TFC จุดพลุเรื่องเครื่องบินฝึกแบบใหม่ที่จะมาทดแทน L39 ZA/ART ว่าให้จับตาดูงวดที่สอง ความหมายคืออะไรหรืออาจจะไม่มีอะไรก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามวันนี้จะหยิบเรื่องนี้มาคุย
ภาพจาก Facebook |
เริ่มกันที่สาเหตุใดถึงทำให้กองทัพอากาศไทยจะไม่สั่งซื้อเพิ่มเติมเครื่องบิน T-50TH เท่าที่คาดเดาน่าจะมีมูลเหตุมาจากการที่เครื่องบิน T-50I ของอินโดนีเซียตกที่เมืองยอคยาการ์ต้า เกาะชวา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2558 ระหว่างแสดงการบินสาธิตในงานฉลองครบรอบ 70 ปีของโรงเรียนการบินกองทัพอากาศอินโดนีเซีย
นับเป็นอุบัติเหตุครั้งที่สอง โดยครั้งแรกเกิดในประเทศเกาหลีใต้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2555 สำหรับอุบัติเหตุที่อินโดนีเซียนี้ ผ่านมาหนึ่งปีแล้วแต่ยังไม่เห็นมีรายงานผลการสอบสวนสาเหตุการตกของเครื่องบินออกมา
20 ธันวาคม 2558 |
เพราะเรื่องนี้สามารถเป็นเหตุให้เครื่องบิน T-50A ที่ร่วมมือกันระหว่างบ.KIA และบ. Lockheed Martin ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันโครงการเครื่องบินฝึกแบบใหม่ของสหรัฐฯ T-X
และนี่ก็อาจจะเป็นสาเหตุให้ผลการสอบสวนฯ ยังไม่เสร็จสิ้น และเปิดเผยออกมาสู่สาธารณะ
เมื่อรู้ถึงสาเหตุกันแล้ว คราวนี้มาว่ากันถึงตัวเลือกอื่น (หากกองทัพอากาศไทยไม่เลือกชื่อ T-50TH อีก) จะมีเครื่องบินใดเหลืออยู่บ้างอีก
ก็คงต้องย้อนกลับไปดูตัวเลือกในครั้งเมื่อเริ่มต้นการแข่งขัน (ย้อนกลับไปอ่านกันได้ที่ http://monsoonphotonews.blogspot.com/2014/12/1-l-39zaart.html) เพราะตัวเลือกเหล่านั้นก็ย่อมกลับมามีโอกาสอีกครั้ง คือ
- Hongdu L-15 Falcon
- M-346 Master และ
- Yak-130 Mitten
- Boeing/Saab - T-X
- Northrop Grumman / BAE Systems
- Raytheon/Alenia Aermacchi - T-100
- Sierra Nevada/TAI Freedom
และอีกหนึ่งบริษัทที่ยังไม่ตัดสินใจคือ Textron AirLand Scorpion
ในส่วนของโครงการ T-X สหรัฐฯ นั้น มีเครื่องบินอยู่สองลำที่น่าจับตามองคือ
ในส่วนของโครงการ T-X สหรัฐฯ นั้น มีเครื่องบินอยู่สองลำที่น่าจับตามองคือ
- T-X ของบ.Boeing/Saab
สำหรับเหตุผลที่เครื่องบินลำนี้น่าจับตามอง อยากให้ไปย้อนอ่านบทความเก่ากัน http://monsoonphotonews.blogspot.com/2016/09/gripen-e.html - Scorpion ของบ.Textron AirLand
ที่น่าจับตาก็เพราะการที่เครื่องบินลำนี้สร้างจากอุปกรณ์และอะไหล่ของเครื่องบินพาณิชย์ Cessna ที่ผลิตใช้อยู่ในปัจจุบันมาสร้างขึ้น ทำให้ราคาของมันน่าจะต่ำกว่าเครื่องบินอื่น คือราวๆ ลำละ $20 ล้านดอลล่าร์ และค่าใช้จ่ายในการบินตกชั่วโมงละ $3,000 แต่มันก็มีจุดอ่อน คือลำตัวสร้างจากวัสดุคอมโพสิต
ก่อนจะปิดประเด็นในวันนี้ ก็อยากจะขอย้ำเตือนกันอีกนิดว่าสมมุติฐานวันนี้คือ "สาเหตุจากเครื่องบิน T-50I ของอินโดนีเซียตกนั่นมาจากข้อบกพร่องของเครื่องบิน" ทำให้ถูกตัดสิทธิ์จากโครงการ T-X และทำให้กองทัพอากาศไทยไม่สั่งซื้อเครื่องบิน T-50TH ล็อทที่สอง ด้วยเหตุนี้รายชื่อบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ T-X ในบทความนี้จึงไม่มีชื่อของบ.Lockheed Martin/KAI อยู่ด้วย
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่าน(จนจบ)
No comments:
Post a Comment