เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Saturday, December 28, 2013

ราชนาวีจะต่อเรือตรวจการณ์ปืน(ตกป.)

ข่าวครา่วของกองทัพเรือ
(http://www.sctr.navy.mi.th/sound/2556/dec/snd_201256.php)
เครดิตแก่ท่าน superpock

คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย

พิธีลงนามในสัญญาจัดซื้อแบบแปลนรายละเอียดและพัสดุ สำหรับการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน ตามโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ปืน

วันนี้ (๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๖) เวลา ๐๙.๓๐ น. พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาจัดซื้อแบบแปลนรายละเอียดและพัสดุ สำหรับการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน (ตกป.) ตามโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ปืน และเป็นผู้ลงนาม ฝ่ายกองทัพเรือ ร่วมกับ นายสัญชัย จงวิศาล บริษัทมาร์ซัน จำกัด ณ ห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
        กองทัพเรือจัดจ้างเรือตรวจการณ์ปืน จำนวน ๑ ลำ โดยจัดหาแบบแปลนรายละเอียดสำหรับการสร้างเรือและพัสดุ พร้อมเครื่องจักร อุปกรณ์ อะไหล่ เครื่องมือส่วนสนับสนุน สายไฟและสายสัญญาณที่ใช้กับอุปกรณ์ที่กองทัพเรือเป็นผู้จัดหา (Government Furnished Equipment : GFE) รวมถึงการบริการทางเทคนิคในการติดตั้งเชื่อมต่อ การตรวจรับ การทดสอบ ทดลองอุปกรณ์ การฝึกอบรม การสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงรวมเอกสารคู่มือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเรือในสาขาต่าง ๆ ตามแบบเรือ การประกันภัยและการขนส่ง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยส่งมอบแบบแปลนรายละเอียดสำหรับการสร้างเรือ พัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างเรือให้แก่กองทัพเรือในลักษณะ Package Deal โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น ๖๙๙,๔๕๙,๐๐๐.- บาท (หกร้อยเก้าสิบเก้าล้านสี่แสนห้าหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) ในงบประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ 
         เรือตรวจการณ์ปืนใช้สำหรับภารกิจ ตรวจการณ์ ลาดตระเวน ป้องกันแทรกซึมในทะเล คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย การถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลและชายฝั่ง
         คุณลักษณะทั่วไป ความยาวตลอดลำ ๕๘ เมตร ความกว้างสูงสุด ๙.๓๐ เมตร ความลึกของเรือ ๕.๑๐ เมตร กินน้ำลึกตัวเรือ ไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง ๘๖,๖๐๐ ลิตร ความจุถังน้ำจืด ๕๙,๘๐๐ ลิตร ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า ๒๔ นอต ระยะปฏิบัติการ ๒,๕๐๐ ไมล์ทะเล จำนวนลูกเรือ ๕๓ คน
          ขีดความสามารถในการรบของเรือตรวจการณ์ปืน สามารถปฏิบัติภารกิจได้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน, สามารถตรวจจับ ติดตาม และพิสูจน์ทราบเป้าผิวน้ำ ได้ด้วยระบบตรวจการณ์ของเรือ, สามารถหยุดยั้ง ขัดขวางเรือผิวน้ำ และป้องกันตนเองจากข้าศึกได้ตามสมรรถนะของอาวุธประจำเรือ, สามารถเข้าถึงพื้นที่ปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็ว สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน, สามารถตรวจสอบเรือต้องสงสัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย, สามารถลาดตระเวนป้องกันการแทรกซึมและคุ้มครองเรือประมงและทรัพยากรธรรมชาติ, สนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือ ได้แก่ สนับสนุนการขนส่งทางธุรการ หรือชุดปฏิบัติการพิเศษพร้อมเรือยางท้องไฟเบอร์กลาสความเร็วสูง (RIB) จำนวน ๒ ชุด และสนับสนุนทางยุทธการ ออกแบบให้มีพื้นที่ดาดฟ้าท้ายเรือกว้างขวาง ซึ่งสามารถติดตั้งอุปกรณ์หรือยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ได้ในอนาคต อาทิ อาวุธนำวิถี ตู้คอนเทรนเนอร์ขนาด ๒๐ ฟุต หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตามความต้องการของกองทัพเรือ (ที่มา : สยป.ทร.) 



มาร์ซัน M58
คาดว่าเรือตกป.ที่ราชนาวีไทยจะต่อลำใหม่นี้ เพื่อนำเข้าทดแทนเรือตรวจการณ์ปืนชุดหัวหิน โดยเรือในชุดหัวหินนี้ มีทั้งหมด 3 ลำคือ
  1. ร.ล.หัวหิน (541)
  2. ร.ล.แกลง (542)
  3. ร.ล.ศรีราชา (543)
เรือชุดนี้สร้างโดยบมจ.เอเชียนมารีน เซอร์วิส(ประเทศไทย) 2 ลำและร.ล.ศรีราชา สร้างโดยกรมอู่ทหารเรือ  โดยเรือชุดนี้ทั้งหมดเข้าประจำการในปี พ.ศ.2544

เปรียบเทียบคุณลักษณะอย่างคร่าวๆ ระหว่าง เรือชุดหัวหิน และ M5

เรือชุด หัวหิน
มาร์ซัน M58
ความยาว
62 เมตร
58 เมตร
ความกว้าง
8.9 เมตร
9.3เมตร
กินน้ำลึก
2.646 เมตร
2.5 เมตร
ความเร็ว
25 นอต
24+ นอต
ระยะปฏิบัติการ
2,500 ไมล์ทะเล
2,500 ไมล์ทะเล
เรือมาร์ซัน M58 จะสั้นกว่าราว 4 เมตร แต่กว้างกว่าเล็กน้อย ดังนั้นระวางขับน้ำน่าจะน้อยกว่าเรือชุดหัวหินเล็กน้อย

แต่อย่างไรก็ตามเรือชุดใหม่นี้ก็ยังคงเป็นผลผลิตที่สร้างขึ้นภายในประเทศไทยอีกเช่นกัน เหมือนกับเรือชุดหัวหิน


อัพเดท 28 สิงหาคม 2558

พัทธนันท์ สงชัย
เรือหลวงแหลมสิงห์ .....เรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ของราชนาวี
วันที่ 25 สิงหาคม 2558 เวลา 10.00 น. พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ จะเป็นประธานในพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ของกองทัพเรือลงน้ำ โดยมีนางณุฉัตรา จันทร์สุวานิชย์ ภริยา เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือ ณ อู่แห้งหมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

กองทัพเรือ ได้จัดหาเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ของกองทัพเรือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2551 – 2560 ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการ และใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ตั้งแต่ในภาวะปกติ โดยมีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ 2 มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ และการต่อสู้ภัยคุกคามทางอากาศ โดยกองทัพเรือ ได้จัดซื้อแบบแปลนรายละเอียดและพัสดุ สำหรับการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน จากบริษัท มาร์ซัน จำกัดในลักษณะ Package Deal โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 699,459,000 บาท ทั้งนี้ กองทัพเรือได้มอบหมายให้ กรมอู่ทหารเรือ เป็นหน่วยรับผิดชอบ ในการสร้างเรือ โดยใช้พื้นที่ของ อู่ทหารเรือธนบุรี เป็นสถานที่ต่อเรือ เพื่อเป็นการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเอง กับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของ กรมอู่ทหารเรือ ในการต่อเรือตรวจการณ์ปืน หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.991 และนำไปสู่การปรับปรุงเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.994 ที่ได้มีการขยายแบบเรือ และรูปทรง ตามพระบรมราชวินิจฉัย และล่าสุดคือ เรือหลวงกระบี่ ซึ่งเป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ที่มีขนาดใหญ่และสมรรถนะสูง

ในขั้นตอนของการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ กรมอู่ทหารเรือ ได้ดำเนินการต่อเอง โดยแบ่งการสร้างเรือ ออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกทำการต่อเฉพาะตัวเรือ รวมถึงระบบเครื่องจักร ณ อู่แห้งหมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 13 เดือน และหลังจากที่ได้ปล่อยเรือลงน้ำแล้ว จะนำตัวเรือไปทำการประกอบในส่วน superstructure(หอบังคับการเรือ เสาสื่อสาร) รวมถึงระบบอาวุธ ณ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยในระยะที่ 2 นี้ มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 10 เดือน 
(ถึงกลางเดือนมิถุนายน 2559) จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพเรือ ได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของบริษัทเอกชน แต่ถือเป็นการดำเนินการในการสร้างเรือขนาดใหญ่อีกลำด้วยการพึ่งพาตนเอง

ตามระเบียบของ กองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ ตามประเภทของเรือ โดยในส่วนของ เรือตรวจการณ์ (ปืน) กำหนดให้ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล โดยเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ ได้รับพระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า “ เรือหลวงแหลมสิงห์” คาดว่าจะดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ ประมาณเดือนมิถุนายน 2559
มีคุณลักษณะที่สำคัญคือ ยาว 58 เมตร กว้าง 9.30 เมตร กินน้ำลึก 2.50 เมตร ระวางขับน้ำสูงสุด 520 ตัน ทำความเร็วสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 23 นอต (ที่ระวางขับน้ำสูงสุด) มีระยะปฏิบัติการในทะเลไม่น้อยกว่า 2,500 ไมล์ทะเล มีความคงทนทะเลจนถึงสภาวะทะเลระดับ 4 ( SEA STATE 4 ) โดยที่ตัวเรือมีความแข็งแรงเพียงพอที่สภาวะทะเลระดับ 5 ( SEA STATE 5 ) มีสถานที่จัดเก็บเสบียงอาหาร และระบบน้ำจืดเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง มีห้องพักและที่อาศัยเพียงพอสำหรับกำลังพลประจำเรือ จำนวน 53 นาย
ในส่วนของระบบอาวุธประจำเรือที่สำคัญ คือ ปืนขนาด 76/66 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก ปืนกล ขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก ทั้งนี้ในการออกแบบได้จัดให้มีพื้นที่ดาดฟ้าท้ายเรือกว้างขวาง ซึ่งสามารถติดตั้งอุปกรณ์หรือยุทโธปกรณ์อื่น ๆ อาทิ อาวุธนำวิถีได้ในอนาคต
***แชร์ได้จ่ะ(ภาพ+ข้อมูล สลก.ทร.)
ร.ล.แหลมสิงห์ 561

No comments:

Post a Comment