ข่าวฮิตช่วงนี้คงไม่พ้นข่าวกองทัพอากาศได้รับอนุมัติงบประมาณจำนวน
3,700 ล้านบาทในการจัดหา
เครื่องบินทดแทนเครื่องบินขับไล่ฝึกแบบที่
1 (L-39ZA/ART)
สำหรับภารกิจการฝึกนักบินเพื่อทำการบินกับเครื่องบินขับไล่
(Lead-In Fighter Trainer)
โดยในขั้นต้นจะทำการจัดหาจำนวน
4 เครื่องก่อน
ย้อนกลับไปอ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่
“ทอ.มองหาเครื่องบินมาทดแทนเครื่องบิน
L-39ZA/ART”
http://monsoonphotonews.blogspot.com/2013/11/l-39zaart.html
เครื่องบินที่ผู้คนคาดเดากันมากที่สุด
ก็คือ TA-50 Golden Eagle
ของเกาหลีใต้
- Hongdu L-15 Falcon
- M-346 Masterและ
- Yak-130 Mitten
ต่างก็มีรูปลักษณะภายนอกคลับคล้ายกัน
ส่วนเครื่องบินของสหรัฐฯ
ไม่คิดว่าจะเครื่องที่ตรงตามความต้องการของกองทัพอากาศเพราะทอ.ต้องการเครื่องบินฝึกที่เป็น
LIFT (Lead-In Fighter Trainer) สำหรับเรื่องนี้ย้อนไปอ่านบทความได้ที่
“เครื่องเจ็ทฝึกบินของสหรัฐอเมริกา?”
http://monsoonphotonews.blogspot.com/2014/08/blog-post.html
ในขณะที่ผู้คนให้ความสนใจในเครื่องบิน
TA-50 ของเกาหลีใต้
แต่บางส่วนก็คาดหวังในเครื่องบิน
M-346 Master และ
Yak-130 Mitten สำหรับผมแล้วจะนำข่าวเกี่ยวกับเครื่องบิน L-15 มาเสนอเป็นข้อมูลเพิ่มเติมจากบทความเดิม
“Hongdu L-15 Falcon”
http://monsoonphotonews.blogspot.com/2013/12/hongdu-l-15-falcon.html
ข่าวเกี่ยวกับ
บ.L-15
ที่จะเสนอคือในงานแสดงการบินของจีนที่เมือง
Zhuhai
จีนกับยูเครนจะร่วมมือกันในการผลิตเครื่องบิน
L-15
โดยจีนจะส่งส่วนลำตัวเปล่าของเครื่องบินให้ยูเครนเพื่อติดตั้งเครื่องยนต์
รวมทั้งอุปกรณ์การบิน เรด้าห์
และระบบอาวุธ ที่ไม่ใช่ระบบของจีน
ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการผลิตเครื่องบิน
L-15 ในยูเครน
ในขณะเดียวกันยูเครนก็จะให้ความร่วมมือกับจีนในการผลิตเครื่องยนต์
Ivchenko AI-322 และ
AI-322F
ซึ่งจีนมาความต้องการเทคโนโลยีด้านนี้เป็นอย่างมาก
(ในเรื่องนี้ย้อนกันไปอ่านบทความเรื่อง
“J-31 ของจีนจะเปิดตัวแล้ว”
http://monsoonphotonews.blogspot.com/2014/11/j-31.html)
สรุปความก็คือ
หากกระแสคลั่งยูเครนยังไม่จางหายไปจากคนไทย
เครื่องบิน L-15 ของจีน
ก็นับว่ายังมีโอกาสอยู่โดยอาจจะมากกว่าคู่แข่งอีกสองแบบที่รูปลักษณ์คล้ายคลึงกันเสียด้วยซ้ำไป
ทั้งนี้เพราะยูเครนเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน
Ivchenko AI-222-25 ที่ใช้ในบ.Yak-130
และเครื่องบินของจีน
ซึ่งหากกองทัพอากาศสามารถเจรจาเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ก็จะเป็นการก้าวกระโดดในเทดโนโลยีด้านนี้
เพราะขนาดจีนที่มีเงินทุนมากที่สุดในโลกขณะนี้ยังไม่สามารถพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่ตนเองเลียนแบบสร้างมาใช้
จากที่สรุปข้างต้น
บวกกับราคาเครื่องบินที่ถูกที่สุดในบรรดาคู่แข่งขันทั้งหมด
ก็นับว่าโอกาสของเครื่องบินจีน
L-15
ยังมีอยู่พอสมควรที่จะเป็นประชันกับเต็งหนึ่งอย่างเครื่องบินเกาหลีใต้
TA-50 เมื่อเทียบกับคุ่แข่งรายอื่น
ส่งท้ายกันด้วยภาพเทียบเคียงระหว่างเครื่องบิน
L-15 ของจีน
กับ Yak-130 ของรัสเซีย
No comments:
Post a Comment