ตามคำสั่งกองทัพบกที่
295/2556
เพื่อให้การวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบ
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ได้ผลงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพบ
ให้มีโครงสร้างที่เหมาะสมมีความพร้อมรบ
มีความต่อเนื่องในการรบ
และมีความทันสมัยบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง
ทั้งนี้การดำเนินการวิจัยและพัฒนาการทางทหารของกองทัพบกจะดำเนินการใน
3 ระดับ
เพื่อลดหรือทดแทนการพึงพาจากต่างประเทศ
ดังนี้
- ระดับที่ 1 : การวิจัยและพัฒนาเพื่อการดำรงสภาพ เพื่อให้สามารถซ๋อมแซมบำรุง และยืดอายุการใช้งานของยุทโธปกรณ์ได้เอง
- ระดับที่ 2 : การวิจัยและพัฒนาเพื่อการต่อยอดทางเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถดังแปลงยุทโธปกรณ์ และสร้างยุทโธปกรณ์ขึ้นใช้เองภายในประเทศโดยมีคุณสมบัติเทียบเท่าหรือสูงกว่ายุทโธปกรณ์ที่จัดหาเข้าประจำการ
- ระดับที่ 3 : การวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมใหม่ด้วยการอาศัยเทคโนโลยี หรือรูปแบบองค์ความรู้ใหม่ ในการสร้างยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย
กองทัพบกจึงได้แบ่งกลุ่มงานเพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนาการทางทหารออกเป็น
7 กลุ่มงาน
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรทางด้านการวิจัยฯ
ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งสามารถบูรณาการให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สรุปได้ดังนี้
ปกม.48 การวิจัยและพัฒนาระบบอาวุธทางบก : จะเป็นการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับระบบอาวุธและกระสุน โดยจะพิจารณาจากศักยภาพและขีดความสามารถที่มีอยู่ในปัจจุบัน และพิจารณาดำเนนิการจากง่ายไปหายาก จนถึงขั้เนสามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมต่อไปในอนาคต เช่น อาวุธปืนกลเบาและปืนกลมือ ระบบอำนวยการยิงของปืนใหม่และเครื่องยิงลูกระเบิด ระบบควมคุมการยิงรถถัง ระบบอาวุธนำวิถีจรวดต่อสู้รถถังขนาดกลาง และกระสุนปืนเล็กขนาด 5.56 มม. เป็นต้น- การวัจัยและพัฒนายานยนต์ทางบก : จะเป็นการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับยานพาหนะ เช่น รถยนต์บรรทุกขนาดเบา 4x4 แบบ 50/51 และ ยานยนต์หุ้มเกราะสายพาน(ขนาดเบา) เป็นต้น
(สำหรับลิ้งค์นี้เป็นโครงการยานเกราะสายพาน บ.ชัยเสรี http://monsoonphotonews.blogspot.com/2014/06/blog-post.html) รถสะเทินน้ำสะเทินบกของ สพ.ทบ. การวิจัยและพัฒนายานพาหนะทางน้ำและสะเทินน้ำสะเทินบก เช่น เรือกังหันพลังลม (Air Boat) ขนาดต่างๆ และรถสะเทินน้ำสะเทินบก เป็นต้น
(สำหรับลิ้งค์นี้เป็นโครงการรถสะเทินน้ำสะเทินบกความเร็วสูงของกองทัพเรือ http://monsoonphotonews.blogspot.com/2013/09/blog-post_4.html)- การวิจัยและพัฒนาด้านการบิน : จะเป็นการวิจัยฯ เกี่ยวกับแนวทางการซ่อมบำรุงอากาศยานโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป รวมทั้งการวิจัยฯ อากาศยานไร้นักบินประเภทและขนาดต่างๆ เช่น อากาศยาน UAV ขนาดต่างๆ ทั้งแบบปีกติดลำตัว และแบบปีกหมุน เป็นต้น
- การวิจัยและพัฒนาด้านอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร : จะเป็นการวิจัยฯ เกี่ยวกับระบบการสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟแวร์ด้านข้อมูบข่าวสารระบบ C4ISR ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องช่วยฝึกเทคโนโลยีสูงแบบต่างๆ ระบบจำลองยุทธ์และการฝึกเสมือนจริง ระบบอัตโนมัติสำหรับการสั่งการทางยุทธศาสตร์ ระบบสนธิการสื่อสารทางยุทธวิธี ระบบวิทยุสื่อสารและตู้สลับสายยุคใหม่ที่เป็นระบบดิจิตอล เป็นต้น
ระบบ C4ISR - การจัยและพัฒนาด้านหลัการและหลักนิยม : เพื่อให้กองทัพบกมีหลัการและหลักนิยมทางทหารในการปฏิบัติภารกิจ่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ ทันสมัย
- การวิจัยและพัฒนาการจัดการทรัพยากรและอื่นๆ : เพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของกองทัพบกได้อย่ามีประสิทธิภาพสูงสุด
ลองมาดูผลงานวิจัยที่นำออกแสดงในงานนิทรรศการยุทโธปกรณ์
Defense & Security 2013
ว่าจะมีผลงานชิ้นไหนที่จะเข้าสู่การผลิตเพื่อนำมาใช้งานกันบ้าง
กลุ่มที่
1 การควบคุมบังคับบัญชา
การติดต่อสื่อสาร
คอมพิวเตอร์และการข่าว
ได้แก่
1.
อุปกรณ์ควบคุมการจุดระเบิดจากระยะไกล
(สพ.ทบ.),
2.
ระบบแจ้งเตือนภัยทางอากาศ
(ศปภ.ทบ.),
3. ไมโครโฟนเข้ารหัส
(สส.),
4.
ระบบนำร่องอัตโนมัติอากาศยานไร้คนขับภายในอาคารด้วย
Network Protrocal (มจพ.),
5.
เครื่องอ่านบัตรประชาชน
Smart Card (วท.กห.)
กลุ่มที่
2 ยานรบและยานช่วยรบ
1. ยานเกราะล้อยาง
(สทป.),
2.
ระบบแจ้งเตือนภัยทางอากาศ
(สทป..),
3.
อากาศยานตรวจการณ์ไร้นักบินขนาดเล็ก
(ขกท.),
Mini UAV ของ ขกท. |
4.
เรือพลังงานลมในงานทางธุรการเอนกประสงค์
(Air Boat) (ขส.ทบ.),
เรือ Airboat ขส.ทบ. |
5. UAV
(อากาศยานไร้นักบิน)
(สวพ.ทร.)
กลุ่มที่
3 เครื่องช่วยฝึกทางทหาร
1. ระบบจำลองยุทธ์
2.
เครื่องช่วยฝึกการเล็งอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระดับต่ำแบบนำพา
(ปตอ.๒),
3.
เครื่องช่วยฝึกยิงด้วยแสงเลเซอร์
(สวพ.ทบ.
ร่วมกับ
บริษัท เมกาฟอร์ซ จำกัด),
4. ระบบเป้าอัตโนมัติ
AM TARGET SYSTEM (บริษัท
อมรมาศ จำกัด),
5.
เครื่องช่วยฝึกทางทหารและตำรวจ
(บริษัท
พรีซิพาร์ท จำกัด),
6. เครื่องช่วยฝึก
ปลย. ขนาด
๕.๕๖
มม. แบบ
TAVOR TAR-21 (ศอว.ศอพท.),
7. เครื่องช่วยฝึก
ปลย. เอ็ม
๑๖ จำลอง (ศอว.ศอพท.)
กลุ่มที่
4 อาวุธและเครื่องกระสุน
1.
ผลิตภัณฑ์กระสุนของ
ศอว.ศอพท.
(ศอว.ศอพท.),
2.
แบบจำลองหน่วยช่วยขับเคลื่อน
(APU) (ศอว.ศอพท.),
3.
แบบจำลองแท่นยิงสำหรับอาวุธนำวิถีระดับต่ำ
แบบควบคุมด้วยพลยิง (ศอว.ศอพท.),
4.
แบบจำลองแท่นยิงสำหรับอาวุธนำวิถีระดับต่ำ
แบบควบคุมด้วย Remote
Control (ศอว.ศอพท.),
5. แบบจำลอง
ปกค. ขนาด
๑๕๕ มม. อัตตาจรล้อยาง
(ศอว.ศอพท.),
6. แบบจำลอง
ปบค. ขนาด
๑๐๕ มม. อัตตาจรล้อยาง
(ศอว.ศอพท.),
7.
ระบบอำนวยการยิงทางเทคนิคอัตโนมัติสำหรับปืนใหญ่สนาม
(ศอว.ศอพท.),
8. ปืนกลมือ
ขนาด ๙ มม. (ปกม.๔๘)
(สพ.ทบ.),
9.
ป้อมปืนอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมระยะไกล
(สพ.ทบ.),
10. ชุดขาหยั่งปืนกล
๓๘ (MAX58) (สพ.ทบ.),
11. ปืนเล็กสั้น
(ปลส.HK)
(สพ.ทบ.),
12.
การผลิตกระสุนขนาด
๒๓ มม. ชนิด
TP (สพ.ทอ.),
13.
ระบบวัดระยะทางเลเซอร์สำหรับรถหุ้มเกราะ
V-150 (ศวพท.วท.กห.)
กลุ่มที่
5 การป้องกันกำลังรบ
1. BOMB SUIT (บ.
อินโวสตาร์
จำกัด),
2.
เสื้อเกราะป้องกันกระสุน
(บ.
อินโวสตาร์
จำกัด),
3.
ระบบกล้องรักษาความปลอดภัยประกอบลำแสงอินฟราเรดกำลังสูง
(ศวพท.วท.กห.),
4.
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายและลดอันตรายจากการปฏิบัติหน้าที่
(บ.
พรีซิพาร์ท
จำกัด),
5.
หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด
(มจพ.)
6.
สูตรตำรับยาฉีดต้านพิษเคมี
บรรจุเข็มฉีดยาชนิดพร้อมฉีดในอุปกรณ์ที่เหมาะสม
(รภท.ศอพท.)
7.
สินค้าและผลิตภัณฑ์ของ
รภท.ศอพท.
(รภท.ศอพท.)
8. พลุสารดูดความชื้น
(Hygroscopic flare) (ศวอ.ทอ.)
9.
พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์
(Silver Iodide Flare) (ศวอ.ทอ.)
กลุ่มที่
6 อุตสาหกรรมทหาร
1.
กระสุนและวัตถุระเบิด
(อท.ศอพท.),
2. ยานรบและยานช่วยรบ
(อท.ศอพท.),
3.
เสื้อเกราะป้องกันกระสุน
(อท.ศอพท.),
4. สารเคมี
(อท.ศอพท.),
5.
โรงงานวัตถุระเบิดทหาร
(อท.ศอพท.),
6. โรงงานแบตเตอรี่
(อท.ศอพท.)
งานนี้ก็คงต้องตั้งตารอชมผลงานที่กองทัพบกจะนำเสนออกมาสู่สายการผลิตกัน
No comments:
Post a Comment