C-130H |
จากนั้นก็มีข่าวว่านอกจากเครื่องบินลำเลียง C-130J ของสหรัฐแล้ว ก็มองเครื่องบินลำเลียงจากชาติอื่นๆ ด้วย
C-130J ของกาตาร์ |
อันดับแรกก็คงต้องเริ่มกันที่รายชื่อของเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางทั้งหมดที่อยู่ในวิสัย ดังนี้
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย |
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย |
- กลุ่มน้ำหนักบรรทุก 37-47 ตัน และ
- กลุ่มน้ำหนักบรรทุก 18-25 ตัน
คราวนี้ลองพิจารณาโดยใช้พิสัยบินเป็นเกณฑ์ เพราะเห็นว่าเวลาไปฝึกซ้อมกับต่างประเทศ ต้องการเครื่องบินลำเลียงที่บินได้ไกลๆ ไม่ต้องแวะเติมน้ำมันบ่อย
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย |
- กลุ่มพิสัยบินไกลสุด
- กลุ่มพิสัยบินปานกลาง และ
- กลุ่มพิสัยบินน้อยที่สุด
จากตารางเปรียบเทียบ เรามามุ่งจุดสนใจไปที่เครื่องบินสองรุ่น คือ C-130J ของสหรัฐ และ Y-9 ของจีน เพราะเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้างว่าน่าจะเป็นคู่แข่งที่กองทัพอากาศพิจารณา
Shaanxi Y-9 |
ลองมาดูกันในปัจจัยสุดท้ายที่น่าจะมีผลในพิจารณาด้วย นั่นก็คือเรื่อง ราคา
คลิกทีภาพเพื่อขยาย |
บทสรุป เครื่องบินลำเลียงของจีน Y-9 มีคุณลักษณะเหนือกว่าเครื่องบินลำเลียงสหรัฐฯ C-130J ในทุกปัจจัยคือ น้ำหนักบรรทุกและพิสัยบิน รวมทั้งในเรื่อง ราคา
จากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมา ดูเหมือนเครื่องบินจีนน่าจะเป็นผู้ได้รับพิจารณา แต่หากดูจากประวัติศาสตร์การจัดซื้อของกองทัพอากาศแล้ว ทอ.ไม่เคยซื้อเครื่องบินจากประเทศจีนเลยนับตั้งแต่คราวที่จีนได้นำเครื่องบิน F-7M มาเสนอขายต่อกองทัพอากาศไทยเมื่อปีพ.ศ.2532
F-7M ของจีนที่ดอนเมือง วันที่ 22 มีนาคม 2532 (ภาพจาก บ.ก.สมพงษ์) |
ยังไงก็รอดูว่าเครื่องบินลำเลียงรุ่นใดจะเป็นลำที่อยู่ในใจของกองทัพอากาศ
Airbus A400M |
Antonov An-178 |
Antonov An-70 |
Kavasaki C-2 |
UAC/HAL IL-214 |
Embraer KC-390 |
********************************
อัพเดทวันอังคารที่ 20 ก.ย.2559
มีการปล่อยข่าวกันออกมาอีกว่า ทอ.ก็มองเครื่องบินยูเครน An-70 ไว้ด้วยเหมือนกัน ก็เลยต้องโหนกระแสกับเขาไปด้วย
ตารางเปรียบเทียบเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางสามลำที่อยู่ในกระแสตอนนี้ เริ่มกันที่น้ำหนักบรรทุกกันก่อนเลย
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย |
ถ้าเรื่องน้ำหนักบรรทุกนี้เครื่องบิน An-70 ของยูเครนชนะ กินขาดทิ้งห่างคู่แข่งอีกสองลำถึงหนึ่งช่วงตัว อาจจะเป็นเพราะเครื่องบิน An-70 น่าจะจัดเป็นเครื่องบินลำเลียงขนาดหนักเพราะน้ำหนักบรรทุกพอๆ กับเครื่องบิน Ilyushin IL-76MD
IL-76MD |
ต่อไปก็ลองไปดูเรื่องพิสัยบิน
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย |
เรื่องพิสัยบินต้องยกให้เครื่องบิน Y-9 ของจีน ส่วนเครื่องบิน An-70 ของยูเครนก็ไม่ขี้เหร่สักเท่าไรแต่ก็ชนะเครื่องบินจีนในเรื่องความเร็วในการเดินทาง นับว่ามีดีกันคนละอย่างถือว่าเสมอกันไป ลองไปดูปัจจัยสุดท้ายเรื่องราคา
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย |
เรื่องนี้ไม่มีใครสู้จีนได้แน่นอน เครื่องบิน Y-9 ของจีนชนะลอยลำ สำหรับเครื่องบิน C-130J ของสหรัฐสู้เครื่องบินของจีนและยูเครนไม่ได้เลยในทุกปัจจัย
ลองมาสรุปเครื่องบินลำเลียงทั้งสามแบบคือ An-70, C-130J และ Y-9 กันโดยให้คะแนน
- เครื่องบินอันดับหนึ่งในแต่ละปัจจัย - สามแต้ม
- เครื่องบินอันดับหนึ่งในแต่ละปัจจัย - สองแต้ม
- เครื่องบินอันดับหนึ่งในแต่ละปัจจัย - หนึ่งแต้ม
- กรณีเสมอกันในแต่ละปัจจัย - หนึ่งแต้มครึ่ง
จากคะแนนเต็ม 9 แต้ม ผลที่ได้คือ
- เครื่องบิน An-70 ของยูเครนได้ 6.5 แต้ม
- เครื่องบิน Y-70 ของจีนได้ 6.5 แต้ม
- เครื่องบิน ฉ-130J ของสหรัฐได้ 3 แต้ม
ถ้าไม่คำนึงถึงตัวแปรเรื่องราคาแล้วเครื่องบิน An-70 ของยูเครน นับว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเนื่องจากตอบโจทย์ของกองทัพอากาศได้ครบทั้งในแง่ของน้ำหนักบรรทุกและพิสัยบิน แถมท้ายด้วยความเร็วระหว่างเดินทาง แต่ก็มีเรื่องที่อาจจะเป็นอุปสรรคนั่นคือ ประสิทธิภาพของเครืองบิน และ การตรงกำหนดในการส่งมอบ
ทั้งนี้เพราะเครื่องบิน Antonov An-70 ยังไม่มีการผลิตออกมาแต่อย่างใด นอกจากนี้เครื่องบินต้นแบบทั้งสองลำก็ตกระหว่างการทดสอบบิน แม้ว่าเครื่องบินต้นแบบลำแรกจะตกเนื่องจากความผิดพลาดของคน แต่เครื่องต้นแบบลำที่สองก็ตกเพราะสูญเสียกำลังจากสองเครื่องยนต์ขณะทำการขึ้นบินในการทดสอบบินในสภาพหนาวเย็น
แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือโครงการนี้ขาดเงินทุนสนับสนุน ดังนั้นหากกองทัพอากาศพิจารณาเลือกซื้อเครื่องบิน An-70 ก็อาจจะเป็นแบบเดียวกับรถถัง T-84 Oplot ของกองทัพบกที่ส่งมอบล่าช้า
อย่างไรก็ตามเครื่องบิน An-70 ของยูเครนก็นับว่าเครื่องบินที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่ง เพราะเป็นเครื่องบินที่อยู่ตรงการระหว่างคุณภาพและราคา
No comments:
Post a Comment