้ายกับวิธีของสหรัฐอเมริกา)
แม้แต่นักวิเคราะห์ชาติตะวันตกยังนำไปเทียบอยู่ในชั้นเดียวกับเครื่องบินชั้นนำของโลกในขณะนี้อย่าง M-346 และ T-50

และในปี 2012 บริษัท HAIG ได้แถลงว่าเครื่องบิน L-15 Falcon สามารถขายส่งออกได้เป็นครั้งแรกแล้วจำนวน 12 ลำให้แก่ประเทศในอเมริกาใต้และในแอฟริกา 

เครื่องยนต์ของจีน Minshan
แต่สิ่งที่จะเป็นจุดหักเหสำหรับกองทัพอากาศในการเลือก L-15 Falcon ก็คือ จีนได้ประกาศพัฒนาสร้างเครื่องยนต์สำหรับ L-15 เองเพราะในขณะนี้ใช้เครื่องยนต์ของยูเครนอยู่ โดยให้ชื่อเครื่องยนต์นี้ว่า Minshan อย่างไรก็ดีไทยก็ยังสามารถที่จะเลือกให้ติดตั้งเครื่องยนต์ใดๆ ก็ได้หาตัดสินใจเลือก L-15

อีกประการหนึ่งก็คือ ถึงแม้ว่ากองทัพอากาศไทยจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขคุณสมบัติของเครื่อง เช่น เปลี่ยนระบบควบคุมการบิน หรือเปลี่ยนเครื่องยนต์ ราคาก็ยังคงต่ำกว่าคู่แข่งอย่าง T-50 Golden Eagle และ M-346 Master อยู่ดี

นับว่าเครื่องบินฝึก L-15 Falcon ของจีนนี้ เป็นคู่แข่งที่น่าจับตาดูในการจัดหาเครื่องบินทดแทน L-39 ZA/ART ของกองทัพอากาศไทยเป็นอย่างมาก





No comments:

Post a Comment