วันนี้มาว่ากันต่อในเรื่องการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศฯ
ของกองทัพบก
ภายใต้โครงการจัดหาระบบอาวุธปืนต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง-ไกล
(ย้อนอ่านเรื่องนี้กันได้ที่ http://monsoonphotonews.blogspot.com/2014/07/blog-post.html)
จากประเด็นในบทความเดือนก.ค.2014 ก่อนหน้านี้ คือ
จากประเด็นในบทความเดือนก.ค.2014 ก่อนหน้านี้ คือ
จุดที่น่าสังเกตในครั้งนี้มีอยู่ 2 ประการ คือ
- ระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะกลาง ภายใต้โครงการจัดหาระบบอาวุธปืนต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง-ไกลแบบที่ 1
- งบประมาณ 53 ล้านยุโร
วันนี้จะมาว่ากันในประเด็น "งบประมาณ
53 ล้านยุโร" โดยจะมาวิเคราะห์ระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะกลางที่เป็นของประเทศในยุโรปกัน
ก็จากเหตุผลที่งบประมาณเป็นเงินสกุลยุโรของยุโรปนั้นเอง
9K37-1 Buk (SA11 Gadfly) |
โครงการ
MRADMS
ได้คัดเลือกระบบที่มีคุณสมบัติตามความต้องการจนเหลือผู้แข่งขันอยู่
2 ราย
คือ
-
NASAMS II ของ Kongsberg ประเทศนอร์เวย์
-
SAMP/T ของ MBDA บริษัทร่วมยุโรป
ระบบ
SAMP/T –
Surface-to-Air
Missile
Platform/Terrain
ของ
MBDA ระบบนี้ก็คือรุ่นภาคพื้นของระบบป้องกันภัยฯบนเรือที่ใช้จรวด
Aster 30
นั่นเอง
ประเทศเพื่อนบ้านของเราที่ซื้อระบบนี้ไปใช้ก็คือ
สิงคโปร์
แต่ระบบที่ชนะโครงการ
MRADMS คือ
ระบบ
NASAMS II -
National Advanced Surface-to-Air Missile System 2
ของ
Kongsberg
แต่ตามระบบของประเทศฟินแลนด์
เขาเรียกมันว่า "ItO12"
หลักของระบบ
NASAMS II
คือการทำงานร่วมกันของเรด้าห์คลื่น
X band แบบ
3D – AN/MPQ-64 F1 กับจรวดแอมราม
AIM-120
ท่อยิง AIM-120 กับ AN/MPQ-64 |
รถเรด้าห์ EADS TRML-3D |
อย่างไรก็ตามระบบ
NASAMS
มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานและสามารถใช้ร่วมกับเรด้าห์รุ่นอื่นๆ
ได้ เช่น
ประเทศสวีเดนใช้ระบบควบคุมและสั่งการ
NASAMS
II เป็น
GBADOC - Ground Based Air Defence
Operation Centre กำกับเรด้าห์
Giraffe และระบบจรวดป้องกันภัยทางอากาศต่าง
รวมทั้ง
BAMSE และ
RBS-70
ประเทศกรีกและตุรกีก็ใช้ระบบ
NASAMS ในลักษณะเดียวกันนี้กับ
Hawk XXI
ส่วนประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบ
NASAMS กับรถเรด้าห์เคลื่อนที่
EADS TRML-3D
นอกจากนี้ลูกจรวดก็สามารถใช้รุ่นอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ESSM, AIM-9 Sidewinder, AIM-120C7 AMRAAM และ Indegenous
Electro Optical MSP600 |
แต่ข้อดีของมันคือระบบเรด้าห์หลักบนภาคพื้นไม่ต้องชี้เป้าเมื่อเป้าหมายเข้ามาในระยะเรด้าห์ของตัวจรวด แบบว่ายิงแลtลืม (Fire & Forget)
นอกจากนี้ถึงแม้ว่าระบบเรด้าห์หลักจะถูกก่อกวนจากฝ่ายตรงข้าม NASAMS II ก็สามารถยิงได้โดยใช้ระบบ Electro Optical MSP 600
นอกจากนี้ถึงแม้ว่าระบบเรด้าห์หลักจะถูกก่อกวนจากฝ่ายตรงข้าม NASAMS II ก็สามารถยิงได้โดยใช้ระบบ Electro Optical MSP 600
ข้อดีอีกประการหนึ่งของมันก็คือราคาถูกกว่า SAMP/T ราวเท่าตัว ทำให้จัดหาจำนวนระบบได้มากกว่า
ประการสุดท้ายที่ทำให้ระบบ
NASAMS ชนะ
SAMP/T ในการแข่งขันก็คือ
ระบบเครือข่าย
กล่าวคือศูนย์ควบคุมการยิงและอำนวยการรบของ
NASAMS สามารถปฏิบัติการ
BMC4I (Battle Management Command, Control,
Communications, Computers และ
Intelligence)โดยส่งถ่ายข้อมูลได้หลากหลายแบบ
คือ Link16, JRE, Link11. Link11B, LLAPI
และ
ATDL1
จากที่กล่าวมาข้างต้น
ระบบ
NASAMS II นี้นับว่าน่าจับตามองอย่างยิ่ง
เนื่องจากหลายๆ
อย่างในระบบนี้มีความเหมาะสมกับประเทศไทย
ดังนี้
จรวดที่ใช้คือจรวดแอมราม
ซึ่งกองทัพอากาศของเราก็มีประจำการใช้อยู่
ดังนั้นหากจรวดของทบ.หมดก็หยิบยืมของทอ.มาใช้ได้
ระบบมีความยืดหยุ่นสามารถเชื่อมต่อกับเรด้าห์
Giraffe ได้
และส่งถ่ายข้อมูลได้หลายรูปแบบ
อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบ
Network Centrics Warfare ของไทย
สำหรับราคาของระบบ
NASAMS นั้นเท่าที่ขุดค้นดูพบจากเว็บ
deagel ว่าราคา
US$50 ล้าน
ก็ประมาณ
44 ล้านยุโร
อีกเว็บหนึ่งว่าราคาประมาณในปี
2000 ระบบละ
US$14 ล้าน(ประมาณ
12.4 ล้านยุโร)
ในปี
2010 ประเทศชิลีจะซื้อ
NASAMS จำนวน
3 กองพันราคาเริ่มต้นที่
$100 ล้าน
ลองมาคำนวณดูราคาขั้นต่ำที่ประเทศชิลีจะซื้อ ดังนี้
NASAMS จำนวน
1 กองพันประกอบด้วย
3 ระบบ
ดังนั้น
3 กองพันจะประกอบไปด้วย
9 ระบบ
ถ้าเอาราคาขั้นต่ำ $100 ล้าน ตั้งแล้วหารด้วยจำนวน 9 ระบบก็จะได้ $33.33 ล้าน เพราะฉะนั้นราคาขั้นต่ำของระบบ NASAMS ในปี 2010 คือราวๆ $33.33 ล้าน(29.5 ล้านยุโร) ผ่านมา 5 ปี ราคาต้องสูงกว่าปี 2010 แต่ก็น่าจะอยู่ในข่ายที่สามารถจัดซื้อได้ภายในงบฯที่ตั้งไว้
******************************
อย่างไรก็ตามนอกจากกณรณีศึกษาการจัดหาของประเทศฟินแลนด์แล้ว
ก็ยังมีระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะกลางอีกระบบหนึ่งที่น่าจะอยู่ในการพิจารณาของกองทัพบก
ระบบนั่นคือ RBS-23 BAMSE ของบ. Saab ประเทศสวีเดน
ระบบนั่นคือ RBS-23 BAMSE ของบ. Saab ประเทศสวีเดน
BAMSE
เป็นระบบปัองกันภัยทางอากาศทุกสภาพกาลอากาศ
ถูกออกแบบมาเพื่อให้ต่อต้านเป้าหมายเล็กๆ
ที่รวดเร็วอย่าเช่น
จรวดมิสไซด์
จรวดต่อต้านเรด้าห์
ยาน
UAV มันเข้าหาเป้าหมายที่อยู่ในเพดานบินสูง
ระบบควบคุมและตรวจการณ์ของ
BAMSE
อยู่บนรถบรรทุกประกอบด้วยเรด้าห์ตรวจการณ์อิริคสันแบบ
3มิติ
ย่าน
C band - Giraffe AMB และเสาอากาศสูง
8 – 13 เมตร
นอกจากนี้ยังมีระบบจำลองการรบสำหรับภารกิจฝึกซ้อม
RBS-23 |
ฐานยิง RBS 23 กับรถลากจูง |
ตัวจรวด
RBS 23 สามารถยิงได้ไกลถึง
20 กิโลเมตร
และยิงได้ถึงระดับความสูง
15,000 เมตร
สำหรับประเทศที่ใช้ BAMSE ตอนนี้มีเพียงแค่สวีเดนเพียงประเทศเดียวเพราะสวีเดนยังไม่ยอมขายให้ประเทศใด
สำหรับประเทศที่ใช้ BAMSE ตอนนี้มีเพียงแค่สวีเดนเพียงประเทศเดียวเพราะสวีเดนยังไม่ยอมขายให้ประเทศใด
แต่ NASAMS มีผู้ใช้ระบบนี้ถึง 10 ประเทศ คือ นอร์เวย์ สหรัฐ สวีเดน โปแลนด์ กรีซ ตุรกี ฟินแดนล์ สเปน เนเธอร์แลนด์ และล่าสุดปีที่แล้ว(2014) ประเทศโอมาน สั่งซื้อมูลค่า $1.28 พันล้าน ซึ่งยังไม่ปรากฎรายละเอียดเปิดเผยออกมา แต่มูลค่านี้จะรวมทั้งการซ่อมบำรุง การสนับสนุน การฝึกอบรม ฯลฯ
แม้ว่าโดยภาพรวมแล้วระบบ
BAMSE จะด้อยและราคาแพงกว่าระบบ NASAMS แต่เนื่องจากมันเป็นสินค้าของบริษัทที่สามารถเจาะตลาดในประเทศไทยได้แล้ว
ผมจึงจัดระบบนี้ให้อยู่ในข่ายที่ต้องจับตาดูด้วยอีกระบบหนึ่ง เพราะสวีเดนอาจจะยอมขายให้ไทยเป็นประเทศแรกก็เป็นได้
*********************************
หมายเหตุ เพิ่งจะเห็นว่า บ.ก.สมพงษ์ นนท์อาสา ยืนยันไว้ในเฟสบุ้คเมื่อวันที่ 9 กันยาน 2556 ว่าทบ.เลือกซื้อ VL Mica
No comments:
Post a Comment