สถานีเรด้าห์ระยะไกลแบบก้าวหน้า Ghadir แห่งนี้นับเป็นสถานีเรด้าห์แห่งที่สองของอิหร่าน โดยสถานี Ghadir แห่งแรก อยู่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 15 กิโลเมตรของเมือง Garmsar ในจังหวัด Semnan ที่พิกัด 35.133722°/52.469314° เผยโฉมในเดือน มิถุนายน 2556
สถานีเรด้าห์ Ghadir แหงที่สองนี้ เริ่มก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม 2555 และสร้างเสร็จวันที่ 4 มกราคม 2557 สำนักงาน Jane's รายงานว่าสถานีแห่งนี้ตั้งอยู่ห่าง 20 กิโลเมตรไปทางเหนือของเมือง Ahvaz (พิกัด 31.473146°/48.581929°)
ทั้งสองสถานีฯ ติดตั้งเรด้าห์แนวนอน 4 ตัว ่ขนาดโดยประมาณ 39x39 เมตร ล้อมรอบอาคารและเสาเรด้าห์หลัก เป็นรูปทรงจตุรัส
ขีดความสามารถของสถานีเรด้าห์ Ghadir คือสามารถตรวจจับเครื่องบินทุกประเภท รวมทั้งเครื่องบินแบบล่องหน ในระยะรัศมี 600 กิโลเมตร และตรวจจับจรวดขีปนาวุธ ในระยะรัศมี 1,000 กิโลเมตรที่ความสูงมากที่สุด 100 กิโลเมตร โดยค่าใช้จ่ายถูกกว่าระบบแบบเดียวกันของต่างประเทศถึง 5 เท่า
นอกเหนือจากนี้ อิหร่านยังมีสถานีเรด้าห์ระบบเรด้าห์ (Sepehr) ในจังหวัด Kordestan ที่อิหร่านอ้างว่ามีระยะตรวจจับถึง 3,000 กิโลเมตรที่ความสูง 300 กิโลเมตร (จะทะลุถึงชั้นบรรยากาศเธอร์โมเฟียสกันเลยเหรอ)
ซึ่งหากสถานีเรด้าห์ที่ Kordestan เป็นระบบ Sepehr และมีคุณสมบัติตามที่กล่าวอ้าง มันจะทำให้อิหร่านสามารถตัวจับความเคลื่อนไหวแบบ 360 องศาครอบคลุมทั้งประเทศ
รวมไปถึงความเคลื่อนไหวในซาอุดิอารเบีย อียิปต์ อิสราเอล ตุรกี และปากีสถาน อีกทั้งครอบคลุมบางพื้นที่ในยุโรปตะวันออก ตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย(รวมทั้งกรุงมอสโคว) ตะวันตกของอินเดีย และทะเลอาหรับเกือบทั้งหมด
****************************
ส่วนตัวแล้วผมชื่นชมในความมุมานะดิ้นรนเอาตัวรอดในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี่ของอิหร่าน มันสามารถแปลงความถูกจำกัดของอิหร่านไปเปรียบเทียบเป็นนัยเดียวกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้
No comments:
Post a Comment