ยาน K-21 IFV |
ยานเกราะล้อยาง Black Fox |
1. การนำเสนอข้อมูล
2. การนำเสนอแนวคิด(ส่วนตัว)
มาคุยกันในแง่ของไอเดียแรกกัน นั่นคือการนำเสนอข้อมูล ผมจะหยิบยกแค่ยานเกราะล้อยาง Black Fox มาพูดคุยแค่นั้น
ยาน Black Fox นี้น่าสนใจ เพราะอินโดนีเซียก็สั่งซื้อไปใช้จำนวน 22 คัน โดยเปลี่ยนชื่อเป็น Panzer Tarantula
ยาน Tarantula ของอินโดฯ |
ในเรื่องนี้นั้น มีมุมมองอยู่ 2 จุดที่อยากนำเสนอ คือ
1. อินโดนีเซียผลิตยานเกราะล้อยาง 6x6 Pindad Anoa ได้เอง แต่เมื่อประมูลแข่งกันกับสู้ยาน Black Fox ของเกาหลีใต้กลับสู้ไม่ได้ แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของ Pindad เองว่าไม่ได้มาตรฐาน
ยาน Pinda ของอินโดนีเซีย |
ในส่วนแนวคิด(ส่วนตัว)นั้นก็มีอยู่ 2 ประการ ซึ่งจะนำไปโยงเข้ากับยานเกราะล้อยาง Black Fox ของเกาหลี ดังนี้
1. ยานเกราะล้อยาง Black Fox มีแนวคิดในการพัฒนาคล้ายกับยานเกราะล้อยาง หนุมาน และBlack Widow Spider ของไทย นั่นคือใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้ภายในประเทศจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นอุปกรณ์หลักในการสร้าง (ในส่วนของยานเกราะล้อยาง Black Widow Spider นี้ ผมไม่ได้เชียนบทความลงใน blog แต่อย่างไรก็ตามผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับยานแมงมุมแม่ม่ายดำลงใน นสพ. Thaigoodnews ฉบับที่ 73 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2014 หน้า 8 เอาไว้จะนำเสนอบทความดังกล่าวมาโพสไว้ให้ได้อ่านกัน)
ยานเกราะล้อยางแมงมุมม่ายดำ(ฺฺBWS) |
แต่ทั้งนี้ บ.CMI DEFENSE และ DOOSAN ก็เป็นเพียงแค่การนำเสนอข้อมูลให้กับสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ (สยป.ทร.) อย่างไรก็ตามสิ่งบอกเหตุก็คือ กองทัพเรือก็อาจจะมองหายานเกราะล้อยางประเภทนี้(6x6)เพื่อใช้งาน และถึงแม้ว่ายาน BWS จะเป็นยานเกราะล้อยางแบบ 8x8 ก็ตาม แต่ก็อยากให้พิจารณาผลผลิตภายในประเทศก่อน
ยานเกราะแมงมุมม่ายดำ (BWS) ของไทย |
9 พ.ค.2557 อินโดนีเซียยกเลิกการสั่งซื้อ BTR4 ไปแล้ว เนื่องจากสถานการภายในของยูเครน ไม่คิดว่ายูเครนจะส่งสินค้าให้ได้
ReplyDeleteเห็นข่าวนี้แล้วคิดว่า T-84 Oplot ของไทยจะเป็นอย่างไร?