เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Wednesday, August 30, 2017

อิสราเอลระงับชั่วคราวใบอนุญาตสร้างโดรน

บทความวันนี้จะเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อข่าวฯ แต่เนื้อหาหลักจะเป็นเรื่องของอะไรลองไปติดตามกัน

Orbiter 1K

อิสราเอลได้ระงับใบอนุญาตสร้างโดรนเป็นการชั่วคราว สืบเนื่องมาจากเมื่อต้นเดือนนี้ กระทรวงกลาโหมของอิสราเอลแถลงว่ากำลังสอบสวนข้อกล่าวหาต่อลูกจ้างของบ. Aernautics สองคนได้สาธิตจริงของกามิกาเซโดรน(โดรนฆ่าตัวตาย) รุ่น Orbiter 1K (ที่ขายให้อาเซอร์ไบจัน) โดยใช้สาธารณรัฐอาร์ทซัคเป็นเป้าหมาย

แต่รายละเอียดในเรื่องนี้คือ กระทรวงกลาโหมของอิสราเอลทำการสอบสวนเพราะพนักงานทั้งสองคนของบ. Aernautics ได้ปฏิเสธในการโจมตีเป้าหมายในสาธารณรัฐอาร์ทซัค และจากการยืนหยัดที่ปฏิเสธในการปฏิบัติทำให้ถูกข่มขู่คุกคามโดยคนของอาเซอร์ไบจัน

จากข่าวนี้นำมาสู่ประเด็นสำคัญสองประเด็น คือ
  1. กามิกาเซโดรน แบบ Orbiter 1K และ
  2. สาธารณรัฐอาร์ทซัค

เริ่มกันที่ กามิกาเซโดรน แบบ Orbiter 1K 



โดรนรุ่นนี้สร้างโดยบ
.Aeronautics Defense Systems ของอิสราเอล พัฒนาเสร็จในเดือนพฤษภาคม พ..2558(2015)

  • เป็นรุ่นที่ลำตัวสามารถบรรจุวัตถุระเบิดหนัก กิโลกรัม
  • ระยะเวลาบินนาน 2-3 ชั่วโมง
  • ติดตั้งระบบเซนเซอร์แบบ electro-optical/infrared
(ประเทศไทยก็มีประจำการอยู่ในกองทัพอากาศแต่เป็นรุ่นมาตรฐานคือ Orbiter Mini UAV)

ประเทศอาเซอร์ไบจันเป็นประเทศได้รับใบอนุญาตผลิตโดรนของบ. Aeronautics



คราวนี้มาว่าในประเด็นที่สอง ประเทศที่เป็นจำเลยในกรณีนี้คือ อาเซอร์ไบจัน ผู้คนคงรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะเป็นประเทศที่ส่งทีมลงแข่งขันในกีฬา Tank Biathlon ของรัสเซีย แต่คู่กรณีซึ่งเป็นต้นเหตุนี่สิคิดว่าน้อยคนที่จะรู้จัก หรือหลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าประเทศนี้มีตัวตนอยู่ทั้งนี้ เพราะประเทศนี้เป็นประเทศตามพฤตินัย นั่นก็หมายความว่าไม่ได้เป็นประเทศตามนิตินัย หากจะเทียบกันง่ายๆ ก็คงเหมือนกับรัฐปาเลสไตน์ในตะวันออกกลาง



ประเทศนี้ก็คือ สาธารณรัฐอาร์ทซัค หรือ อีกชื่อว่า สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (อังกฤษ: Nagorno-Karabakh Republic) เป็นสาธารณรัฐแห่งหนึ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ

ตั้งอยู่ในแถบเทือกเขาคอเคซัส สหประชาชาติถือว่าภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน

นากอร์โน-คาราบัค (อังกฤษ: Nagorno-Karabakh) หรือ อัปเปอร์คาราบัค (Upper Karabakh) เป็นภูมิภาคที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแถบเทือกเขาคอเคซัส ตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคโลเวอร์คาราบัคกับภูมิภาคซียูนิค และครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทิวเขาเลสเซอร์คอเคซัส พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้

นากอร์โน-คาราบัคเป็นดินแดนที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย โดยนานาชาติยอมรับว่าภูมิภาคนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน แต่ในปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาคอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐอาร์ทซัค รัฐเอกราช "โดยพฤตินัย" ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์อาร์มีเนียอาศัยอยู่และได้รับการสถาปนาขึ้นบนพื้นที่ของ (อดีต) แคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจานไม่ได้ใช้อำนาจทางการเมืองในภูมิภาคนี้นับตั้งแต่การกำเนิดขบวนการคาราบัคในปี พ.. 2531 หลังจากที่สงครามนากอร์โน-คาราบัคสิ้นสุดลงในปี พ.. 2537 ตัวแทนจากรัฐบาลอาร์มีเนียและรัฐบาลอาเซอร์ไบจานได้จัดการเจรจาสันติภาพว่าด้วยสถานะที่ยังเป็นที่โต้แย้งของนากอร์โน-คาราบัค โดยมีกลุ่มมินสค์ขององค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรปเป็นผู้คอยไกล่เกลี่ย

ภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคมีขอบเขตการปกครองเดียวกับแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคในสมัยสหภาพโซเวียต โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,400 ตารางกิโลเมตร (1,700 ตารางไมล์) อย่างไรก็ตาม พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 8,223 ตารางกิโลเมตร (3,175 ตารางไมล์)

ประวัติคือช่วงหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต นากอร์โน-คาราบัคกลับมาเป็นประเด็นพิพาทระหว่างอาร์มีเนียกับอาเซอร์ไบจานอีกครั้ง ในปี พ.. 2534

การลงประชามติเอกราชในแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคและภูมิภาคชาฮูเมียนที่อยู่ข้างเคียงนำไปสู่การประกาศเอกราช

ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ในระดับสูงได้ก่อให้เกิดสงครามนากอร์โน-คาราบัคระหว่างปี พ.. 2534–2537 ซึ่งจบลงด้วยข้อตกลงหยุดยิง ส่งผลให้พรมแดนต่าง ๆ มีสภาพอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2560 ชาวสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคได้ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งกำหนดให้เพิ่มชื่อทางการของประเทศอีกชื่อหนึ่ง คือ "สาธารณรัฐอาร์ทซัค"


(ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

งานนี้แสดงให้เห็นถึงแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลอิสราเอล ที่มิได้มุ่งหวังเพียงแค่รายได้จากการค้าขาย แต่คำนึงถึงสวัสดิภาพแห่งประชาชนของตน แม้จะอยู่ในต่างแดน

การปฏิบัติเช่นนี้คงส่งผลให้เกิดความยำเกรงและคงไม่กล้าที่จะข่มขู่คุกคามเจ้าหน้าที่ของอิสราเอลอีกในอนาคต

No comments:

Post a Comment